Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาคและอุทกภาค - Coggle Diagram
ภัยพิบัติธรรมชาติทางธรณีภาคและอุทกภาค
อุทกภาค
สึนามิ
สถานการณ์การเกิดสึนามิ
บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิ คือ ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมักได้รับภัยจากสึนามิบ่อยครั้งส่วนในทะเลอันดามันของมหาสมุทรอินเดียไม่เคยเกิดสึนามิที่รุนแรงมาก่อน จนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547ได้เกิดสึนามิที่รุนแรงมาก มีจุดกำเนิดอยู่ในทะเลทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย แล้วแผ่ขยายไปในทะเลอันดามันจนไปถึงฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200.00 คน ใน 11ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คนใน 6 จังหวัด
ผลกระทบที่เกิดจากสึนามิ ผลของคลื่นสึนามิที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
ทำให้แผ่นเปลือกโลกขยับ ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์คลาดเคลื่อนไป
ส่งผลให้สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาอันสั้น
ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้านเรือนเสียหาย ระบบสาธารณูปโภคถูกทำลาย
ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น สัตว์น้ำบางประเภทเปลี่ยนที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสึนามิ
สึนามิเป็นคลื่นทะเลขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและมีพลังมาก เกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนกลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเลย แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะหรือใต้ทะเล การพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล
การระวังภัยจากสึนามิ วิธีสังเกตและป้องกันตนจากคลื่นสึนามิ
สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง เช่น มีการลดระดับน้ำทะเล ให้รีบอพยพครอบครัวและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูง เป็นต้น
ถ้าอยู่ในเรือจอดใกล้กับชายฝั่งให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดติดชายฝั่งทะเลย ต้องระลึกเสมอว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมทุกเมื่อ
หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง หากจำเป็นต้องมีการก่อสร้าง ควรมีโครงสร้างแข็งแรงต้านแรงสึนามิได้
แผ่นดินไหว
สถานการณ์เกิดแผ่นดินไหว
ในปัจจุบันได้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวในภูมิภาคต่างๆ ของโลกบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โดยมีศูนย์กลางการเกิดตามพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ โดยเฉพาะตามแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกทั้งหลาย
ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว
เมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้น (ขนาดปานกลาง 4-6 ริกเตอร์ ขนาดเล็ก 1-3 ริกเตอร์) จะเกิดรอยร้าวของอาคารและสิ่งของตกลงพื้นหรือแกว่ง แต่ถ้าขนาดของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คือ ตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดความรุนแรงมาก คือ อาคารที่ไม่แข็งแรงจะพังทรุดถล่ม มีผู้เสียชีวิตมาก กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เป็นเกาะ และมีขนาดตั้งแต่ 7.5 ริกเตอร์ขึ้นไป ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามินอกจากนี้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อาจจะทำให้พื้นที่บริเวณเชิงเขาที่ลาดชันเกิดดินถล่มลงมาทับบ้านเรือนแถบเขาและอาจเกิดแผ่นดินแยกกัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้จุดใดจุดหนึ่นบนผิวโลก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของความเครียดภายในเปลือกโลกในรูปแบบของการเลื่อนตัวของแผ่นดินไหวได้เช่นกัน
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แผ่นดินมีการสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแรงบางอย่างที่อยู่ใต้พื้นโลก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นของแผ่นดินไหวจะกระจายไปสู่บริเวณส่วนต่างๆ ของโลก และถ้าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเป็นไปอย่างรุนแรง อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างออกไปไกลนับหมื่นกิโลเมตรก็สามารถรับคลื่นแผ่นดินไหวได้
ธรณีภาค
ภูเขาไฟระเบิด
สถานการณ์การเกิดภูเขาไฟปะทุ
ในย่านภูเขาไฟของโลกยังมีปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าภายในเปลือกโลกยังมีมวลหินหนืดหลอมละลายอยู่อีกและพยายามหาทางระบายความร้อนดังกล่าว ตัวอย่างการปะทุของภูเขาไฟใน พ.ศ.2552-2553 ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น ภูเขาไฟมาโยนในประเทศฟิลิปปินส์ได้พ่นเศษเถ้าถ่านสู่ท้องฟ้า
ผลกระทบที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ
อาจไหลมาจากปากปล่องภูเขาไฟและเคลื่อนที่เร็วถึง 50กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษย์และสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันและเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ในแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน เมื่อฝนตกหนักอาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนภล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น
ประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันและอาจเกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้
เกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเกิดการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องทะเล คลื่นนี้อาจโถมเข้าฝั่งสูงขนาดตึก 3 ชั้นขึ้นไป
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟ
การปะทุของแมกมา แก๊ส และเถ้าถ่านจากได้เปลือกโลก
ภายในแมกมาจะมีแก๊สอยู่ เมื่อแมกมาเคลื่อนขึ้นมาใกล้ผิวโลกตามช่องเปิดแก๊สต่างๆ ที่ละลายอยู่จะแยกตัวออกเป็นฟองแก๊สจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความหนืดของแมกมาตรงที่เกิดฟองจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนเกิดการแตกร้าวของฟองแก๊สพร้อมๆ กับการขยายตัวแล้วเกิดปะทุออกอย่างรุนแรง
การปะทุของหินหนืดหรือแมกมา
ภายในแมกมาจะมีแก๊สอยู่ เมื่อแมกมาเคลื่อนขึ้นมาใกล้ผิวโลกตามช่องเปิดแก๊สต่างๆ ที่ละลายอยู่จะแยกตัวออกเป็นฟองแก๊สจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความหนืดของแมกมาตรงที่เกิดฟองจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนเกิดการแตกร้าวของฟองแก๊สพร้อมๆ กับการขยายตัวแล้วเกิดปะทุออกอย่างรุนแรง
การระวังภัยที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุ
การพยากรณ์ควรเริ่มต้นด้วยการสังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักภูเขาไฟวิทยาที่มีประสบการณ์อย่าจริงจัง
การให้ความรู้แก่ประชาชน ทำได้ตลอดเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัยพิบัติ เมื่อประชาชนรู้เรื่องภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟ
ต้องมีการพยากรณ์ว่าภูเขาไฟจะเกิดปะทุขึ้น และอาจเป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่ โดยการประชาสัมพันธ์ การพยากรณ์และเตือนภัยภูเขาไฟปะทุทางวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง
อุทกภัย
สถานการณืการเกิดอุทกภัย
ปัจจุบันน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกและที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และเกิดรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนังต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ทำให้ประชาชนหลายพันคนในรัฐนอร์ทตาโคตาและมินนิโซตต้องอพยพออกจากบ้านเรือน และการเกิดน้ำท่วมฉับพลันในประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 นับเป็นภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในกรุงมะนิลาในช่วงเวลา 42 ปี เนื่องจากอิทธิผลของพายุโซนร้อนกิสนา ทำให้มีผู้เสีชีวิตหลายร้อยคนและคนไร้ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก เป็นต้น
ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย
เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วงๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนนสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุที่อยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก
ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า เป็นต้น
น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพังทลายได้ คน สัตว์พาหนะ และสัตว์อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย
พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุทกภัย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัย
น้ำทะเลหนุน
พื้นที่รองรับน้ำตื้นเขิน
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
ฝนตกหนักและต่อเนื่องยาวนาน
สิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ
วิธีปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากอุทกภัย
ไม่บุกรุกทำลายป่าไม้ และไม่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่ภูเขาสูงชัน เพราะจะขาดพื้นที่ดูดซับและชะลอการไหลของน้ำ ทำให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ลำห้วยได้อย่างรวดเร็ว
การเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่ที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำท่วมให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือที่สูง
การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดผังเมืองเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมือง ไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่น้ำท่วมให้เป็นพื้นที่ราบลุ่มรับน้ำ เพื่อเป็นการหน่วงหรือชะลอการเกิดน้ำท่วม
การนำถุงทรายมาทำเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
การพยากรณ์และการเตือนภัยน้ำท่วมให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมป้องกัน
การสร้างเขื่อน ฝาย ทำนบ และถนน เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำหรือเป็นการกั้นทางเดินของน้ำ เป็นต้น