Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจสายตา (VA : Visual Acuity), นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23 …
การตรวจสายตา
(VA : Visual Acuity)
การเตรียมตัวก่อนตรวจวัดสายตา
ใช้เทปวัดระยะจากฝาผนังที่ติดแผ่นวัดสายตา Snellen box โดยลากเทปวัดระยะกับพื้นแล้ววัดต่อไปอีก 6 เมตร แต่ละเมตรให้เขียนเลขกำกับ 1,2,3,4,5 และ 6 ตามลำดับ ณ จุดยืนระยะ 6 เมตร ควรวางกรอบสีเหลี่ยมไว้ให้ส้นเท้าชิดระยะ 6 เมตร
ชี้แจงให้ทราบถึงจุดประสงค์ในการวัดสายตา และวิธีวัด
ติดตั้งแผ่นวัดสายตา Snellen box ที่ฝาผนังให้แถวสุดท้ายก่อนเส้นสีแดงอยู่ในระดับสายตาผู้ตรวจ
ให้ยืนในช่องสี่เหลี่ยม ส้นเท้าชิดระยะ 6 เมตร แล้ววัดสายตาทีละข้างโดยวัดข้างขวาก่อนเสมอ ให้ปิดตาข้างซ้ายด้วยกระดาษ หรืออุปกรณ์ปิดตา ดังนี้
4.1 กรณีใช้ E-chart แล้วใช้มือขวาถือตัว E โดยหันขาตัว E ไปทิศทางเดียวกับตัว E ที่เจ้าหน้าที่ชี้
4.2 กรณีใช้ Snellen chart ให้อ่านตัวเลขตามที่ชี้
วิธีการวัดสายตา วิธีที่ 1
ในกรณีที่มีค่าสายตาต่ำกว่า 6/6 ให้วัดสายตาอีกครั้งโดยการมองผ่านรู pin hole แล้วอ่านแถวเดิมที่อ่านไม่ได้ถ้าอ่านได้ถูกต้องแสดงว่าค่าสายตาต่ำกว่าปกติเกิดจากการหักเหของแสงคลาดเคลื่อนจากสาเหตุสายตาสั้นสายตายาวหรือสายตาเอียงแต่ถ้ายังอ่านไม่ได้เหมือนเดิมแสดงว่าสายตาต่ำกว่าปกติจากโรคทางสายตา
หากยืนที่ระยะ 1 เมตรแล้วไม่สามารถอ่านตัวเลขด้านบนสุดได้ (แถวระยะ 60 เมตร) ให้หยุดทดสอบด้วย Snellen chart แล้วทดสอบด้วยการนับนิ้วมือหักได้ถูกต้องจะมีระดับการมองเห็นเท่ากับ counting finger เช่น cf ที่ 2 ฟุต หมายความว่าสามารถนับนิ้วได้ถูกที่ระยะห่างไม่เกิน 2 ฟุต เป็นต้น
ถ้าอ่านได้ถึงแถวล่างสุดก่อนเส้นแดงถูกต้องถือว่ามีสายตาปกติให้บันทึกค่าสายตาที่วัดได้คือ 6/6 เมตรถ้าอ่าน ไม่ได้ถึง 6/6 ให้บันทึกเลขส่วนของค่าสายตาที่อ่านได้ตามตัวเลขที่กำกับไว้ในแถวนั้นเช่น 6/9, 6/12, 6/18, 6/24, 6/36, 6/60 ในกรณีที่อ่านผิดให้บันทึกด้วย เช่น อ่านตัวเลขเเถวที่ 6/12 ผิดไป 2 ตัว บันทึกค่า 6/12-2
หากในระยะ 6 เมตรแล้วไม่สามารถมองเห็นบรรทัดบนสุดได้ (แถวระยะ 60 เมตร) ให้เลื่อนระยะที่ยืนเข้ามาทีละ 1 เม็ดแล้วอ่านตัวเลขเฉพาะแถวบนสุดจนกว่าจะอ่านได้ถ้าอ่านได้เมื่อยืนที่ระยะ 3 เมตรแสดงว่ามีค่าสายตา 3/60
การบันทึกผลความสามรถในการมองเห็นเป็นเศษส่วนโดย เศษ คือ ระยะทางที่ผู้ถูกทดสอบยืน (1,2,3,4,5,6) เเละส่วน คือ ระยะตัวหนังสือที่อ่านได้ (6,9,12,18,24,36,60)
ในกรณีที่สวมแว่นตาอยู่แล้วให้วัด 2 ครั้ง คือ วัดก่อนสวมแว่นแล้วบันทึกในช่องวัดสายตาไม่สวมแว่นต่อมาให้สวมแว่น และวัดอีก 1 ครั้งเพื่อจะได้ทราบว่าแว่นสายตาเหมาะสมกับสายตาหรือไม่ และบันทึกในช่องวัดสายตาสวมแว่น
ให้ยืนห่งจากแผ่นวัดสายตา 6 เมตร ใช้ Occluder ปิดตาซ้ายโดยไม่กดลูกตา อ่านตัวเลขบนแผ่นป้ายด้วยตาข้างขวา จากบนลงล่าง โดยในแต่ละแถวต้องอ่านถูกเกินครึ่ง “อ่านผ่าน”
ให้ทดสอบด้านซ้ายด้วยวิธีเดียวกัน
การตรวจวัดสายตา คือ การตรวจความชัดเจนหรือรายละเอียดในการมองเห็น (การตรวจความสามารถในการมองเห็นได้อย่างชัดเจน) จัดเป็นการตรวจสายตาอย่างง่าย เพียงแค่ผู้รับการตรวจอ่านตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่แสดงในป้ายมาตรฐานจากระยะห่างที่กำหนด
การประเมินผล
ความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า 6/12 ต้องส่งพบจักษุแพทย์
ความสามารถในการมองเห็น 6/9 ถึง 6/12 ต้องทำการเฝ้าระวังโดยการวัดสายตาปีละ 1 ครั้งแต่ถ้ามีอาการผิดปกติภายหลังการใช้สายตาร่วมด้วยเช่นอาการปวดศีรษะปวดกระบอกตาสายตามัวลงต้องพบจักษุแพทย์
ความสามารถในการมองเห็นของตาสองข้างต่างกันเกินสองแถวเช่นตาขวา 6/6 ตาซ้าย 6/18 ต้องรีบส่งพบจักษุแพทย์เพื่อวัดสายตาประกอบแว่น
การเตรียมสถานที่
มีแผ่นฝาผนังที่เรียบ
มีเเสงสว่างในห้องนั้นอย่างเพียงพอ
ขนาดห้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร
อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัด
กระดาษเเข็งตัดเป็นรูปตัว E หากใช้ E-chart
กระดาษเเข็งหรืออุปกรณ์ปิดตา (Occluder)
เทปวัดระยะ
เเว่นรูเข็ม (Pen hole)
แผ่นวัดสายตา E-chart หรือ Snellen chart หรือ Snellen box
วิธีการวัดสายตา วิธีที่ 2
วิธีการอย่างย่อเป็นวิธีที่รวดเร็วและนิยมใช้ในทางปฏิบัติโดยให้ผู้วัดชี้ ตัวอักษรแถวที่ยืนปกติในระยะ 6 เมตรสามารถอ่านได้ 6/6 ถ้าอ่านแล้วไม่ผ่านจึงจะเลื่อนให้อ่านบรรทัดที่อยู่ถัดขึ้นไป
วิธีการ ชี้ควรชี้ทุกตัวเลยชี้สลับกันบ้างเพื่อไม่ให้ท่องจำจากนั้นจึงบันทึกผลลงในช่องตาขวาสำหรับตาซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกันท่ายืนที่ 6 เม็ดแล้วไม่สามารถมองเห็นบรรทัดบนสุดได้ให้เลื่อนระยะที่ยืนให้ใกล้เข้ามาทีละ 1 เม็ด
นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23