Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารจัดการงานในวอร์ด - Coggle Diagram
การบริหารจัดการงานในวอร์ด
การจัดการระบบบริการ
Team method
ความหมายและความสำคัญ
เป็นการจัดบริการที่มอบหมายให้ปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยเป็นทีม ที่ประกอบด้วยบุคลากร ทางการพยาบาลหลายระดับ
ข้อดี
ยึดงานและผู้ป่วยเป็นหลัก เกิดทักษะการทำงานเป็นทีม พึ่งพาช่วย เหลือกัน และกัน เสริมสร้างความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม (สามัคคี) ผู้ป่วยได้รับดูแลต่อเนื่อง ประหยัดค่าใช้จ่าย หัวหน้าทีมกำกับให้ทีม พยาบาลดูแลผู้ป่วยตาม หน้าที่ตามเวลา
ข้อด้อย
ต้องใช้คนมาก (ทุกระดับ) อาจไม่ได้ผล ถ้าไม่แบ่งงานความรับผิดชอบให้หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม อย่างจริงจัง ไม่มีเวลาวางแผน/สื่อสาร มีเป้าหมายแผนการพยาบาลเฉพาะแต่ละเวรไม่ ต่อเนื่อง ตั้งแต่แรกรับ-จำหน่าย มุ่งแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าขาดการป้องกัน อาจต้องใช้ Functional ร่วมด้วย
บทบาทของบุคลากรพยาบาล
Head ward
จัดตารางเวรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ติดตามควบคุมกํากับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เป็นที่ปรึกษาและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
Subhead
ช่วยเหลือหัวหน้าวอร์ดและดูแลพยาบาลในวอร์ด
Incharge
มอบหมายงานให้ทีม, ควบคุมตรวจสอบการให้บริการอย่างถูกต้องทางเทคนิค ประชุมปรึกษาหารือหลังปฏิบัติงานร่วมกันหัวหน้าทีมการพยาบาล ส่งเวรให้เวรต่อไป
Leader
ฟังมอบหมายงานจาก incharge , มอบหมายงานให้ member นําทีมประชุมปรึกษาหารือก่อนปฏิบัติงาน ตรวจสอบหน้าที่พิเศษต่าง ๆ ของสมาชิกในทีม นิเทศและติดตามประเมินผลงานที่มอบหมายให้สมาชิกทีมทุกคนรับผิดชอบ นําทีมประชุมปรึกษาหารือหลังปฏิบัติงาน ส่งเวรให้หัวหน้าเวร
Member
ฟังมอบหมายงานจากหัวหน้าทีมและหัวหน้าเวร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ร่วมประชุมปรึกษาหารือก่อนปฏิบัติงานกับหัวหน้าทีม เขียนรายงานอาการของผู้ป่วยในบันทึกต่างๆ ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในทีม
ประเด็นการมอบหมายงาน
ทักษะการประสานงานของพยาบาล
สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกภายในทีม
ประสิทธิภาพของงานและเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วย
จำนวนผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของโรค
มีทักษะ ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความสามารถซึ่งกัน
Mix method
ความหมายและความสำคัญ
เป็นการผสมผสานกันหลาย ๆ แบบ เช่นแบบทีมร่วมกันกับแบบตามหน้าที่แบบรายบุคคลร่วมกับแบบทีม ซึ่งมีความสำคัญคือแก้ปัญหาพยาบาลไม่เพียงพอได้
ข้อดี
มีการใช้หลายรูปแบบโดยไม่ได้ใช้รูปแบบเดียว
ใช้ทรัพยากรบุคคลได้ดี
ข้อด้อย
เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคลลได้ง่าย อาจเกิดการดูแลที่ไม่ต่อเนื่อง เกิดความสับสนได้ในทีม
บทบาทของบุคลากรพยาบาล
Incharge
ควบคุมตรวจสอบการให้บริการ โดยมีการมอบหมายงานในทีมและเป็นการมอบหมายงานตามหน้าที่ และตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วๆไปภายในหอผู้ป่วย ดูการเขียนบันทึกรายงานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
Leader
นำทีมประชุมหารือก่อนปฏิบัติ และมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ตามหน้าที่ทุกคนในทีมให้ทราบรายละเอียดให้ปฏิบัติได้ถูกต้องและตรวจสอบหน้าที่พิเศษต่างๆของทีม
Member
เข้าร่วมประชุมหารือปรึกษาก่อนปฏิบัติงานกับหัวหน้าทีม ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกภายในทีม
ประเด็นการมอบหมายงาน
ใช้ระเบียบวิธีการแบบผสมผสาน ทั้งการบริหารและจัดการภายในวอร์ด เช่น การใช้หลัการของ Team method รวมเข้ากับ วิธีการของ Funcional method ได้แก่ ทักษะการประสานงาน จำนวนพยาบาล จำนวนผู้ป่วย
Case method
ความหมายและความสำคัญ
เป็นการจัดระบบการดูแลเป็นรายบุคคล ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องและสามารถปฏิบัติตาม กระบวนการพยาบาลได้ครอบคลุม มีหลักการดูแลคือพยาบาล 1 คนจะให้การดูแลทุกอย่างสำหรับผู้ป่วยรายนั้น ๆ ตลอดระยะเวลาการขึ้นปฏิบัติงานในแต่ละเวร ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอด 8 ชั่วโมง พยาบาลจะได้รับมอบหมายให้ ดูแลผู้ป่วยในลักษณะความรุนแรง ซับซ้อน (Complicate) มากกน้อยต่างกันตามแต่สมรรถนะของพยาบาล
ข้อดี
สามารถศึกษาความต้องการปัญหา ผู้ป่วยได้ดี /องค์รวม
ผู้ป่วยพึงพอใจสูง
พยาบาลรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยทั้งหมด
เน้นผู้ป่วยเป็นหลัก
ให้การดูแลผู้ป่วยแต่ละรายแบบเบ็ดเสร็จ
ข้อด้อย
ทักษะบางอย่างอาจไม่เหมาะสม (ยาก/ง่าย)
ไม่เหมาะสำหรับพยาบาลจบใหม่และด้อยประสบการณ์
ไม่เหมาะกับหอผู้ป่วยที่มีการรับใหม่ – จำหน่ายมากๆ ในแต่ละเวร
ใช้พยาบาลมาก รายจ่ายสูง เครื่องมือ เครื่องใช้มาก หากทำให้ได้ดี
แผนการพยาบาลเฉพาะแต่ละเวร การดูแล อาจไม่ต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับ-จำหน่าย
บทบาทของบุคลากรพยาบาล
Head ward
จัดทำแผนอัตรากำลัง มอบหมายงานตรวจสอบความเรียบร้อยและจัดตารางเวร กำหนดมาตรฐานการพยาบาลในหน่วยงาน
Subhead
ช่วยเหลือหัวหน้าวอร์ดและดูแลพยาบาลในวอร์ด
Incharge
มอบหมายงาน, ควบคุมตรวจสอบการให้บริการอย่างถูกต้องทางเทคนิค ประชุมปรึกษาหารือก่อนปฏิบัติงานร่วมกันกับสมาชิก ส่งเวรให้เวรต่อไป
Member
ฟังมอบหมายงานจากหัวหน้าเวรและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นรายๆ โดยดูแลผู้ป่วยรายนั้นทุกอย่างครบถ้วยภายในรอบเวรนั้น ร่วมประชุมปรึกษาหารือก่อนปฏิบัติงานกับหัวหน้าเวร เขียนรายงานอาการของผู้ป่วยในบันทึกต่างๆ
ประเด็นการมอบหมายงาน
ทักษะและสมรรถนะของพยาบาล
ความรุนแรงและความซับซ้อนของผู้รับบริการ
จำนวนพยาบาล
จำนวนผู้ป่วย
อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วย
จำนวนผู้ป่วยที่มีการรับใหม่-และจำหน่ายในแต่ละเวร
Function method
ความหมายและความสำคัญ
เป็นการจัดบริการที่มอบหมายให้ปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยตามกิจกรรมหรือหน้าที่ ที่ให้บริการ โดยจัดแบ่งกิจกรรมการพยาบาล ให้กับพยาบาลในรอบเวรนั้นๆ ตามความรู้ความสามารถ
ข้อดี
ประหยัดเวลา เครื่องมือ พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานได้ดีและเร็ว ปลอดภัยในการปฏิบัติการพยาบาล ไม่สับสนในการทำงาน เหมาะกรณีมีคนน้อย ลดค่าใช้จ่าย ตรวจสอบประเมินง่าย ให้การดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ตามเวลา
ข้อด้อย
มุ่งงานมากกว่าผู้ป่วย ไม่สามารถทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่รู้ว่า RN คนไหนเป็นเจ้าของ
ไม่เหมาะในการดูแลที่ใช้เวลานาน ๆ /ไม่ต่อเนื่อง/ ขาดองค์รวม ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีแผนการพยาบาล เกิดปัญหาแล้ว จึงตามแก้ไข
บทบาทของบุคลากรพยาบาล
Head ward
มอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเหมาะสมตามความสามารถ pre-conference ร่วมกับทีมการพยาบาล
Subhead
ช่วยเหลือหัวหน้าหอผู้ป่วยในการดูแลพยาบาลในทีมให้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
Incharge
มอบหมายงานตามหน้าที่ความสามารถของพยาบาล ให้ทำหน้าที่นั้นๆซ้ำๆ ตลอดเวร เช่น การฉีดยา ทำแผล ให้อาหาร รัปผู้ป่วยใหม่ ทำจำหน่าย ช่วยแพทย์ทำหัตการ
Leader
นำทีมประชุมปรึกษาก่อนปฏิบัติงานมอบหมายให้ทุกคนทราบรายละเอียดในงานของตนเอง ดูแลตรวจสอบหน้าที่พิเศษต่างๆของสมาชิกทีม ตรวจสอบความเรียบร้อย
Member
ฟังมอบหมายงานจากหัวหน้าทีม ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาปฏิบัติ เช่น ฉีดยา ทำแผล ก็ปฏิบัติทุกเตียงที่มีหัตถการของตัวเอง เขียนรายงานอาการของผู้รับบริการและลงบันทึกต่างๆ ตรวจดูความเรียบร้อยก่อนลงเวร
ประเด็นการมอบหมายงาน
เลือกบุคลากรที่มีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ เช่น การฉีดยา การทำแผล เป็นต้น
จำนวนพยาบาล
ระยะเวลาในการดูแล
ต้องการลดค่าใช้จ่าย