Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่องเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในงานช่าง, อิ่นๆ, ค้อนยาง, ค้อนหัวกลม,…
เรื่องเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในงานช่าง
ประเภทเครื่องมือ
เครื่องมือประเภทเจาะ
สว่าน ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่สกรูหรือเดือย
1.สว่านมือหรือสว่านเฟือง ใช้สำหรับเจาะรูขนาดเล็ก
3.สว่านข้อเสือ มีลักษณะเป็นรูปตัวยู มีคันหมุน ต้องใช้ร่วมกับดอกสว่านที่มีขนาด ระหว่าง ¼ - 1 นิ้ว มักใช้ในงานไม้
2.สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือเจาะที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ใช้เจาะวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ปูน โลหะ ไม้ และพลาสติก ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน
เครื่องมือประเภทไสตกแต่ง
1.กบไสไม้ ใช้สำหรับปาดผิวไม้ออกเพื่อให้เรียบร้อยและไล่ระดับ
2.ตะไบ เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ปรับผิวชิ้นงานให้เรียบหรือตกแต่งชิ้นงานให้มีขนาดตามต้องการ ตะไบทำจากเหล็กผสมคาร์บอน ส่วนตะไบที่ต้องการความคงทนสูงทำด้วยเหล็กกล้า รูปร่างของตะไบนอกจากถูกกำหนดโดยลายตัดขวาง ความถี่ และความลึกของร่องตัด ยังมีผลต่อขนาดของฟันอีกด้วย คือ ตะไบหยาบจะมีฟันลึกและห่างใช้สำหรับงานปาด ส่วนตะไบละเอียดจะมีฟันตัดตื้นและถี่ เหมาะสำหรับงานตกแต่งขั้นสุดท้าย ตะไบมีหลายแบบ ดังนี้ ตะไบแบน ตะไบท้องปลิง ตะไบสามเหลี่ยม ตะไปกลม ส่วนตะไบที่ใช้ในงานไม้ เรียกว่า บุ้ง
เครื่องมือประเภทจับยึด
1.คีม เป็นเครื่องจับยึดชิ้นงานให้ติดกันหรือดึงชิ้นงาน นอกจากนั้นยังใช้จับ บีบ ดัด ตัด คีมจะมีด้ามโลหะติดกับปากคีม ถ้าใช้ในงานไฟฟ้าจะมีฉนวนหุ้มด้ามคีมทั้งสองข้างอีกครั้ง
เครื่องมือสำหรับขันและไข
1.ประแจ เป็นเครื่องมือในการขันหัวสกรูหรือนอต ประแจมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้
ประเภทเครื่องมือ
เครื่องมือสำหรับตอก
1.ค้อน เป็นเครื่องมือสำหรับตอก มีหลายชนิด เช่น ค้อนหัวกลม ค้อนหัวยาง ค้อนหัวหงอน
เครื่องมือสำหรับตัดและผ่า
มีด มีหลายชนิด มีดที่ใช้ในงานช่างพื้นฐานทั่วๆไป มักมักจะเป็นมีดที่ใช้งานได้อเนกประสงค์ ส่วนใหญ่ใช้ในการผ่า สับไม้
เลื่อย
มีชื่อเรียกตามลักษณะการใช้งานและลักษณะรูปร่าง ในการช่างพื้นฐานจะกล่าวถึงเลื่อยที่ใช้กันทั่วๆไป ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นใบเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็กบาง มีฟันคล้ายกับสิ่วเล็กๆเรียงกันตลอดความยาว และส่วนที่เป็นด้ามมือ ทำจากไม้หรือพลาสติก เลื่อยที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
เครื่องมือสำหรับวัด
ไม้บรรทัด ใช้สำหรับวัดระยะสั้นๆ และขีดเส้น
ตลับเมตรใช้สำหรับวัดระยะมีลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยมขนาดพอจับมือ ตัวตลับทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ส่วนแถบวักทำด้วยเหล็กบางเคลือบสี ปลายแถบวัดจะมีขอเกี่ยวเล็กๆ ติดอยู่
ฉาก เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรงหรือตั้งได้ฉากของงาน รวมทั้งวัดมุมต่างๆ ฉากมี 2
ขอขีดไม้ใช้ขีดทำแนวเพื่อเลื่อย ผ่า หรือทำรูเดือย ลักษณะของขอขีดไม้ประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนแขน ซึ่งยึดติดกันด้วยสลักหรือลิ่ม ปลายแขนข้างหนึ่งจะมีเข็มเหล็กปลายแหลมติดอยู่ สำหรับขีดให้เป็นรอย
การบำรุงรักษา
1.หลังการใช้งานต้องทำความสะอาด
2.ไม่ใช้ด้ามฉากเคาะหรือตอกแทนค้อน
3.ระมัดระวังอย่าให้ฉากตกลงพื้น เพราะจะทำให้เคลื่อนที่ได้
1.ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม่ให้หัก
2.เมื่อจะปล่อยเส้นเทปกลับมี่เดิมต้องค่อยๆผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายของเกี่ยวอาจชำรุดเสียหายได้
3.ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งานแล้วเก็บให้เป็นระเบียบ
1.หลังจากการใช้งานให้คลายใบเลื่อยออกเล็กน้อย เพื่อยืดอายุใบเลื่อยให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
2.ใช้แปรงปัดทำความสะอาดทุกส่วน ทาด้วยน้ำมัน แล้วเก็บไว้ในที่เก็บหลังการใช้งาน
1.เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงาน
2.เมื่อใช้งานเสร็จควรเช็ดทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันที่หัวค้อนเพื่อป้องกันสนิม
1.ไม่ใช้ประแจตอกหรือตีแทนค้อน
2.ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งาน
3.หลีกเลี่ยงการใช้ประแจที่มีขนาดใหญ่กว่าสกรูหรือนอต
1.ใช้คีมให้ถูกประเภทกับงาน
2.ไม่ควรบีบคีมแรงเกินไปเพราะจะทำให้คีมหัก
3.ไม่ควรใช้ค้อนทุบคีมแทนการตัด
4.ไม่ใช้คีมแทนค้อนหรือเครื่องมืออื่นๆ
5.เช็ดทำความสะอาด หยดน้ำมันที่จุดหมุน แล้วชโลมน้ำมันหลังการใช้งาน
ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่
ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก
ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ
ทำความสะอาดตะไบโดยใช้แปรงทองเหลืองปัดเศษโลหะออก
ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย
อิ่นๆ
ความหมายของเครื่องมืองานช่าง
หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเกี่ยวกับงานช่าง เช่น การดัด การตอก การวัด การเจาะ การไส การติดตั้ง
ประเภทของเครื่องมืองานช่าง
เครื่องมือที่จำเป็นในงานช่างพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้และสามารถนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงานซ่อมแซมเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ