Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์, : : - Coggle Diagram
-
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ เป็นกระบวนการที่ดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในตามลำดับไปในช่วงอายุของมัน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามขนาดของมวลของดาวฤกษ์นั้น ๆ อายุของดาวฤกษ์มีตั้งแต่ไม่กี่ล้านปี สำหรับดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก ๆไปจนถึงหลายล้านล้านปี
ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่มีมวลมาก มีแสงสว่างมาก จะใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลืองในอัตราที่สูงมาก จึงมีช่วงชีวิตที่สั้นกว่า และจบชีวิตด้วยการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา
ดาวฤกษ์ที่กำเนิดจากดาวฤกษ์ก่อนเกิด ที่มีมวลขนาดเดียวกัน จะมีการวิวัฒนาการเหมือนกัน เช่น ดาวฤกษ์ที่มีมวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ จะมีช่วงชีวิต และการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกับดวงอาทิตย์
จุดจบของดาวฤกษ์ ที่มีมวลตั้งต้นมากกว่า 9 เท่าของดวงอาทิตย์คือ การระเบิดที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา แรงโน้มถ่วงจะทำให้ดาวยุบตัวลง กลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ การระเบิดนี้สามารถทำให้เกิดธาตุชนิดต่างๆ เช่น ดีบุก ตะกั่ว ยูเรเนียม ทองคำได้ ซึ่งหลังจากการระเบิด ธาตุเหล่านี้จะกระจายออกสู่อวกาศ กลายเป็นส่วนประกอบของเนบิวลารุ่นใหม่
ระบบสุริยะเกิดจากเนบิวลารุ่นใหม่ ซึ่งเกิดจากการระเบิดของดาวยักษ์ในยุคก่อน จึงสามารถค้นพบธาตุดังกล่าวในดวงอาทิตย์ และดาวบริวารของดวงอาทิตย์ รวมถึงโลกที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็เป็นหนึ่งในดาวบริวารของดวงอาทิตย์เช่นกัน ดังนั้น เนบิวลา ดาวฤกษ์ การระเบิดของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ โลกของเรา และสิ่งมีชีวิตบนโลก จึงมีความสัมพันธ์กัน
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์นิยมศึกษา เนื่องจากอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบรวมตัว ทำให้ความดันของเนบิวลาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิภายในเนบิวลาสูงขึ้นด้วย เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นมาก เนบิวลาจะกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด เมื่อแรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดัน ดวงอาทิตย์ก่อนเกิดจึงยุบตัวลงต่อ อุณหภูมิสูงมากขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่แก่น และเป็นแหล่งพลังงานของดวงอาทิตย์ก่อนเกิด ซี่งกลายเป็นดวงอาทิตย์ในท้ายที่สุด
เนบิวลา (Nebula) เป็นกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซขนาดมหึมาที่ครอบครองพื้นที่ว่างระหว่างดวงดาว เมื่อเราใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู จะเห็นเป็นก้อนหมอกเมฆขนาดใหญ่ที่เปร่งแสงสีสวยงามที่ปะปนอยู่ในกลุ่มดวงดาว องค์ประกอบหลักของเนบิวลาคือก๊าซไฮโดรเจน เนบิวลาส่วนใหญ่มีขนาดกว้างใหญ่ บางชนิดมีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายร้อยปีแสง
เนบิวลามีกลไกการก่อตัวที่หลากหลาย เนบิวลาบางชนิดก่อตัวจากก๊าซที่มีอยู่แล้วในตัวกลางระหว่างดวงดาว เนบิวลาบางชนิดมาจากก๊าซและฝุ่นละอองที่เกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายที่เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (Supernova) เนบิวล่าอื่นๆ เป็นบริเวณที่ดาวดวงใหม่เริ่มก่อตัว ด้วยเหตุนี้เนบิวล่าบางชนิดจึงถูกเรียกว่า “สถานอนุบาลดวงดาว”
เนบิวล่าประกอบด้วยฝุ่นและก๊าซซึ่งส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน ฝุ่นและก๊าซในเนบิวลากระจายออกไปเป็นบริเวณกว้าง แต่แรงโน้มถ่วงสามารถดึงกลุ่มฝุ่นและก๊าซเข้าด้วยกันได้อย่างช้าๆ เมื่อกระจุกเหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แรงโน้มถ่วงของมันก็จะแข็งแกร่งขึ้น ในที่สุดกลุ่มฝุ่นและก๊าซก็มีขนาดใหญ่มากจนยุบตัวลงภายใต้แรงโน้มถ่วงของมันเอง การยุบตัวทำให้วัตถุที่อยู่ใจกลางมีความหนาแน่นและร้อนขึ้น แกนกลางที่ร้อนนี้เรียกว่า โปรโตสตาร์ (Protostar) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของดวงดาว หากมีก๊าซเพียงเล็กน้อยอยู่รอบๆ ก็จะมีเพียงดาวฤกษ์เล็กๆ เท่านั้นที่ก่อตัวขึ้น (เช่นดวงอาทิตย์) หากมีก๊าซจำนวนมาก ดาวฤกษ์มวลมากจะก่อตัวขึ้น และเศษที่เหลือจะสร้างดาวเคราะห์และวัตถุอื่นๆ ในระบบดาวเคราะห์
-
-
-
-
-
วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ที่มีมวลสารต่างๆกัน วาระสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มากๆจะเป็นหลุมดำมวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์มาก จะกลายเป็นดาวนิวตรอน และวาระสุดท้ายดาวฤกษ์มวลสารน้อย เช่น ดวงอาทิตย์ จะกลายเป็นดาวแคระ
-
-
-
-