Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ นางสิริภรณ์ ประสีระตา รหัส 62113301080…
การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์
นางสิริภรณ์ ประสีระตา รหัส 62113301080 นักศึกษาพยาบาลปีที่ 3 รุ่นที่ 37
ฝากครรภ์ครั้งที่ 1
คำแนะนำ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง นมวันละ 2 แก้ว รับประทานผักใบเขียว ผลไม้ อาหารทะเล และใช้เกลือไอโอดีนปรุงอาหาร งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
รักษาความสะอากร่างกาย ดูแลสุขภาพปากและฟัน ควรแปรงฟันหลังอาหาร
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหลวมๆ อากาศถ่ายเทสะดวก ควรสวมรองเท้าส้นเตี้ย
ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล อายุครรภ์ที่เหมาะสมหากจำเป็นคือ 16- 24 สัปดาห์
การมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสแรกควรเป็นท่าธรรมดามารุนแรง และหลีกเลี่ยงท่ากดทับหน้าท้อง
การออกกำลังกายควรเริ่มทำหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ เพราะร่างกายแข็งแรง และหายแพ้ท้องแล้ว
แนะนำการรับประทานยาบำรุงครรภ์ Folic acid 1 เม็ด หลังอาหาร วันละ 1 ครั้ง
อาการเปลี่ยนแปลงที่พบและอธิบายเหตุผล
รู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลีย เป็นอาการที่สำคัญที่บ่งบอกว่าตั้งครรภ์
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนตอนตื่นนอนเป็นอาอาการแพ้ท้อง (morningsickness) มักเกิดในตอนเช้า ให้รับประทานนมอุ่นๆ และขนมปังกรอบ
ลานนมสีคล้ำขึ้นและมีอาการคัดตึงเต้านม เกิดจาก ผิวหนังเปลี่ยนแปลง(Skin changes)มีการเพิ่ม Pigmentation ทำให้ลานนมมีสีคล้ำ
คัดตึงเต้านม เนื่องจากเต้านมเปลี่ยนแปลง(Breast changes) มีการเจริญเติบโต ใหญ่ขึ้น ทำให้ต้องมีเลือดมาเลี้ยงมาก หลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณนี้จึงมีขนาดใหญ่ขึ้น
อาการที่ควรมาพบแพทย์
1.แพ้ท้องมาก จนทานอาหารไม่ได้เลย
2.มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ไม่ว่าจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ สาเหตุที่พบบ่อยของการมีเลือดออกในระยะนี้ คือ ภาวะแท้งคุกคาม ครรภ์ไข่ลม
3.ปวดมากบริเวณท้องน้อย ในระยะตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเกิดจากภาวะแท้งคุกคาม หรือจากการฝังตัวอ่อนผิดที่ (ตั้งครรภ์นอกมดลูก)
4.ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โดยมีอาการปัสสาวะขัดเจ็บ ปัสสาวะบ่อยเหมือนไม่สุด ปัสสาวะเป็นเลือด
ถ้ามีอาการต่างๆเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็วไม่ให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์
ฝากครรภ์ครั้งที่ 2
อาการเปลี่ยนแปลงที่พบและอธิบายเหตุผล
สีหน้าท่าทางวิตกกังวล
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางจิตจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ด้านอารมณ์ อาจจะเกิดความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย ไม่มั่นใจ หรือกลัวทารกจะไม่แข็งแรง
มีอาการปวดหน่วงบริเวณมดลูกเป็นบางครั้ง
หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยนานๆ ครั้งต่อวัน (ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวัน) เกิดจากมีการเกร็งตัวของมดลูกเล็กน้อย พบได้ในภาวะปกติระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีอาการปวดหน่วงบ่อยๆ เช่น มากกว่า 10 ครั้งในหนึ่งวัน หรือ 2-3 ครั้งต่อชั่วโมงติดต่อกันหลายชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณเตือนของการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ จึงควรรีบปรึกษาแพทย์
คำแนะนำ
สังเกตลูกดิ้น และจะนับลูกดิ้นในช่วงอายุครรภ์ 28 -32 สัปดาห์เป็นต้นไป
แนะนำการบันทึกเส้นทางลูกรัก
ฝากครรภ์ครั้งที่ 3
คำแนะนำ
ให้คำแนะนำการสังเกตลูกดิ้น แนะนำการบันทึกลูกดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูความสะอาดของอวัยวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด
แนะนำบันทึกเส้นทางลูกรัก
แนะนำการรับประทานยา calcium 1 เม็ดหลังอาหารเช้า และแนะนำกินอาหารเสริม เช่น ปลาเล็กปลาน้อย นม โยเกิร์ต
อาการเปลี่ยนแปลงที่พบและอธิบายเหตุผล
หัวนมข้างซ้ายยาว 0.5 cm. เป็นลักษณะของหัวนมสั้นเกรด 2 คือ เกรด 2 หัวนมยาว 0.4-0.6 ซม. แก้ไขโดยวิธี Hoffman,s Maneuver.
หน้าท้อง พบ Striae gravidarum เกิดจากการยืดขยายของผนังหน้าท้อง ทำให้เกิดรอยแตกของผิวหนัง
พบ linea nigraเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง จากการเพิ่มของ Pigmentation ทำให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์มีเส้นดำกลางหน้าท้องเรียก linea nigra
เป็นตะคริวที่ขาในเวลากลางคืน เกิดจากเส้นเลือดขอด (Varicose veins) อาจจะเกิดที่ขา หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ สาเหตุเนื่องจาก ระดับ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ผนังเส้นเลือดขยายตัว ประกอบกับขนาดของมดลูกที่โตกดทับเส้นเลือด ทำให้เกิดการคั่งของเลือดขึ้น เลือดไปเลี้ยงส่วนปลายได้ไม่ดี การปรับเปลี่ยนท่านอนก็ช่วยลดการเกิดตะคริวได้ โดยการนอนตะแคงให้ขาพาดอยู่บนหมอนข้าง หรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมถึงการออกกำลังกายเบา ๆ การอาบน้ำอุ่น ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป
ฝากครรภ์ครั้งที่ 4
อาการเปลี่ยนแปลงที่พบและอธิบายเหตุผล
มีอาการบวมที่หลังเท้าทั้งสองข้าง มีอาการบวมที่เท้าจากการไหลเวียนของเลือดที่ขาไหลช้ากว่าปกติ การนอนหรือยกขาสูงจะทำให้อาการปวดบวมหายไป
จากการซักประวัติพบว่ามีอาการปวดหลังบ่อยครั้ง เกิดจากมดลูกที่ขยายใหญ่และการเพิ่มของน้ำหนักตัว ทำให้ร่างกายปรับจุดศูนย์ถ่วงจากกลางลำตัวเลื่อนมาที่ท้องจะเกิดการแอ่นหลัง(Lodosis) ทำให้มีอาการปวดหลัง
มีอาการปัสสาวะ 5-6 ครั้งตอนกลางวัน กลางคืน 2-3 ครั้ง เกิดจากเมื่อมดลูกขยายใหญ่จะทำให้มีแรงไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น Urethral sphincter คลายตัวจึงเกิดปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้(Urinary incontinence)
รู้สึกแน่นอึดอัดท้องหายใจไม่สะดวกเวลานอน ในท่านอนท้องที่โตขึ้นจะไปกดเบียดเส้นเลือด Inferior vena cava และไปกดเบียดปอดทำให้เหนื่อยหอบง่าย มีการแลกเปลี่ยนก๊าซน้อยลง
คำแนะนำ
การมีเพศสัมพันธ์ ควรหลีกเลี่ยงท่าที่กดทับบนหน้าท้อง เพราะจะทำให้หญิงตั้งครรภ์รู้สึกอึดอัด อาจเป็นลมได้เนื่องจากมดลูกกดทับเส้นเลือดดำใหญ่หาก เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดควรงดมีเพศสัมพันธ์ ในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด ข้อห้ามในการมีเพศสัมพันธ์ เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด มีการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธ์ และอยู่ระหว่างการรักษา
หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลหากจำเป็นควรพักผ่อนให้เต็มที่ก่อนเดินทาง ไม่ควรเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ ในพื้นที่ที่มีความสูงเกิน 12,000 ฟุต ควรสวมถุงเท้าช่วยประคองหลอดเลือด ไม่ควรอยู่ในท่าเดียวนานๆ อนุญาตให้หญิงตั้งครรภ์ขึ้นเครื่องได้จนถึงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ หากบินนานกว่า 4 ชั่วโมง ต้องมีอายุครรภ์ไม่ เกิน 34 สัปดาห์และไม่อนุญาตให้เดินทางด้วยเครื่องบินเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ กรณีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน เช่น มีประวัติการแท้ง มีความเสี่ยงในการแท้ง ตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ปัจจุบัน ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน จะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางด้วยเครื่องบิน
ฝากครรภ์ครั้งที่ 5
อาการเปลี่ยนแปลงที่พบและอธิบายเหตุผล
มีอาการบวมที่หลังเท้าทั้งสองข้าง เกิดจากจากการไหลเวียนของเลือดที่ขาไหลช้ากว่าปกติ การนอนหรือยกขาสูงจะทำให้อาการปวดบวมหายไป
มีอาการปวดหน่วงที่บริเวณท้องน้อยเวลาเดิน รู้สึกปวดถ่วงในอุ้งเชิงกรานและเดินลำบากขึ้น เพราะศีรษะของทารกจะเคลื่อน ตัวลงต่ำเข้าสู่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอด หญิงตั้งครรภ์รู้สึกปวดถ่วงหรือรู้สึก หน่วง ๆ บริเวณอุ้งเชิงกราน
3.รู้สึกท้องแข็งบ่อยขึ้น ชั่วโมงละ 2 – 3 ครั้ง เมื่อนอนพักอาการดีขึ้น หญิงที่ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 8-9 มักจะมีอาการมดลูกหดเกร็ง ทำให้มีอาการปวดบ้างเล็กน้อยซึ่งเป็นการเจ็บเตือน และจะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้จะคลอด
มีตกขาวเล็กน้อยลักษณะใสไม่มีกลิ่น เนื่องจากมีการทำงานของต่อม Vestibular gland เพิ่มขึ้น จึงขับเยื่อเมือกออกมามากเป็นผลจาก H.estrogen และH.progesterone จะเป็นสีใส ไม่มีกลิ่น
อาการแน่นอึดอัดท้องลดน้อยลง เนื่องจากระดับยอดมดลูกลดลงจากศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลง ท้องยื่นออกไปข้างหน้ามากขึ้นจากศีรษะทารกผ่านช่องเชิงกราน หญิงตั้งครรภ์จะคลายอึดอัด และหายใจได้สะดวกขึ้น
กังวลว่าจะคลอดก่อนกำหนด เป็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์ ด้านอารามณ์ ในระยะที่ 3 คือกลัวและวิตกกังวล และอาจจะประกอบกับเคยมีประวัติการแท้งบุตร
คำแนะนำ
อาการบ่งชี ที่ควรมาโรงพยาบาล
มีน้ำเดินหรือมีน้ำใส ๆ ไหลออกทางช่องคลอด
ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น
มีอาการบวมร่วมกับปวดศีรษะ หรือมีอาการตาพร่ามัว จุดเสียดใต้ลิ้นปี่
มีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
มีอาการเจ็บครรภ์จริง โดยเริ่มเจ็บที่หลังบริเวณบั้นเอวแล้วร้าวไปข้างหน้าบริเวณท้องน้อยและหน้าขาทั้งสองข้าง อาการเจ็บครรภ์เป็นจังหวะสม่ำเสมอและค่อย ๆ ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และ เจ็บปวดยาวนานขึ้นเป็นลำดับ อาจมีมูกหรือมูกปนเลือดออกทางช่องคลอดร่วมด้วย
การเตรียมของใช้ที่จำเป็นเพื่อมาคลอดที่โรงพยาบาล
ประกอบด้วย
บัตรประจำตัวผู้ป่วย
สมุดบันทึกการฝากครรภ์
หลักฐานในการแสดงสิทธิค่ารักษาพยาบาล
ของใช้ส่วนตัวของผู้คลอด เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ แป้ง หวี ผ้าเช็ดตัว และผ้าอนามัยแบบห่วง 1 -2 ห่อ เสื้อผ้า 1 ชุด สำหรับใส่กลับบ้าน
ของใช้สำหรับทารกแรกเกิด เช่น ผ้าอ้อม ผ้าขนหนูผืนใหญ่ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อ สบู่อาบน้ำ