Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea), 07, S__5537797, จิรารัตน์ พร้อมมูล. (2564).…
โรคอุจจาระร่วง (Diarrhea)
ความหมาย
องค์การอนามัยโลก ได้ให้คำจำกัดความโรคอุจจาระร่วงว่า ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นส่วนน้ำของอุจจาระมากกว่าส่วนเนื้อ และถ่ายจำนวนมากกว่า 3 ครั้ง/ วัน หรือมีมูกเลือดปนอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน มักจะกลั้นอุจจาระไว้ได้ไม่นาน หรือไม่ได้เลย
สาเหตุ
ท้องร่วงชนิดเฉียบพลัน เกิดจาก
อาหารเป็นพิษ โดยการปะปนของเชื้อโรคที่อยู่ในอาหาร
สารเคมี เช่น สารตะกั่ว สารหนูไนเตรท ยาฆ่าแมลง ทำให้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง และชักร่วมด้วย
ยา เช่น ยาถ่าย ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ
พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย
การติดเชื้อ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ อาจเกิดจากเชื้อไวรัส บิด
ไทฟอยก์ อหิวาต์ มาลาเรีย พยาธิบางชนิด เช่น ไทอาร์เดีย พยาธิแส้ม้า
ท้องร่วงเรื้อรัง
การที่มีอาการท้องร่วงติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ นานหลายๆ เดือน หรือเกือบทั้งปี ทั้งที่ร่างกายยังแข็งแรงดี อาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้
การติดเชื้อ เช่น บิด อะมีบา วัณโรคลำไส้ และพยาธิแส้ม้า
โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน คอพอกเป็นพิษ
ขาดน้ำย่อย สำหรับย่อยน้ำตาลที่อยู่ในนม จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหลังดื่มนม
ความผิดปกติของการดูดซึมอาหารที่ลำไส้
เนื้องอก มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งตับอ่อน
ยา เช่น รับประทานยาถ่าย หรือยาลดกรดเป็นประจำ
สาเหตุอื่นๆ เช่น ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ การฝังแร่อาจทำให้เกิดอาการท้องเดินเรื้อรังได้
อารมณ์ ความเครียด
อาการและอาการแสดง
ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ
มีอาเจียน
ปวดท้อง
มีไข้
ถ่ายปัสสาวะลดลง
อาการสำคัญที่ต้องประเมิน คือ ภาวะขาดน้ำ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ
ภาวะขาดน้ำเล็กน้อย ผู้ป่วยจะกระหายน้ำ และอ่อนเพลียเล็กน้อย ชีพจรและความดันโลหิตปกติ
ภาวะขาดน้ำปานกลาง ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียมาก ตาลึก ปากแห้ง ผิวหนังเหี่ยว ชีพจรเบาแต่เร็ว ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยจะอ่อนเพลียมาก ลุกนั่งไม่ได้ ไม่ค่อยรู้สึกตัว กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเย็น เท้าเย็น ความดันต่ำมาก ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออกเลย ปากแห้ง ลิ้นแห้ง หายใจเร็ว
การวินิจฉัย
การซักประวัติผู้ป่วย เช่น อาการ ประวัติการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่ม วันเวลาที่เริ่มเป็น ระยะเวลาที่เป็นจำนวนครั้งที่ถ่าย ลักษณะอุจจาระ สี กลิ่น อาการอื่นๆ ที่มีร่วมด้วย (เช่น ไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน)
2.การตรวจร่างกาย เช่น สัญญาณชีพ ความดันโลหิต ความตึงของผิวหนัง ปากแห้ง ตาโหล กระหม่อมหน้าบุ๋ม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การรักษา
หลักของการรักษาคือ รักษาและป้องกันไม่ให้เกิดการขาดน้ำและอิเลคโตรลัตท์ และการขาดสารอาหาร แบ่งออกเป็น
การรักษาแบบประคับประคอง
1.1 ให้ของเหลวที่บ้าน เช่น น้ำแกงจืด น้ำข้าวใส่เกลือ น้ำมะพร้าวน้ำ อัดลมใส่เกลือเล็กน้อย
1.2 ให้น้ำเกลือที่เตรียมขึ้นเอง น้ำตาลทราย 2 ช้อน
เกลือป่น 2 หยิบนิ้วมือ น้ำ 1 แก้ว(18ออนซ์)
1.3 ผงเกลือสำเร็จรูป (ORS)
การพยาบาล
มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากมีอาการอุจจาระร่วง
สังเกตและบันทึกจำนวน ความถี่ และลักษณะของอุจจาระ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาแก้ท้องเสีย และยาฆ่าเชื้อตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงที่ย่อยยาก หรือกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เช่น อาหารที่มีไขมันและกากใยสูง แนะนำให้กินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ
ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) และดูแลให้ได้รับสารน้ำและอิเลคโทรไลต์ทางหลอดเลือดดำตามแผนการักษาเพื่อทดแทนน้ำและอิเลคโทรไลต์ที่สูญเสียออกไปทางอุจจาระ
แนะนำให้ผู้ป่วยล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากถ่ายอุจจาระ
จิรารัตน์ พร้อมมูล. (2564). เอกสารประกอบการเรียน ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิชาการพยาบาลเด็กและรุ่น บทที่ 8 การพยาบาลเด็กจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาทางเดินอาหาร
mccormickhospital. (มปป). โรคท้องร่วง (Diarrhea). สืบค้น 11สิงหาคม 2564 จาก
https://www.mccormickhospital.com/web/articles/blogs/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%20(Diarrhea
)
นางสาววรารัตน์ วังทอง 621001079