Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุและการพยาบาล 💪 - Coggle…
หน่วยที่ 5 ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
ในผู้สูงอายุและการพยาบาล
💪
1. ปัญหาระบบกระดูกและฮอร์โมน
(ข้อเสื่อม/ กระดูกพรุน / เบาหวาน)
1.1 ข้อเสื่อม (Osteoarthritis; OA)
เป็นภาวะ เสื่อมสภาพของกระดูกออนผิวขอ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม การได้รับบาดเจ็บของข้อ
การรักษา
:<3:
การรักษาที่ไม่ใช้ยา
ได้แก่
การให้ความรู้เรื่องโรคและการดูแลรักษา
การลดน้ำหนัก การออกกําลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบให้ข้อแข็งแรง โดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา (quadriceps muscle) ช่วยชะลอการดําเนินโรคได้
การใส่อุปกรณ์พยุงข้อเข่า หรือการใช้ไม้เท้าช่วยยืนหรือเดิน
การรักษาที่ใช้ยา
เป้าหมายเพื่อหวังผลลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ ได้แก่ ยาพารา เซตามอล ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช้สเตียรอยด์ ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ ยาทาเฉพาะที่ ยาฉีดคอร์ติ โคสเตียรอยด์การผ่าตัด จะทําในผู้ที่ให้การรักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล
ชนิดของโรคข้อเสื่อม
:red_flag:
ข้อเสื่อมชนิดปฐมภูมิ/ชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Primary/idiopathic Osteoarthritis)
ผู้ป่วยจะไม่มีประวัติของการได้รับบาดเจ็บที่ข้อมากอน เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของอายุ ประวัติครอบครัวมีสวนเกี่ยวของกับการเกิดโรคขอเสื่อมชนิดไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้พบวาฮอรโมนเพศ และฮอรโมนอื่นๆมีสวนทําให้เกิด โรคขอเสื่อม ลักษณะการใช้งานของขอนั้นๆ ซึ่งพบไดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มี น้ําหนักมากๆหรือในคนที่ทํางานใชขอมากๆ เกิดในเพศหญิงมากกวาเพศชาย และเกิดกับข้อที่รับน้ําหนัก ของรางกายเชน ข้อสะโพก (hips), ข้อเขา (knees)
โรคขอเสื่อมชนิดทุติยภูมิ (Secondary Osteoarthritis)
เป็นชนิดที่สามารถคนหาสาเหตุของ โรคได มักเกิดในเพศชายมากกวาเพศหญิง จากหลายสาเหตุไดแก การได้รับบาดเจ็บ การอักเสบของขอ จากการประกอบอาชีพ/จากการเลนกีฬา ภาวะอ้วนเกิน
พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology)
โดยปกติกระดูกอ่อนมีลักษณะเรียบเงาสีขาวมี คุณสมบัติยืดหยุ่นช่วย กระจายแรงกด เซลล์กระดูกออน (chondrocytes) ซึ่งเป็นสวนประกอบของ กระดูกอ่อนจะมีการปรับรูปร่างอยางต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงจะเกิดทั้งที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) และกระดูกใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เมื่อ กระดูกออนผิวข้อเสื่อมจะมี ลักษณะเหลืองขุ่น ผิวขรุขระมีรอยแตก ซึ่งจะเกิดถึงเนื้อกระดูกออนทําใหหลุดลุ่ย บางครั้งเศษกระดูกที่ หลุดจะเข้าไปในน้ำไขขอ (Synovial fluid) มีผลให้เยื่อบุข้อ (Synovial membrane) อักเสบ ส่วนกระดูกออนบริเวณรอบๆจะมีการสร้าง กระดูกอ่อนใหม่และมีกระดูกงอกที่ขอบของข้อเรียกวา Osteophyte ทําใหขัดขวางการเคลื่อนไหวของข้อ และมีอาการปวดตามมา
การตรวจวินิจฉัย
อาการและอาการแสดงได้แก่
ปวดและผิวข้อติด/ข้อยึด ขึ้นเมื่อทำกิจกรรม และอาการจะลดลงเมื่อพัก
มีเสียงดังภายในขอกดเจ็บ เล็กนอย พิสัยการเคลื่อนไหวข้อ (range of motion) ลดลง
ข้อมีขนาดโตขึ้น อาจเกิดที่ข้อเดียวหรือเป็นหลายข้อ
ข้อที่มีอาการปวดมักไม่สมมาตรกัน
ผู้ป่วยจะบอกวาข้อที่ลงน้าหนัก นั้นจะมีลักษณะล็อค(lock)
เข่าอ่อนขณะเดินเมื่อมีการดำเนินโรคมากขึ้น กระดูกงอกที่นิ้วมือซึ่งเกิดขึ้นที่ขอปลายนิ้วมือ (Distal interphalangeal joint; DIP) คือ Herberden’s node สำหรับ Bouchard’s node เกิดที่ข้อนิ้วมือที่อยูใกล้ (Proximal interphalangeal joint; PIP)
การถายภาพรังสี; ลักษณะภาพรังสีของโรคขอเสื่อมจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อที่เกิดขึ้น มี osteophyte ที่ ขอบของข้อช่องข้อแคบ (narrowed joint space)
การตรวจวินิจฉัยแยกโรค
ในปี ค.ศ. 1988 Altman และคณะได้ กําหนดเกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยอาศัยอาการทางคลินิก ร่วมกับผลทางห้องปฏิบัติการ ร่วมกับภาพถ่ายรังสีข้อเข่า ดังรายละเอียดนี้
การวินิจฉัยแบบที่ ❶ : มีอาการปวดข้อเข่าร่วมกับ มีอาการปวดข้อเข่าร่วมกับ ต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 ใน 9 ข้อ
1.อายุมากกว่า 50 ปี
2.ข้อผิดน้อยกว่า 30 นาที
3.มีเสียงดังในข้อเข่าขณะขยับข้อเข่า
4.กดเจ็บบริเวณข้อเข่า
5.มีกระดูกข้อเข่าที่โตขึ้น
6.คลำไม่พบข้ออุ่น
7.ค่า (Erythrocyte sedimentation rate : ESR) น้อยกว่า 40 มม./ชม.
8.ผลเลือด Rheumatoid factor(RF) น้อยกว่า 1:40
9.น้ำเจาะข้อเข่ามีลักษณะใส หนืด เม็ดเลือดขาวไม่เกิน 2,000 cell/มม3 เข้าได้กับข้อเสื่อม
การวินิจฉัยแบบที่ ❷ : มีอาการปวดข้อเข่าร่วมกับเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ใน 3 ข้อ 1.อายุมากกว่า 50 ปี
2.ข้อฝืดน้อยกว่า 30 นาที
3.มีเสียงดังในข้อเข่าขณะขยับ
4.ข้อภาพถ่ายรังสีข้อเข่าพบปุ่มกระดูกงอก (osteophyte)
การวินิจฉัยแบบที่ ❸ : มีอาการปวดข้อเข่าร่วมกับอาการทางคลินิกตามเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ใน 6 ข้อ หรือ 4 ใน 6 ข้อ
1.อายุมากกว่า 50 ปี
2.ข้อฝืดน้อยกว่า 30 นาที
3.มีเสียงดังในข้อเข่าขณะขยับข้อเข่า
4.กดเจ็บบริเวณข้อเข่า
5.มีกระดูกข้อเข่าที่โตขึ้น
6.คลำไม่พบข้ออุ่น
กิจกรรมการพยาบาล :silhouettes:
ให้ความรูแก่ผู้สูงอายุเข้าใจธรรมชาติของโรค
พักการใช้ข้อ
การใช้ยาในการรักษาตามอาการ (Conservative)
ป้องกันอันตรายต่อข้อ โดยหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมากเกินไป
5.การผ่าตัด; จะทําในผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธี Conservative treatment ไม่ได้ผลได้แก่
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement, Total Knee Arthroplasty; TKR,TKA)
การฟื้นฟูสมรรถภาพก่อนและหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
1) ระยะก่อนผ่าตัด
1.1) Quadriceps strengthening มีความสําคัญต่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการฝึกเดินของ ผู้ป่วยต้องมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการทํา straight leg raising
1.2) Exercise calf pumping (การออกกําลังกายเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดของขา)
1.3) การบริหารพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่า
1.4) การเดินลงน้ำหนักขาข้างที่รับการผ่าตัด
1.5) การเดินด้วยอุปกรณ์พยุงเดิน
1.6) การฝึกขึ้นลงขั้นบันได
1.7) การสอนผู้ป่วยในการฝึกหายใจอย่างถูกวิธี (Breathing exercise) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มี โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดการคั่งค้างของเสมหะและปอดอักเสบได้
2) ระยะหลังผ่าตัด
แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
2.1 ระยะ 5-7 วันหลังผ่าตัด เน้นการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและการประกอบกิจวัตรประจําวัน โดยต้องพึ่งความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นน้อยที่สุด
2.2 ระยะ 2-8 สัปดาห์หลังผ่าตัด เน้นเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเดินโดยไม่ต้อง อาศัยเครื่องพยุงเดิน ให้เดินโดยใช้ไม้เท้าช่วยพยุงได้มากขึ้น ค่อยๆ เพิ่มครั้งละ 50- 100 เมตร , ฝึกการทรงตัว , ฝึกการขึ้นลงบันไดด้วยตนเอง
2.3 ระยะ 8 สัปดาห์ - 6 เดือน หลังผ่าตัด เน้นเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายสามารถประกอบ กิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น หรือสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ
1.2 กระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่มีความผิดปกติทางเมตาโบลิสมของกระดูก (Metabolic bone disorders) ส่งผลให้เสี่ยงตอการหักของกระดูกแมไดรับแรงกระทําได้มาก เนื่องจากความแข็งแรงของกระดูกลดลง ความแข็งแรงของกระดูกขึ้นอยู่กับความหนาแนนของกระดูก (bone density) และคุณภาพของกระดูก (bone quality) ตําแหนงกระดูกหักที่พบบอยไดแก กระดูกแขน กระดูกสันหลังและ สะโพก ในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) แบงประเภทของ osteoporosis ดังนี้
ปกติ (Normal) ค่า bone mass density (BMD) หรือ bone mineral content (BMC)ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ใหญ่ตอนต้น (young adult) มากกว่า 1 SD (Standard deviation) มีลักษณะโครงสร้างของกระดูกปกติ
มวลกระดูกต่ำ (Osteopenia) มีค่า BMD หรือ BMC อยู่ระหว่าง 1 ถึง 2.5 SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ใหญ่ตอนต้น
กระดูกพรุน (Osteoporosis) มีค่า BMD หรือ BMC มากกว่า 2.5 SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ ใหญ่ตอนต้น
กระดูกพรุนระดับรุนแรง (Severe osteoporosis) มีคา BMD หรือ BMC มากกว่า 2.5 SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ใหญ่ตอนต้นและมีกระดูกหักจากความเปราะบางเกิดขึ้นอย่างนอยหนึ่งแห่ง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ กรรมพันธุ์/เชื้อชาติ และเพศ
ปัจจัยด้านพฤติกรรมเสี่ยงที่ทําให้ peak bone mass ลดลง ได้แก่
การได้รับ calcium จากอาหารไม่เพียงพอ
การสูบบุหรี่
การดื่มสุรา กาแฟ
การบริโภคโปรตีนและฟอสฟอรัสมาก เกินไป
ขาดการออกกําลังกาย
ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
การสูญเสียมวลกระดูกในเพศหญิงเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงของการหมดประจําเดือน
3) ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม (Additional Risk Factors) ได้แก่
สายตาผิดปกติ
สมองเสื่อม
หกล้มมาไม่นาน
สุขภาพอ่อนแอ
ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
การใช้ยากลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ ยากันชัก ยากันเลือดแข็งตัว ซึ่งยาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสลายแคลเซียมในร่างกายทําให้กระดูกพรุน
การตรวจวินิจฉัย
ประวัติสวนตัว : เกี่ยวกับกระดูกหักในวัยผู้ใหญ่ ประวัติกระดูกหักเมื่อมีแรง กระทําเบาๆที่กระดูก น้ําหนักตัวนอย สูบบุหรี่ประจํา รับประทานยาสเตียรอยดมากกวา 3 เดือน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : การเกิดโรคกระดูกพรุนเกี่ยวของกับมวลกระดูกที่ลดลง สามารถ วัดมวลกระดูกโดยใช้เครื่องมือวัด เรียก densitometry รายงานผลเป็น BMD (bone mass density) การถายภาพรังสี การวัดความหนาแนนของกระดูก (bone mass density) ที่เป็น gold standard คือใช วิธี dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA)
ผลกระทบของภาวะกระดูกพรุนก่อให้เกิดโรคดังนี้
กระดูกสะโพกหัก
กระดูกสันหลังยุบ
การรักษากระดูกสะโพกหัก :<3: : มีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทํางานและใช้ชีวิตได้เร็วที่สุด แบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัด ประกอบด้วย
การยึดตรึงกระดูก (close reduction and internal fixation)
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบครึ่งข้อ (hemiarthroplasty)
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบครึ่งข้อ (total hip arthroplasty)
กิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน :silhouettes:
การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการดําเนินชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อปองกันการสูญเสียมวลกระดูก และการเกิดกระดูกหัก จากความเปราะบางหรือพรุนของกระดู
การออกกําลังกายแบบลงน้ำหนัก (Aerobic weight bearing exercise)
การใช้ยาในการรักษา เช่น การไดรับฮอรโมนทดแทนในผู้หญิงกอนหมดประจําเดือน calcium Vit D
การลดปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การงดดื่มกาแฟ การงดสูบบุหรี่หรือดื่ม alcohol
ระวังการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม
การผาตัดเปลี่ยนขอสะโพกเทียม (Total Hip Arthroplasty/Replacement; THANTHR) โดย THA เป็นการผาตัดเพื่อเปลี่ยนขอสะโพกโดยใสขอเทียมเขาไปแทนที่หรือเรียกว่า THB การทําผ่าตัดเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
1.3 โรคเบาหวานในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
เป็นโรคทางเมตะบอลิสมที่มีระดับน้ําตาลในเลือดสูงอันเป็นผลมาจาก ความบกพร่องของตับอ่อนที่ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนอินสุลินให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือ ฮอร์โมนอินสุลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ
ชนิดของโรคเบาหวาน :star:
1. เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1)
เดิมเรียกว่าชนิดพึ่งอินสุลิน (Insulin Dependent Diabetes Mellitus - IDDM) ส่วนใหญ่เกิดจากมีการทําลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อนทําให้เกิดการขาดอิน สุลินโดยสิ้นเชิง ชนิดนี้มีอาการทางคลินิกเกิดขึ้นชัดเจน รวดเร็ว ส่วนมากเป็นในเด็กแต่สามารถพบได้ ทุกวัย ผู้ป่วยจําเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดอินสุลินตลอดชีวิต
2. เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2)
หรือชนิดไม่พึ่งอินสุลิน (Non - Insulin Dependent Diabetes Mellitus - NIDDM) ชนิดนี้เกิดจากการขาดอินสุลิน แต่ไม่รุนแรงเท่าชนิด ที่ 1 ร่วมกับมีภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินสุลิน (insulin resistance) และมีการสร้างกลูโคสจาก ตับเพิ่มขึ้น (hepatic gluconeogenesis) มักมีอาการเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือไม่มีอาการ การ รับประทานยาเม็ดลดน้ําตาลจะได้ผลดีโดยไม่จําเป็นต้องใช้อินสุลิน นอกจากจะมีอาการรุนแรงขึ้น โรคเบาหวานชนิดนี้เป็นชนิดที่พบบ่อยถึงร้อยละ 99 ของผู้ป่วยเบาหวาน มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้น ไป และพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีรูปร่างอ้วน หรือคนปกติแต่มีการ อ้วนแบบลงพุง (abdominal/visceral obesity) และมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัวชัดเจน
3. เบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ
ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อย ได้แก่ เบาหวานที่เกิด จากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการทํางานของเบต้าเซลล์ เบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทาง พันธุกรรมของการออกฤทธิ์ของอินสุลิน เบาหวานที่เกิดจากโรคของตับอ่อน (Exocrin pancreas) เบาหวานที่เกิดจากโรคทางต่อมไร้ท่อ เบาหวานที่เกิดจากยาหรือสารเคมี เบาหวานที่เกิดจากการติดเชื้อ แล้วทําให้เกิดเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานที่เกี่ยวข้องกับภาวะอิมมูน เบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่างๆ (Genetic Syndrome) และเบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์
หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน
ซึ่งมี 3 วิธี ใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ คือ
ค่า FPG มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล.
ค่า casual (random) plasma glucose มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ ดล. ร่วมกับมีอาการของโรคเบาหวาน
plasma glucose ที่ 2 ชั่วโมง หลังจากทํา OGLT มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล.
ถ้าค่าที่ในการวินิจฉัยในแต่ละวิธีข้างต้นอยู่ในเกณฑ์ของโรคเบาหวาน ควรตรวจซ้ําในวัน อื่นอีกครั้งด้วยวิธี FPG เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ถ้าค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน ยกเว้นในกรณีที่มีระดับน้ําตาลในเลือด (plasma glucose) สูง ร่วมกับมีอาการ แสดงที่สําคัญของโรคเบาหวานที่ชัดเจน
สาเหตุและปัจจัยการเกิดโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ
ความผิดปกติของตับอ่อน
ความผิดปกติของเซลล์เป้าหมาย (target cell)
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ได้แก่ ฮอร์โมน glucocorticoid glucagons catecholamine, growth hormone เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดความเครียด ทั้งร่างกายและ จิตใจได้ง่ายทําให้ฮอร์โมนทั้ง 4 ตัวนี้มีการหลั่งมากผิดปกติมีผลทําให้ระดับน้ําตาลในเลือดสูงขึ้น ทําให้ ร่างกายต้องการอินสุลินมากขึ้นด้วย
กรรมพันธุ์
การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
ยาและสารเคมีบางอย่าง ยาบางตัวก็ทําให้ร่างกายสร้างกลูโคสมากขึ้น ยาเหล่านี้ ได้แก่ glucocorticoid, thiazides, phenytoin, phenothiazines, nicotinic acid, tricyclic antidepressants blax aspirin
7) สิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือสารเคมีบางชนิด เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะไปทําลายเซลล์ของตับอ่อน ทําให้ไม่สามารถหลั่งอินสุลินได้เพียงพอเป็นผลทําให้ร่างกายไม่สามารถใช้ น้ําตาลเป็นพลังงานได้ตามปกติ
พยาธิสรีรภาพ
ระบบหลอดเลือด จะมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงฝอย ทําให้เกิดการอุด ตัน การโป่งพองของผนังหลอดเลือดและการสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่
ไต ผลจากการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงฝอย พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง หน้าที่ของไตคือ ระยะแรกอัตราการกรองของไตจะสูงกว่าปกติถึงร้อยละ 20 – 40 ถ้าควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อัตรากรองก็จะยิ่งสูงขึ้นและสูงอยู่ได้เป็นเวลาหลายปี ในช่วงนี้จะมีการรั่วของ โปรตีนออกมาในปัสสาวะด้วย
ตา ผลจากการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงฝอย ทําให้เกิดการเสื่อมของจอตา มีการเปลี่ยนแปลงของสายตา คือมองไกลๆ เห็นไม่ชัด ซึ่งภาวะนี้จะดีขึ้นเมื่อระดับน้ําตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้ทําให้เกิด macular edema ต้อกระจก (cataract) และต้อหิน (glaucoma) โดยพบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของตาเมื่อเป็นโรคเบาหวาน 3 ปี
ระบบประสาท จากภาวะระดับน้ําตาลในเลือดสูงทําให้อัตราเร็วในการนําสัญญาณ ของเส้นประสาทช้าลง ผู้ป่วยจะมีอาการชาตามอวัยวะส่วนปลายทั้งแขนและขา ที่พบมากคือเท้าทั้ง 2 ข้าง บายรายมีการอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลายจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนโดยเฉพาะเวลา กลางคืน นอกจากนี้พบว่าผู้สูงอายุมักเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 4 และ 6 ทําให้ มองเห็นภาพซ้อนได้
ระบบเลือด ในภาวะที่ระดับน้ําตาลในเลือดสูงพบว่าเม็ดเลือดแดงมีอายุ สั้นลง เกล็ดเลือดจะยึดเกาะและรวมตัวได้ง่าย ทําให้การเสื่อมของหลอดเลือดที่มีอยู่แล้วรุนแรงมากขึ้น และ เม็ดเลือดขาวจะต่อต้านเชื้อโรคได้ไม่ดี
ผิวหนัง มีอาการคันตามตัว ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุเพราะผิวหนังแห้ง อยู่แล้ว และอาจพบตุ่มนูนสีน้ําตาลแดง (shin spot) บริเวณสันหน้าแข้ง เกิดรอยโรคในลักษณะที่เป็นแผ่นผิว มัน ขอบชัดเจน (necrobiosis ipodica) และมีแผ่นไขมันเกาะจับบริเวณข้อศอกด้านหลังของต้นขา และก้น (xanthoma diabeticorum) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคเบาหวาน
อาการและอาการแสดงของโรคเบาหวาน :star:
ปัสสาวะบ่อย จํานวนมาก (Polyuria)
คอแห้ง กระหายน้ำ และดื่มน้ํามาก (Polydipsia)
น้ำหนักลด ผอมลง (Weight Loss)
หิวบ่อย รับประทานอาหารจุ (Polyphagia)
โรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน
ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemic hyperosmolar nonketotic Coma HHNC)
เป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และมักเป็น
ผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานมาก่อน
ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
คือมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ํากว่า 60 มก./ดล. เกิดจากการสร้างน้ําตาลน้อย หรือมีการใช้น้ําตาลมาก สาเหตุเกิดจากการขาดสารอาหาร การดื่มสุรา จากการที่ได้รับยาลดระดับน้ําตาลในเลือด
ภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือด (Diabetes ketoacidosis)
เกิดขึ้นในภาวะที่ระดับ น้ำตาลในเลือดสูงเกิน 270 มก./ดล. พบน้ำตาลในปัสสาวะมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 2 และมี สารคีโตนในปัสสาวะ จะเกิดอาการกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย มีอาการ ขาดน้ำ ปากแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ซึม หายใจลําบาก หายใจเร็ว ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ หรือกลิ่น น้ํายาล้างเล็บ จนถึงหมดสติได้
โรคแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง
โรคต้อกระจก
การเสื่อมของจอตา
การอักเสบและติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจนถึง ไตอักเสบและไตวายได้
โรคความดันโลหิตสูง
หลอดเลือดหัวใจตีบตัน
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
1.3 โรคเบาหวานในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
ต่อ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
1 การควบคุมอาหาร
2 การออกกําลังกาย
3 การใช้ยาลดน้ําตาล ควรแนะนําให้มีการรับประทานยาอย่างถูกต้อง ไม่เพิ่มหรือลดขนาดยาเอง ควรให้มี การเขียนฉลากอย่างชัดเจน อักษรตัวโต ๆ เพราะผู้สูงอายุสายตาไม่ดี และอธิบายวิธีรับประทานยาให้ฟัง จนเข้าใจ โดยเฉพาะเวลาปรับขนาดยาใหม่
4 การดูแลรักษาเท้า
2. ปัญหาความบกพร่องด้านการสื่อสาร
(ปัญหาการได้ยิน / การมองเห็น)
2.1 ปัญหาการได้ยิน
ปัญหาการได้ยินของผู้สูงอายุ คือ การที่ผู้สูงอายุมีความสามารถในการรับเสียงแย่ลง หูอื้อ หูตึง ทําให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อย ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่พบได้ บ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคเรื้อรังที่เกิดกับผู้สูงอายุ
ผลกระทบที่เกิดจากการสูญเสียการได้ยินของผู้สูงอายุ
ความทุกข์ วิตกกังวล ซึมเศร้า แยกตัวออกจาก สังคม มี ความเหงา
ความมั่นใจในตนเองลดลง ต้องการพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
ความสามารถทางด้านร่างกายลดลง ทั้งนี้อาจร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในหูชั้นกลางส่งผล เกี่ยวข้องกับ ความสามารถในการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ผู้สูงอายุจึงอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ และเสียการทรงตัว เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้
การสูญเสีย การได้ยินจึง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก การที่ต้องอยู่ในโลกเงียบ ไม่ได้ยินเสียงพูดของ บุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม หรือ อาจได้ยินไม่ชัดเจน ทําให้การสื่อความหมายผิด
การพยาบาลผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยิน
ควรมีการตรวจหูผู้สูงอายุและคัดกรองปัญหาการได้ยินในการตรวจสุขภาพประจําปีและเมื่อผู้สูงอายุต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ผู้สูงอายุที่มีการสูญเสียการได้ยินจะ มีความยากลําบากในการสื่อสาร พยาบาลควรให้คําแนะนํา แก่ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวให้มีทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ในรายที่ตรวจพบภาวะขี้หูอุดตัน ควรส่งต่อไปพบแพทย์หรือพยาบาลผู้ชํานาญการ ทั้งนี้แพทย์ อาจให้สารที่ออกฤทธิ์ละลายขี้หู (cerumenolytics)
ควรแนะนําให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง
แนะนําให้ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆที่มีผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิต โดยเฉพาะผู้ที่เป็น เบาหวานก่อนอายุ 40 ปี
แนะนําให้มีการดูแลรักษาสุขอนามัยของหูอย่างถูกวิธี
ในรายที่มีการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ใช่ จากภาวะขี้หูอุดตัน ควรส่งต่อไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
2.2 ปัญหาการมองเห็น (Presbyopia/Cataract/Glaucoma/ตาแห้ง/AMD)
สายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia)
สาเหตุ : ความเสื่อมตามอายุในผู้สูงอายุมักทําให้เลนส์ตาขาดความยืดหยุ่น การปรับสายตามี น้อยลงจึงมีความลําบากในการมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ ซึ่งต่างจากคนปกติที่มองดูวัตถุไกลๆ ได้สบายๆ และ กล้ามเนื้อสายตาจะปรับหดตัวลงเพื่อให้แก้วตามีความโค้งและหนาตัวมากขึ้นทําให้แสงหักเหตกที่จอตา พอดีถ้าต้องดูวัตถุที่อยู่ใกล้
อาการ : ผู้ป่วยมักจะมีอาการมองใกล้ได้ไม่ชัด ต้องถือหนังสือออกไปไกลกว่าระยะปกติหรือจน สุดแขนเวลาอ่านหนังสือ และอาจมีอาการปวดเมื่อยตา และปวดศีรษะได้ถ้าเพ่งมองนานๆผู้ป่วยมักใช้ สายตามองระยะใกล้ๆ ได้ลําบาก เช่น อ่านหนังสือ เย็บผ้า สนเข็ม เป็นต้น และเมื่อแสงสลัวหรือหนังสือตัว เล็กมากจะมีอาการมากขึ้น อาจสังเกตเห็นว่าต้องถอดแว่นสายตาสั้นออกเมื่อต้องอ่านหนังสือในระยะใกล้ ตาในผู้ที่เป็นสายตาสั้นอยู่ก่อน โดยสามารถถือหนังสือให้ห่างจากตาเท่ากับคนอายุน้อยที่สายตาปกติได้
การรักษา : ตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาลหากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าจะเกิดโรค เพื่อช่วยให้ มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ดีขึ้นด้วยการตัดแว่นชนิดเลนส์นูนใส่ และอาจต้องเปลี่ยนแว่นให้หนาขึ้นทุก 2-3 ปี เมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากตามีกําลังในการหักเหแสงน้อยลงตามอายุ อาจต้องใช้แว่นสายตา 2 อันในผู้ที่ เป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง เพื่อใช้ในการมองใกล้และมองไกล หรืออาจใช้แว่นเพียงอัน เดียวที่เป็นชนิดเอนกประสงค์ซึ่งสามารถใช้มองใกล้และมองไกลได้
ต้อกระจก (Cataract)
ความหมาย เป็นภาวะที่พบว่า เลนส์ตามีความขุ่น ทําให้ ปริมาณแสงที่ผ่านไปสู่จอตามีปริมาณลดลง เป็นภาวะที่แก้วตาหรือเลนส์ตา (lens) ภายในลูกตามีลักษณะ ขุ่นขาวจากปกติที่มีลักษณะโปร่งใสคล้ายกระจกใส เมื่อแก้วตาขุ่นขาวก็จะมีลักษณะทึบแสง ไม่ยอมให้แสง ผ่านเข้าสู่ลูกตาไปตกกระทบที่จอตา (retina) ที่ทําหน้าที่รับภาพ ทําให้เกิดอาการสายตาฝ้าฟางและมองไม่ เห็นในที่สุด
สาเหตุ
ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80) เกิดจากภาวะเสื่อมตามวัย ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเป็นต้อ กระจกแทบทุกราย แต่อาจเป็นมากน้อยต่างกันไป เรียกว่า ต้อกระจกในผู้สูงอายุ (Senile Cataract)
ส่วนน้อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เป็นมาแต่กําเนิด ซึ่งจะพบในทารกที่เป็นหัดเยอรมัน แต่กําเนิด เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรงเกิดจากความผิดปกติของตา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดต้อกระจกจากการเสื่อมตามวัย ได้แก่
ปัจจัยทั่วไป เช่น อายุ เป็น ปัจจัยที่ สําคัญที่สุด เพศหญิงมีโอกาสเกิดได้มากกว่าเพศชาย พบในคนผิวดํามากกวาคนผิวขาว
ปัจจัย ทางการแพทย์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมักเป็นต้อกระจก และลุกลามได้เร็ว กรรมพันธุ์ และยังพบได้ในผู้ ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท (major tranquilizers) ยารักษาโรคเก๊าต์
ภาวะแวดล้อมได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลตขนาดสูงการสูบบุหรี่และ อุบัติเหตุทางสายตาเป็นต้น
อาการและอาการแสดง
.
ตามัวลงช้าๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดผู้ที่เป็นต้อกระจกจะให้ประวัติว่าตาจะมัวมากขึ้นในที่สว่างที่ เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก ขณะอยู่ที่สว่างรูม่านตาเล็กลงส่วนอยู่ในที่มืดจะเห็นชัดขึ้น เพราะรูม่านตาขยาย
มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากการหักเหของแสงในแต่ละส่วนของแก้วตาเปลี่ยนไป
สายตาสั้นลงเพราะแก้วตาเริ่มขุ่นทําให้กําลังหักเหของแสงเปลี่ยนไปจึงมองในระยะใกล้ได้ชัด ขณะเดียวกันมองไกลจะไม่ชัดเมื่อใช้ไฟฉายส่องผ่านรูม่านตา จะเห็นแสงสะท้อนสีขาว
รูม่านตาจะเห็นขุ่นขาวเมื่อส่องดูด้วยไฟฉาย
ถ้าส่องตาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือที่เรียก direct opthalmoscope บริเวณรูม่านตาจะเห็นเป็นเงา ดําตามขนาดและรูปร่างของแก้วตาที่ขุ่น
การวินิจฉัย : แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการตรวจพบแก้วตา (เลนส์ตา) ขุ่นขาว เวลาใช้ไฟส่อง ตาผู้ป่วยจะรู้สึกตาพร่า การใช้เครื่องส่องตา (ophthalmoscope) ตรวจตาจะไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนสีแดง (red reflex) หากไม่แน่ใจ แพทย์ต้องใช้เครื่องมือพิเศษตรวจอย่างละเอียด อาจจําเป็นต้องตรวจวัดความ ดันลูกตา (เพื่อแยกออกจากโรคต้อหินที่จะพบความดันลูกตาสูงกว่าปกติ) และตรวจพิเศษอื่นๆ
การรักษา
Extracapsular Cataract Extraction (ECCE) เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่ เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลัง หลังผ่าตัดประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน ต้องสวมแว่นตาจึงมองเห็นชัดในภาวะที่ ไม่มีแก้วตาหรือเลนส์นี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า aphakia
Intracapsular Cataract Extraction (ICCE) เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออก โดยการใช้ Freezing probe และลอกเอาแก้วตาออกทั้ง capsule และ เนื้อในแก้วตา ผลของการผ่าตัดชนิดนี้มีผล ไม่แน่นอน มีผลต่อสายตาการมองถ้าไม่ใส่เลนส์เข้าไปแทนที่ผู้ป่วยจะต้องใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ หรือถ้าใส่แล้วแพทย์วางตําแหน่งไม่ตรงทําให้เกิดสายตาเอียงได้
Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens (ECCE c IOL) เป็น การผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลังร่วมกับใส่แก้วตาเทียมหลังผ่าตัดผู้ป่วย สามารถมองเห็นชัดทันทีการมองเห็นภาพจะขนาดใกล้เคียงกับตาคนปกติมากที่สุดไม่ต้องสวมแว่นตา สามารถขจัดปัญหาการสูญหายของแว่นตาลงได้
Phacoemulsification with Intraocular Lens (PE c IOL) เป็นการผ่าตัดต้อกระจก โดยการใช้คลื่นเสียงหรืออัลตราซาวด์ที่มีความถี่สูงเข้าไปสลายเนื้อ แก้วตาแล้วดูดออกมาทิ้ง และจึงนํา แก้วตาเทียมใส่เข้าไปแทนข้อดีของวิธีนี้ต่างกับวิธีปกติตรงที่แผลผ่าตัดเล็กกว่าการเกิดสายตาเอียงหลังการ ผ่าตัดน้อยลงระยะพักฟื้นหลังการผ่าตัดสั้นกว่าข้อเสียเนื่องจากเป็นวิธีใหม่ดังนั้นต้องอาศัยความชํานาญ ของแพทย์ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และต้องใช้สารหล่อลื่น (Viscoelastic) ช่วยในระหว่างผ่าตัด มิฉะนั้นเครื่องอัลตราซาวด์อาจไปสั่น ทําลายกระจกตาได้
3. ปัญหาความผิดปกติในการขับถ่าย (ต่อมลูกหมากโต/ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่/ท้องผูก)
3.1 ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia - BPH)
ภาวะต่อมลูกหมาก คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมัก เปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตําแหน่งของต่อม ลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทําหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ําอสุจิ ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็ อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
ลุกขึ้นถ่ายปัสสาวะกลางดึกมากกว่า 1 - 2 ครั้ง
สายปัสสาวะไม่พุ่ง ไหลช้า หรือไหล ๆ หยุด ๆ
เกิดความรู้สึกว่าการขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องวุ่นวาย ในชีวิตประจําวัน
ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ จะต้องรีบเข้าห้องน้ําทันทีที่ปวดปัสสาวะ
ต้องเบ่ง หรือรอนานกว่าจะสามารถปัสสาวะออกมาได้
รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ทําให้อยากปัสสาวะอยู่เรื่อย ๆ
ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่เกิน 2 ชั่วโมง
การรักษาต่อมลูกหมากโต ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
อาการเล็กน้อย แพทย์จะแนะนําให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คืองดดื่มของเหลว หรือ แอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
อาการระดับปานกลาง แพทย์ให้กินยา ซึ่งเป็นยาลดอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อที่บีบรัด ท่อปัสสาวะ ยาลดขนาดต่อมลูกหมาก และยาสมุนไพรที่สกัดขึ้นเพื่อลดอาการบวมเช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อน ตัวลง (alpha-blockers) การรักษาด้วยความร้อน คือการใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก เช่น ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ หรือเลเซอร์ เพื่อทําให้ต่อมลูกหมากฝ่อและเล็กลง ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์ เลือกใช้ในรายผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด
อาการระดับรุนแรง คือ มีอาการเพิ่มมากขึ้นปัสสาวะไม่ออก ใช้ยาไม่ได้ผล หรือมีอาการ แทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์จะทําการรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดมีหลายวิธี ดังนี้ การผ่าตัดเป็นวิธี รักษาโดยขูดต่อมลูกหมากด้วยกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า TUR-P (Transurethral Prostatectomy) เพื่อตัดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่าน เข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สําหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วน ที่กดทับท่อปัสสาวะไว้ ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์ใช้วิธีการผ่าตัดแบบ เปิดหน้าท้องเพื่อนําเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
3.2 ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หมายถึง การสูญเสียความสมารถในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ทํา ให้มีปัสสาวะ เล็ดราดออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคล ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นปัญหา สุขภาพที่พบบ่อยเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักจะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงอาการที่เกิดขึ้น หลีกเลี่ยงที่จะเข้ารับการรักษาดูแล ทั้งที่ปัจจุบันแนวทางในการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่มีมากขึ้น
ชนิดของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท
Stress incontinence เป็นผลมาจากการที่ตัวหูรูดท่อปัสสาวะเองหดรัดตัวได้ไม่ดี หรือการ หย่อนตัวของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเมื่อมี การเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างกะทันหันทําให้ความดันใน กระเพาะปัสสาวะสูงขึ้นจนหรูดท่อปัสสาวะไม่สามารถควบคุมการไหลของปัสสาวะได้
Urge incontinence เกิดจากกล้ามเนื้อ เรียบของกระเพาะปัสสาวะ(detrusormuscle)มี การบีบตัวที่รุนแรงกว่าปกติหรือมีการบีบตัวทั้งๆ ที่ปริมาณปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะไม่มากพอที่จะทําให้รู้สึกปวดปัสสาวะ
Overflow incontinence เกิดจาก กล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะปัสสาวะสูญเสียความ สามารถในการบีบตัว เช่น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มี พยาธิสภาพของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระเพาะ ปัสสาวะ หรือเกิดจากการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (bladder outlet obstruction)
Functional incontinence เกิดจาก ความผิดปกติที่นอกเหนือจากสาเหตุที่เกิดจากการ ควบคุมการถ่ายปัสสาวะ แต่เกิดจากมีปัญหาทาง สมองหรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถไปเข้าห้องน้ําได้ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสติปัญญา(Cognition)
แนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหา ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ตรวจคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปทุกราย
ซักประวัติแยกระหว่าง ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ฉับพลัน (acute) คือเกิดในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน กับภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ แบบเรื้อรังหรือ persistent คือเกิดภาวะดังกล่าวตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การรักษา ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ การรักษาโดยไม่ใช้ยา การรักษาโดยการใช้ ยา และการผ่าตัด
การจัดการการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
การจัดการโดยใช้พฤติกรรมบําบัด การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชนิดที่มี Overactive bladder (urge incontinence) การทํา bladder retraining เป็นวิธีการจัดการวิธีหนึ่ง ของ พฤติกรรมบําบัด ที่ช่วยให้อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ของผู้สูงอายุดีขึ้น การทํา bladder retraining คือ การพยายามควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ โดยฝึกให้ กระเพาะปัสสาวะสามารถกักเก็บน้ําปัสสาวะใน ระยะเวลา ที่ยาวนานขึ้น นั่นคือผู้สูงอายุต้องบันทึกและประเมินตนเอง ก่อนว่า มีระยะเวลาที่ต้องการ ขับถ่ายแต่ละครั้งเฉลี่ยแล้ว นานประมาณเท่าใด หลังจากนั้นตั้งเป้าหมายว่าจะยืดเวลา การขับถ่าย ออกไปอีกจากเดิมประมาณ 5-10 นาทีเมื่อรู้สึก ปวดและต้องการขับถ่ายในช่วงเวลาที่ยืดออกไป