Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สติเป็นเครื่องตื่นในโลก "สติ โลกสฺมิ ชาคโร", image, image,…
สติเป็นเครื่องตื่นในโลก
"สติ โลกสฺมิ ชาคโร"
สติ
หมายถึง ความระลึกได้ มีจิตที่ตั้งอยู่ขณะก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรหรือพูดอะไรออกไป หรือขณะกำลังทำในสิ่งนั้นก็ได้
ตรงข้ามกับ ความประมาท
หมายถึง สภานะของจิตที่เรามีสติ ตื่นตัวต่อการรับทราบความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอ
ปรับตัวพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อให้ตนเองปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีความสุขอย่างมีสติ
หากขาดสติเพียงแค่วินาทีเดียวอาจนำพาความหายนะมาสู่ชีวิตได้โดยไม่ทันได้ตั้งตัว
ดังสุภาษิต “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ที่มุ่งเน้นการปลูกฝังสติปัญญาในการควบคุมการกระทำต่างๆ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เพื่อที่จะไม่สร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม
เมื่อใจสามารถตวบคุมสติไว้ไม้ให้เผลอทำผิด กายที่เป็นผู้ปฏิบัติก็จะทำตามสิ่งที่ใจเป็นผู้สั่ง เพื่อเลือกเส้นทางว่าจะถูกต้องหรือผิดบกพร่อง
คำว่า สติปัญญา เริ่มต้นมาจากการฝึกสติให้มีความมั่นคง เมื่อนั้นก็จะเกิดปัญญาตามมาซึ่งเป็นกุศลจิตอันนำไปสู่การเกิดหิริ คือ ความละอายในการทำชั่วต่างๆ และโอตตัปปะ คือ การเกรงกลัวต่อบาปหรือผลที่ตามมาจากความชั่วของตน เมื่อนั้นความสงบจะเกิดขึ้นภายในจิตใจ
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสสอนสม่ำเสมอ ว่า มีสติอยู่เสมอ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ และจะประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดเวลา
เกี่ยวข้องกับการนำไปใช้ หากสังคมหมู่ผู้คนมีการใช้สติอย่างกว้างขวางโลกก็จะเต็มไปด้วยความสุขและปราศจากความขัดแย้งจากการหักห้ามใจในการกระทำที่ไม่ดีต่อกัน
สอดคล้องกับหลักธรรมของ "สติปัฏฐาน 4" คือ ความตั้งใจ แน่วแน่ รู้แจ้งในความเป็นจริงทั้งปวงโดยที่ไม่ถูกกิเลสครอบงำ
สติปัฏฐาน 4
มองกายว่าไม่เที่ยง มีเกิดและดับไป (กายานุปัสสนา)
มองว่าเวทนา สุข ทุกข์ อุเบกขา เป็นนามธรรม ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง (เวทนานุปัสสนา)
ไม่ลืมว่าจิตมีเหตุใกล้คือเจตสิกมากมาย ล้วนเป็นนามธรรมและไม่เที่ยง (จิตตานุปัสสนา)
ไม่ลืมว่าโลกิยธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัยมากมาย เหตุปัจจัยต่างๆ ล้วนไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ (ธัมมานุปัสสนา)
นายวรเทพ ว่องสกุล เลขที่ 12 ม.6/5