Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป, การออกพระราชบัญญัติ - Coggle Diagram
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
ความสำคัญของกฎหมาย
"กฎหมายเกี่ยวข้องกับเราตั้งแต่เกิดจนตาย"
เช่น การแจ้งเกิด การจดทะเบียนสมรส การแจ้งตาย
"กฎหมายเกี่ยข้องกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ"
เช่น การจดทะเบียนการค้า ห้างหุ้นส่วนจำกัด
กำเนิดกฎหมาย
ครอบครัว
เป็นสังคมที่เล็กที่สุดที่มีระบบความสัมพันธ์ และมีกฎเกณฑ์ แต่ยังยืดหยุ่น
รัฐ
เป็นระบบสังคมที่ใหญ่และมีการปกครองที่แท้จริง
การปกครองในครอบครัว
เป็นสังคมหน่วยแรกของมนุษยชาติ ซึ่งเรียกว่าสังคม
"ปฐมภูมิ
" เป็นสังคมหน่วยเล็กที่สุดที่คนกับคนมีความใกล้ชิดสนิทสนมเป็นกันเอง ไม่เคร่งครัดเพราะเป็นการปกครองแบบพ่อกับลูกภายในวงญาติใกล้ชิด
พัฒนาการของสังคม
"จากโคตรตระกูล(Clan) สู่ ชนเผ่า (Tribe)"
มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติ มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันน้อยลง แต่มีการใช้กฎเกณฑ์ความประพฤติเดิม ต่อมาสังคมระดับโคตรตระกูลจะขยายตัวเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้นระดับหนึ่ง เรียก
"ชนเผ่า"
ความสัมพันธ์จะห่างออกไป มีเพียง
ภาษาที่ใช้พูด
เป็นสิ่งเชื่อมให้คนในเผ่ารู้สึกเป็นพวกกัน
กฎเกณฑ์ที่ใช้ทั้งโคตรตระกูลทั้งชนเผ่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิมของพรรพบุรุษ เรียกว่า
"กฎหมายที่ดีของบรรพบุรุษ (The Good Old Law)"
พัฒนาการสู่รัฐที่มีการปกครองโดยแท้
เป็นการปกครองจริง ๆ ที่มีผู้บังคับบัญชาฝ่ายหนึ่งแยกจากผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แยกกันอย่างชัดเจน การปกครองมีรูปแบบเคร่งครัดและรุนแรงเมื่อมีการขัดขืนหรือกระทำผิดจะมีการลงโทษ เรียกว่า
"การปกครองโดยแท้"
สังคมที่มีการปกครองอย่างนี้ คือ
"สังคมการเมือง"
หรือ
"รัฐ"
นั่นเอง
พัฒนาการของกฎหมาย 3 ยุค
กฎหมายชาวบ้าน
กฎหมายนักกฎหมาย
กฎหมายเทคนิค
1.กฎหมายชาวบ้าน
เกิดจากจารีตประเพณี ชาวบ้านยอมรับถ่ายทอดกันต่อจากบรรพบุรุษ อยู่ในยุคที่เป็นครอบครัว โคตรตระกูล และชนเผ่า
2.กฎหมายนักกฎหมาย
เป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดจากการคิดไตร่ตรองเปรียบเทียบอย่างละเอียดอ่อน
ของนักกฎหมายเรียกว่าใช้เหตุผลทางกฎหมาย
3.กฎหมายเทคนิค
มีลักษณะ 2 ประการคือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นทันทีเพื่อวัตถุประสงค์
บางประการซึ่งเหตุผลทางเทคนิคและกฎเกณฑ์เหล่านั้นไม่มีในหลักศีลธรรม
การบังคับใช้กฎหมายเทคนิค
1.การกำหนดโทษและลงโทษต้องหนัก
2.ต้องมีการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ
3.รัฐต้องมีเครื่องมือบังคับใช้ชัดเจน คือหน่วยราชการที่มีหน้าที่
4.ประชาชนต้องมีจิตสำนึกที่ดี คือได้รับการปลูกฝังให้เข้าใจเหตุผลของกฎหมาย
วิวัฒนาการของกฎหมายไทย
สมัย ร.1
กฎหมายมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา
สูญหายไปในตอนเสียกรุงครั้งที่ 2
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงชำระกฎหมายใหม่ เรียก
"กฎหมายตราสามดวง"
ตราราชสีห์
เป็นตรามหาดไทย ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
ตราคชสีห์
เป็นตรากลาโหม ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
ตราบัวแก้ว
เป็นตราคลัง ปกครองหัวเมือชายทะเล
สมัย ร.4
ยุคปฏิรูปกฎหมายไทย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการค้ากับชาติตะวันตก เมื่อมีคดีแล้วใช้กฎหมายของไทย คนต่างชาติไม่พอใจกระบวนการของไทย วิจารณ์ว่า ป่าเถื่อน รุนแรง ไม่ยุติธรรม
สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกอังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลของตนเองขึ้นใช้ตัดสินคดีของตนเองที่มาค้าขายในประเทศไทยแล้วมีคดีกันเองหรือมีคดีกับคนไทย เรียกว่า
"สิทธิภาพนอกอาณาเขต"
พวกคนต่างชาติอื่น ๆ ที่มาค้าขายกับไทยรวมทั้งคนไทยขอใช้กฎหมายของศาลอังกฤษและฝรั่งเศษด้วย
สมัย ร.5
ยุคปฏิรูปกฎหมายไทย
รวบรวมศาลทั้งหมดที่มีอยู่มารวมกันเป็น
"กระทรวงยุติธรรม"
แล้วทรงปฏิรูปกฎหมาย
โดยพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมทางกฎหมายประเทศอังกฤษ ทรงมีสมญานามว่า
"เฉลียว ฉลาดรพี"
ทรงรับเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่พระชนมายุ 22 พรรษา
ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมาย และทำหน้าที่พระอาจารย์เอง เพื่อผลิตเนติบัณฑิตไทยทำหน้าที่ในกระทรวงยุติธรรมอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
สมัย ร.6
ยุคปฏิรูปกฎหมายไทย
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการยกร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ซึ่งเป็นแบบอย่างมาจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์
กฎหมายไทยเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษะ แต่ในทางปฏิบัติมีลักษณะของกฎหมายจารีตประเพณีร่วมด้วย เช่น การใช้แนวคำพิพากษาของศาลเป็นบรรทัดฐาน
ปี พ.ศ.2481 รัชสมัย ร.8 เราจึงได้เอกสารทางศาลกลับคืนมา
ความหมายของกฎหมาย
1.กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นเป็นมาตรฐาน
2.กำหนดความประพฤติของบุคคล
3.ออกโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
4.มีสภาพบังคับ ฝ่าฝืนมีโทษ เช่น โทษอาญา ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์ โทษทางแพ่ง เป็นโมฆะ โมฆียะ ชดใช้สินไหมทดแทน
5.มีกระบวนการบังคับที่มีกิจจะลักษณะ ได้แก่ ตำรวจอัยการ ศาล ราชทัณฑ์
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดและกำหนดความประพฤติของสมาชิกสังคมได้ว่าถูกหรือผิด ให้กระทำการได้หรือห้ามกระทำ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ถือเป็นสิ่งที่ผิดแลัจะถูกลงโทษ
กฎหมายต้องกำหนดถึงความประพฤติของบุคคล
มีสภาพบังคับในกรณีที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์
สภาพบังคับ ของกฎหมายคือโทษต่าง ๆ ในกฎหมาย ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์
1.ประกาศให้คนไทยปฏิบัติตามค่านิยม 12 ประการ
2.ประกาศให้ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินช่วยผู้ประสบอุบัติเหตุ
3.ประกาศให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยจะต้องเสียค่าปรับ
4.ประกาศเตือนให้ผู้ที่หน้าที่เสียภาษีอากรส่วนบุคคลดำเนินการก่อนวันที่ 31 มีนาคม
ศักดิ์ของกฎหมาย
กฎหมายแม่
รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
พระราชบัญญัติ
กฎหมายที่รัฐสภาหรือสภานิติ
ซึ่งประกอบด้วย สส และ สว พิจารณาออกเป็นเฉพาะเรื่อง
ประมวลกฎหมาย
คือ การรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องเดียวกัน หรือ เกี่ยวข้องกันมาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกแก่การนำไปใช้
พระราชกำหนด
กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกในยามฉุกเฉิน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ หลังออกแล้ว ครม.ต้องเสนอต่อรัฐสภา
กฎหมายลูก
พระราชกฤษฎีกา
กฎหมายที่ฝ่ายบริหารอาศัยอำนาจตาม พรบ.ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อนำหลัเกณฑ์ใน พรบ. มาใช้ ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าต้องออกเป็น พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
กฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกเพื่อให้เป็นไปตาม พรบ. หรือ
พระราชกำหนด ผ่าน ครม. แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
ซึ่งออกตาม พรบ. แม่บทให้อำนาจแก่ผู้บริหารไว้เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติให้หน่วยงาน แต่งตั่งบุคคลและแจ้งให้บุคคลทั่วไปทราบ จะต้องออกตาม พรบ.จะขัดแย้งไม่ได้
ประกาศกระทรวง
ไม่ต้องผ่าน ครม.แต่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หนังสือเวียน
ในหน่วยงานจะต้องไม่ขัดกับ กม. ที่ศักดิ์สูงกว่า และมีผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหากฝ่าฝืนจะเป็นการวินัย
การออกพระราชบัญญัติ
เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร พิจารณา 3 วาระ
1.รับหลักการ
2.แปรบัญญัติ
3.ลงมติ
เสนอต่อวุฒิสภา วุฒิสภาต้องพิจารณา 3 วาระและส่งกลับภายใน 60 วัน ถ้าไม่ส่งถือว่าเห็นชอบ
ถ้าวุฒิสภายับยั่ง พรบ. ใด สภาผู้แทนราษฎรจะยกมาพิจารณาอีกได้เมื่อพ้น 180 วัน
สภาผู้แทนราษฎรจะยืนยัน พรบ.ได้ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ถือประหนึ่งว่าวถฒิสภาเห็นชอบ