Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
จิตวิทยาทั่วไป - Coggle Diagram
จิตวิทยาทั่วไป
-
-
-
- ปัจจัยด้านจิตใจ ของบุคคลที่มีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในช่วงอายุนั้นๆ มี 4 ปัจจัย
2.1 ปัจจัยการรับรู้ภายในตนเอง เช่นการรับรู้เรื่องเพษของตนเองในระยะ 5-6 ปี เด็กชายหรือเด็กหญิงเริ่มมีการรับรู้บทบาทของเพศที่แตกต่างกัน การถูกทำร้ายจิตใจในวัยนี้จะเกิดปัญหาทางจิต
2.2 ปัจจัยด้านความคิด มีผลมาจากการเลี้ยงดูตั้งแต่ในวัยทารก และวัยเด็ก การให้ความรักความอบอุ่น การใช้เหตุผลในการอบรมเลี้ยงดู การเล่นของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิด จะส่งผลต่อพัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญาในอนาคต
2.3 ปัจจัยด้านอารมณ์ การได้รับความมั่นคงทางอารมณ์จากบิดา มารดาตั้งแต่ในวัยทารกจะมีผลให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์เป็นไปอย่างเหมาะสม
2.4 ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ การเป็นต้นแบบด้านบุคลิกภาพที่ดีของบิดา มารดา จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
- ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังนี้
3.1 ปัจจัยสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เริ่มตั้งแต่ภายในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ปฎิบัติต่อกันด้วยความรัก ความเอื้ออาทร ความห่วงใย เด็กจะรู้สึกมั่นใจในการปรับตัวกับสังคมภายนอกและมีทัศนคติที่ดีต่อบุคคลทั่วๆไป ส่งผลต่อความสุขของบุคคลมากที่สุด
3.2 ปัจจัยด้านสังคม ตั้งแต่ในวัยเด็กการอบรมเลี้ยงดูส่งเสริมให้เด็กมีการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในสังคมบุคคลในครอบครัว เช่น ครอบครัว ที่มารดาเป็นคนไทยแต่บิดาเคร่งครัดในประเพณีจีน ย่อมส่งผลให้บุตรหลานต้องยึดถือและปฎิบัติตามประเพณีของจีนด้วยเช่นกัน เกิดความเครียดได้
3.3 ปัจจัยด้านวัฒนธรรม มีผลทำให้พัฒนาการของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป เช่น เด็กไทยส่วนใหญ่มีลักษณะไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ขัดแย้งกับผู้ใหญ่เนื่องจากถูกอบรมให้เชื่อฟังและปฎิบัติตามที่ผู้ใหญ่ได้แนะนำสั่งสอนแตกต่างจาก วัฒนธรรม ตะวันตกซึ่งส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ และ สามารถแสดงความคิดเห็นขัดแย้งผู้ใหญ่ได้อย่างมีเหตุผล
3.4ปัจจัยด้านมนุษย์วิทยา ลักษณะที่แตกต่างกันของกลุ่มชนที่อยู่ร่วมกันมีอิทธิพล ต่อพัฒนาการของมนุษย์ เช่น ความแตกต่างด้านลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิตของคนผิวดำในประเทศอเมริกา ทำให้มีคนอเมริกันบางกลุ่มรังเกียจคนผิวดำ ความแตกต่างในการนับถือศาสนาของประชาชนชาวอินเดียทำให้มีการแบ่งชนชั้นในสังคม หรือ ความแตกต่างในการดำรงชีวิต ของบุคคลในครอบครัว
นักจิตวิทยา
-
-
-
นำทฤษฎีมาใช้ประโยชน์ โดยอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ด้านต่างๆ ได้แก่ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ การรับรู้ สังคม และวัยต่างๆ
-
1.ปัจจัยด้านชีวภาพ เป็น ปัจจัยทางชีวภาพที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ในระยะก่อนคลอด คือ พันธุกรรมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพ
1.1พันธุกรรม คือการถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งในครอบครัวเดียวกัน หรือ ในเชื้อสายเดียวกัน เช่น สีของนัยน์ตา สีผม ลักษณะรูปร่างหน้าตา รวมถึงความผิดปกติ หรือ โรคต่างๆ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ตาบอดสี โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น
1.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพ โดยเฉพาะสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่มีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์มารดา เช่น การใช้ยาของมารดาขณะตั้งครรภ์ ที่มีผลต่อทารก การติดเชื้อโรคของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น เชื้อไวรัสจากหัดเยอรมัน เป็นต้น
พฤติกรรมมนุษย์
การเกิดพิมพ์เขียวชีวิต เช่น การทดลองในลูกหนูเลี้ยงคู่กับลูกแมว ตั้งแต่แรกเกิด พบว่าแมวและหนู โตขึ้นเป็นเพื่อนกัน เพราะเกิด Imprinting ขึ้น
-
พันธุกรรม โคโมโซม มนุษย์ มี 23 คู่ หรือ 46 โคโมโซม 1 คู่ มี 2 โตโมโซม หากมีมากกว่า 2 เรียกว่า Trisomy = มีความผิดปกติ ยีนส์ มี 2 ชนิด
-
-
-
-
กำเนิดมนุษย์ เมื่อ สเปิร์ม อสุจิ ผสมกับไข่ เป็นจุดกำเนิดเซลล์ 1 เซลล์ แบ่งตัว 2 4 6 8 คือ สิ่งที่มีชีวิต
เพศมนุษย์ เพศชายผลิต โคโมโซม X Y
เพศมนุษย์ เพศหญิงผลิต โคโมโซม X X