Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปฐมบทถิ่นอีสาน - Coggle Diagram
ปฐมบทถิ่นอีสาน
ลักษณะภูมิประเทศภาคอีสาน
“ที่ราบสูงโคราช” คาว่า “ที่ราบ” บ่งบอก ชัดเจนว่า มีความต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมาก จึงมักพบว่าภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นราบ ทุ่ง เนิน โนน โคก มากกว่าเป็นภูเขา คาว่า “สูง”
สรุป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ โคก โนน เนิน ซึ่งมีคามลาดชันน้อย ความต่างระดับน้อยมาก ประมาณร้อยละ 80 ของพื้น ที่ภูมิภาคลักษณะดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางทางเหนือ และทางตะวันออกของภูมิภาค ส่วนที่เป็นภูเขามีความ ลาดชันและความต่างระดับสูง มีร้อยละ 20 วางตัวเป็นขอบที่สูงอยู่ทางตะวันออก และทางใต้ของภูมิภาค โดย เทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออกและทิวเขาพังเหยอยู่ทางตะวันตก มีเทือกเขาสันกาแพง และเทือกเขาพนมดงรักอยูท่างใต้
สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ระหว่างระติจูด 14°7´ ถึง 18°27´ เหนือ และ ลองติจูด 100°54´ ถึง 105°37´ ตะวันออก ตั้งอยู่ในตาแหน่งศูนย์กลางของอนุภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านตะวันออกและด้านเหนือ มีแม่น้ำโขงกั้นพรมแดน และด้านใต้ตดิต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเทือกเขาพนมดงรักกั้นพรมแดน
-
-
-
-
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรดิน
ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำเนิดมาจากวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นหินทราย หินทรายแป้งและหินดินดานที่ผุสลายจากภูเขายอดราบต่าง ๆ ในเขตภาคอีสาน หลังจากนั้น จะถูกน้ำพัดพาเคลื่อนย้ายสู่ที่ต่ำตามลุ่มน้ำต่าง ๆ กลายเป็นตะกอนทับถมที่มีชั้นและส่วนผสมของเนื้อ ตะกอนแตกต่างกัน การที่มีต้นกำเนิดเป็นหินทรายและทรายแป้งเป็นหลัก ทำให้เนื้อดินส่วนใหญ่เป็น เนื้อดินทรายระดับต่าง ๆ เช่น ดินทรายจัด ดินทรายร่วน ดินร่วนทราย ดินร่วน เป็นต้น
-
ทรัพยากรน้ำ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมพิจารณาได้ 3 ระดับ คือ ต้นน้ำที่เป็นสาขาสายสั้น ๆ ขนาดไม่กว้างนัก ต้นน้ำอยู่บริเวณภูเขา มักจะเรียกว่า “ห้วย” เมื่อห้วยมา รวมกันทำให้สายน้ำใหญ่ กว้าง และยาวขึ้น จะเรียกว่า “ลำ” เมื่อลำต่าง ๆ มารวมกันกลายเป็นทางน้ำที่ใหญ่ กว้าง และยาวมากขึ้น เรียกว่า “แม่น้ำ”
ลำน้ำเล็ก-ใหญ่ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบ และสามารแบ่งแยกออกจากกันโดยสันปันน้ำ เรียกว่า “ลุ่มน้ำ” ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระบบลุ่มน้ำใหญ่สาคัญอยู่ 3 ลุ่มน้ำ คือ
(1) ลุ่มน้ำโขง
มีพื้นที่ลุ่มนี้ 46,515 ตารางกิ โลเมตร (เฉพาะ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีแม่น้ำ โขงเป็นสายประธาน ซึ่งไหลเป็นเขตแดนไทย-ลาว อยู่ทางด้านเหนือ และตะวันออกของภูมิภาค ลำน้ำสาขาที่สำคัญ คือ แม่น้ำสงคราม ห้วยหลวง น้ำโมง แม่น้ำเลย แม่น้ำเหือง ฯลฯ
(2) ลุ่มน้ำชี
มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 51,477 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำชีเป็นสายประธาน มีลำน้ำสาขาที่สาคัญ คือ ลำคันฉู ลำเจา ลำเชิญ ลำน้ำพรหม ลไน้ำพอง ลำปาว ลำน้ำยัง ลุ่มน้ำช
(3) ลุ่มน้ำมูล
มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 71,961 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำมูลเป็นสายประธาน มีลำน้ำสาขาที่สาคัญ คือ ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำมูลบน ลำจักราช ลำปลายมาศ ลำชี ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ ลำเชิงไร ลำสะแทด ลำพลับเพลา ลำสียวใหญ่ ลำเซบาย ลำเซบก ลำตุงลุง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่เป็นที่เรียกกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “กุด” เป็นแหล่ง น้ำตามธรรมชาติ ที่วิถีชีวติคนอีสานใช้ประโยชน์ร่วมกัน กุดหรือทะเลสาบรูปแอก คือ ทางน้ำเก่าทีถูกกทิ้งไว้ เมื่อแม่น้ำเปลี่ยนเดิน ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงที่เป็นคุ้งน้ำเก่าที่มีการคดโค้งมาก ๆ เมื่อลำน้ำ ใหม่เปลี่ยนเส้นทาง แล้วจะทิ้งให้คุ้งน้ำกลายเป็นกุด
ส่วนคำว่า “บุ่ง” แปลว่า ที่ ลุ่มติดกับลำน้ำในฤดูฝนที่มีน้ำหลากจะมีน้ำขังอยู่ คล้ายบึงหรือหนอง เรียก บุ่ง เช่น บุ่งหวาย บุ่งกาแซว บุ่งแมลง
ทรัพยากรทางธรณี
3.1) ทราย
มีกระจายอยูทั่วภูมิภาค ทรายที่ดีบริสทุธิ์ บริสุทธิ์ และคัดขนาด มักจะอยูต่ามทางน้าเก่าและสายน้าปัจจุบนั ใช้ในการก่อสร้าง
3.2) กรวดท้องน้ำ
วัสดุทางธรรมชาติท่ีกำเนิดจากหินหลายชนิด และหินทรายชนิดต่าง ๆ สะสมตามทางน้ำเก่า และบริเวณลาห้วยใช้เป็นวัสดุกอ่สร้าง แทนหินจากโรงงานย่อยหิน
3.3) ก้อนหินตบแต่ง
วัสดุธรรมชาติท่ีมีต้ังแต่ขนาดใหญ่ถึงเล็ก หลายหลากสี ส่วน ใหญ่จะเป็นวัสดุที่มีต้ยกำเนิดจากหินทราย หินควอร์ตไซต์ และหินแข็งชนิดอื่น ๆ พบตามทางน้ำและ ต้นน้ำของลำห้วยต่าง ๆ
3.4) หินตัดตบแต่ง
วัสดุทอ้งถิ่นที่ผลิตจากหินทรายสีต่าง ๆ ตั้งแต่ขาว เหลือง แดง น้ำตาล เทา ชมพู ฯลฯ ใช้ในการก่อผนัง ปูพื้น หรือตบแต่งส่วนต่าง ๆ ของอาคารในปัจจุบัน
3.5) ซากไดโนเสาร์
ส่วนใหญ่พบกระจายอยู่ ในหมวดหินเสาขัวในยุคครีเทเซียส พบในหลายพื้นที่ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลาภู จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร บางส่วนถูกเซาะกร่อน โดยทางน้ำไหลทำให้ชิ้นส่วนกระดูกสูญหายและกระจัดกระจายไป
-
ทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้และพืชพรรณธรรมชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพิจารณาโดยภาพรวมจำแนกได้เป็นกลุ่มพืชพรรณที่อยู่ในรูปของป่าไม้ซึ่งประเภทของป่าไม้จะแปรผัน ตามลักษณะของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดิน และหิน
(1) ป่าเต็งรัง เป็นประเภทป่าที่ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของภาคและเป็นลักษณะ ป่าที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่โคก โนน เนิน มอและทีด่นิไหล่เขา ดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย
(2) ป่าเบญจพรรณ ป่าที่กระจายเป็นหย่อมๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสัมพันธ์กับพื้นที่ไหล่เขา โคก โนน และที่ดอนที่มี ความชื้นในดินมากกว่าป่าเต็งรัง
(3) ป่าดิบ ป่าดิบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอดีตมีมากกว่าปัจจุบัน มักขึ้นในพื้นที่ซึ่งเป็นหุบเขาหรือเชิงเขาที่มีน้ำไหลซึมตลอดปี ปัจจุบันพื้นที่ป่าชนิดนี้ลดน้อยลง จึงเหลือเป็น แนวยาวตามร่องน้ำในหุบเขาในเขตอุทยานแห่งชาติ แถบเขาสูงหรือเป็นหย่อม ๆ
(4) ป่าสน เป็นป่าที่มีความสัมพันธ์กับอากาศหนาวเย็น ป่าสนจึงปรากฏอยู่มากบนยอดเขาสูงที่มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายรูปโต๊ะ ซึ่งจะมีท่ีราบขนาดใหญ่ อยู่บนยอดเขา โดยมี ระดับสูงมากกว่า 1,000 เมตร
(5) ป่าแคระ ป่าละเมาะ (ป่าดอนแห้งแล้ง) เป็นป่าที่สัมพันธ์กับลักษณะอากาศ แล้งจัดหรือแล้งยาวนาน จึงมักพบป่าชนิดนี้ข้ึนในที่ดอนชายทุ่งที่เชิงเนิน
(6) ป่าบุ่ง-ป่าทาม (ป่าลุ่มน้ำจืด) ได้แก่ป่าที่ข้ึนตามบึง ตามทุ่งในที่ราบลุ่มสอง ฝั่งแม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะสัมพันธ์กับแนวคดเคี้ยวของร่องน้ำในที่ลุ่ม จะปรากฏปาบุ่ง-ป่าทามประกบอยู่ตามแนวของลำน้ำ
-
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือรู้จักกันทั่วไปว่า “ภาคอีสาน” เป็นภาคที่มี พื้นที่ใหญ่ท่ีสุดของประเทศไทย โดยมีพื้นที่โดยมีพื้นที่ท้ังสิ้น 170,226 ตารางกิโลเมตร ภาคอีสานตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภ เป็นขอบชันแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีสันเขากั้นเป็นแนวตั้งประกอบด้วยเทือกเขา สลับซับซ้อน ทั้งทิวเขาเพชรบูรณ์ติดต่อกับทิวเขาดงพระยาเย็น แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เลย บุรรีมัย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ หนองบัวลาภู บึงกาฬภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือรู้จักกันทั่วไปว่า “ภาคอีสาน” เป็นภาคที่มี พื้นที่ใหญ่ท่ีสุดของประเทศไทย โดยมีพื้นที่โดยมีพื้นที่ท้ังสิ้น 170,226 ตารางกิโลเมตร ภาคอีสานตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภ เป็นขอบชันแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีสันเขากั้นเป็นแนวตั้งประกอบด้วยเทือกเขา สลับซับซ้อน ทั้งทิวเขาเพชรบูรณ์ติดต่อกับทิวเขาดงพระยาเย็น แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด อันได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ เลย บุรรีมัย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ หนองบัวลาภู บึงกาฬอ
ความน่าสนใจของแผ่น ดิ นที่ ราบสูงโคราช ก็คือ เป็นที่ ซึมซับหลักฐานทางด้านโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่สมัย 150 ล้านปี นั่นคือ มีการค้นพบ โครงกระดูก ไดโนเสาร์ สกุลคามาราซอรัส (ที่ภูเรียง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น) และรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทราย ที่ ภูเวียง จ.ขอนแก่น และที่ภูหลวง จังหวัดเลย
-