Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Neonatal Jaundice ภาวะตัวเหลืองของทารก, ดาวน์โหลด, ดาวน์โหลด (1),…
Neonatal Jaundice
ภาวะตัวเหลืองของทารก
การรักษา
การใช้แสงบําบัดหรือการส่องไฟ (phototherapy)
แสงที่มีความถี่ในช่วง 450-480 nm จะช่วยลด ระดับของ unconjugated bilirubin ลงได้ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างของโมเลกุลเป็นชนิดที่สามารถ ละลายน้ำได้ที่บริเวณเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังหรือชั้นไขมันใต้ผิวหนังและจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ การรักษาวิธีนี้ทำโดยใช้หลอดฟลูออเรสเซนจำนวน 4-8 หลอด วางห่างจากทารกประมาณ 35-50 cm.หลอดไฟ ควรห่างกันพอสมควรเพื่อระบายความร้อน ควรใช้ผ้ากันไว้รอบแผงไฟทั้ง 3 ด้าน ให้ห้อยต่ำลงมา 10-12 นิ้ว เพื่อกันการกระจายของแสงไฟ ในรายที่ทารกมีระดับ bilirubin สูงมากอาจเพิ่มจำนวนไฟในการส่องให้ครอบคลุมผิว ทารกมากที่สุด ทำได้โดยการส่องไฟจากด้านล่างและด้านบนพร้อมกัน (double phototherapy) ปัจจุบันในบางโรงพยาบาลมีการนําแสงจาก fiber optic มาใช้แทนแสงที่เกิดจากหลอดไฟธรรมดา ซึ่งวิธีนี้สามารถทำให้แสงที่มีความเข้มข้นผ่านทางแผ่นพลาสติกหรือผ้าห่มได้ ใช้นํามาห่อทารก จึงทำให้ลดระดับ bilirubin ได้ดีขึ้น
การรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือด (Exchange Transfusion)
เป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยลดระดับบิลิรูบินลงได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด มีข้อบ่งชี้สําคัญคือ ในกรณีที่เกิดจากเลือดแม่กบเลือดลูกไม่เข้ากัน หรือเม็ดเลือดแดงแตกง่าย โดยทั่วไปควรเปลี่ยน ่เลือดเมื่อระดับ Microbilirubin ( MB ) สูงกวา 20 มก./ดล. ในกรณีที่สาเหตุไม่ได้เกิดจากโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายจะทําการเปลี่ยนเลือดเมื่อ Microbilirubin สูงกว่า 23 มก./ดล. สําหรับทารกอายุ 3-5 วัน และระดับ Microbilirubin สูงกว่า25มก./ดล สําหรับทารกอายุมากกว่า 5 วัน การเปลี่ยนถ่ายเลือดในปริมาณ 2เท่าของปริมาณเลือดในร่างกาย จะสามารถลดระดับซีรั่มบิลิรูบินได้ประมาณร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามบิลิรูบินได้กระจายอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ( ประมาณร้อยละ 70 ) ดังนั้น ภายหลังการถ่ายเปลี่ยนเลือดประมาณ 1ชัวโมงระดับบิลิรูบินจะกลับสูงขึ้นได้เลือดที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายเป็นเลือดใหม่( Fresh Whole Blood ) ซึ่งเก็บไว้ไม่เกิน 3 วัน เลือดที่ใช้ต้องCross-Math กับเลือดของมารดาได้ด้วยมิฉะนั้นเม็ดเลือดที่ได้รับเข้าไปใหม่อาจถูกทําลายจากแอนติบอดีที่มีอยู่ได้
การใช้ยาในการรักษา (pharmacological agents)
โดยยาที่ใช้ลดระดับของ bilirubin ที่ใช้ได้ดี คือยา Phenobarbital ช่วยเร่งให้ตับสร้างเอนไซม์ UDP-glucuronyl transferase และโปรตีน Y และ Z มากขึ้น ทำให้ bilirubin ถูกขับออกทางท่อน้ำดีมากขึ้น ใช้เวลา 4-5 วัน จึงเห็นผล ยา Tin-mesoporphrin ทําหน้าที่ยับยั้งการ ทำงานของเอนไซม์ heme oxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยเปลี่ยน heme ให้เป็น bilirubin ใช้โดยฉีด 1 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง ในกรณี ABO incompatibility, G6PD ซึ่งจะใช้ในการป้องกันหรือรักษาในกรณีที่ทารกมีอาการ เหลืองไม่มาก
พยาธิสภาพ
เกิดจากสารสีเหลืองที่เรียกวา บิลิรูบิน ( ่ Bilirubin) ในเลือดสูงกวาปกติ เกิดเนื่องจากเม็ดเลือดแดงของทารกที่หมดอายุซึ่งจะถูกทําลายที่ตับและม้าม เมื่อเม็ดเลือดแดงแตก สารสีเหลืองบิลิรูบินในเลือดจะถูกปล่อยออกมา แต่เนื่องจากตับของทารกยังทําหน้าที่ไม่สมบูรณ์ทําให้การขับถ่ายสารสีเหลืองออกจากร่างกายไม่ดีเท่าที่ควร จึงทําให้สารสีเหลืองคังค้างในร่างกายมากขึ้นและจับตามผิวหนัง ทําให้มองเห็นผิวหนังทารกเป็ นสีเหลืองถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากทําให้เด็กมีอาการทางสมองจากภาวะตัวเหลืองได้(Kernicterus) และถ้าบิลิรูบินสูงเกิน 20 มิลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อาจมีผลต่อการได้ยินของเด็ก
อาการ
อาการตัวเหลือง
มักเห็นที่บริเวณใบหน้าก่อน ถ้ากดลูบบริเวณดั้งจมูกจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น ทารกคลอดก่อนกำหนดมีผิวบางทําให้ดูเหลืองมากกว่าเด็กโตที่มีระดับบิลิรูบินเท่ากน อาการตัวเหลืองจะเห็นชัดมากขึ้น ลามมาที่ลําตัวและแขนตามลําดับ (cephalocaudal progression)
ซีดหรือบวม
บได้ในเด็กที่มีการทําลายของเม็ดเลือดแดงอย่างมากมักเป็นอาการที่พบได้เฉพาะราย
hydroph fetallis จาก Rh incompatibility หรือซิฟิลิสแต่กำเนิด
ตับหรือม้ามโต
พบได้ใน hemolytic disease of the newborn หรือโรคติดเชื้อในครรภ์ เกิดขึ้นเนื่องจากการสร้างเม็ดเลือดแดงมาก เพื่อชดเชยส่วนที่ถูกทําลาย ไปใน ABO incompatibility จะมีการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงที่มักจะไม่รุนแรง ตับและม้ามจึงไม่ค่อยโต พวก galactosemia จะมีตับโตมาก แต่คลําม้ามไม่ได้
ซึม
ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากๆมักจะทําให้ทารกซึม ต้องแยกจากทารกติดเชื้อหรือเป็นgalactosemia
จุดเลือดตามตัวหรือมีรอยเลือดออกบนผิวหนัง
อาจพบเป็น petichii หรือ purpuric spoth ตามผิวหนัง พบในทารกที่มีการติดเชื้อในครรภ์หรือมีผิวหนังชํ้า หรือมี cephalhematoma หรือ subgaleal hematoma ที่เกิดจากการคลอด
บทบาทพยาบาล
การสอน พยาบาลผู้สอนต้องดูความใส่ใจและความพร้อมของมารดาและญาติผู้ดูแลเพื่อให้ได้รับความรู้ และมีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติ มีใจที่พร้อมและอยากปฏิบัติตาม หากจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีการใช้สื่อหรือแอปพลิ เคชันประกอบคำอธิบาย โดยมีประเด็นสำคัญ เช่น เนื้อหาที่สำคัญ ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม การประเมินและการแบ่งระดับ ความรุนแรง รวมทั้งแนวทางการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองเปิดโอกาสให้มารดาซักถามข้อมูลต่างๆพร้อมทั้ง ประเมินผลย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการรับรู้ข้อมูลของมารดาให้มีความเข้าใจตรงกัน
การสนับสนุน ส่งเสริมให้กําลังใจแก่มารดาและญาติผู้ดูแล เพื่อให้มีพลังในการดูแลทารกตัวเหลืองได้ อย่างต่อเนื่องและช่วยลดความวิตกกังวลแก่มารดาและครอบครัว
การชี้แนะ มีการติดตามการดูแลทารกที่ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟเพื่อให้ทารกตัวเหลืองได้รับการ ส่องไฟอย่างถูกต้องเปิดโอกาสให้บิดามารดาซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับภาวะทารกตัวเหลืองเพื่อลดความวิตกกังวล และให้คําชี้แนะ ส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาโดยเฉพาะหากได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ ควร กระตุ้นทารกให้ดูดนมมารดาทุก 2-3 ชั่วโมงและสนับสนุนให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมงโดยให้นม มารดาสม่ำเสมอ ช่วยให้ระดับบิลิรูบินในเลือดของทารกลดลงและหายจากภาวะตัวเหลืองเร็วขึ้น
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการประเมินสภาพทารกเป็นระยะรวมทั้งติดตามประเมิน อาการของทารกการดูแลทารกการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์ตลอดจนพฤติกรรมการดูแลทารกของผู้ดูแล
การจัดบรรยากาศ/สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดูแลทารกตัวเหลืองโดยสะท้อนให้เห็น กระบวนการ/วิธีการในการดูแลทารกเป็นลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ต่อเนื่องและเหมาะสม
เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดูแลทารกที่มีภาวะตัวเหลืองมาวางแผน เพื่อค้นหา สาเหตุและหาแนวทางในการดูแลทารกตัวเหลืองแต่ละรายให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ลด จำนวนวันนอนที่รักษาโดยการส่องไฟ ลดอัตราการเปลี่ยนถ่ายเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจาก การรักษาโดยการส่องไฟ สังเกตและนําแนวคิดในการดูแลทารกตัวเหลืองไปศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อต่อ ยอดในการให้ความรู้แก่มารดาและญาติเพื่อดูแลทารกตัวเหลืองให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป
มีการจัดระบบการตรวจวัดค่าความเข้มแสงของเครื่องส่องไฟให้ได้มาตรฐานกับการใช้งานและพัฒนา ระบบการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงกับทารกตัวเหลืองแต่ละราย
ส่งเสริมการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาขณะอยู่ในโรงพยาบาลและให้คำแนะนําวิธีการเลี้ยงทารกด้วยนม มารดาเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
เกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ บิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงผ่านกระบวนการที่ตับและขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะ โดยทั่วไปทารกจะมีอาการตัวเหลืองในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะมองเห็นว่าเด็กตัวเหลือง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1 เสี่ยงต่อสมองได้รับอันตรายจากภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง
ดูแลให้ได้รับการส่องไฟรักษาโดย
1.1 ถอดเสื้อผ้าออกและพลิกตัวให้อยูในท่าหงายหรือท่านอนคว่ำทุก 3 – 4 ชั่วโมง เพื่อให้ทารกได้รับแสงทั่วทั้งตัว
1.2 ไม่ทาแป้งน้ำมันหรือโลชั่น เพราะอาจมีส่วนผสมของสารบางอยางที่ทำให้เกิดการสะท้อนของแสง
1.3 ปิดตาด้วย Eyes pad เพื่อป้องกันการระคายเคืองของแสงต่อตา
1.4 ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟ ให้ทารกนอนตรงกลางของแผงไฟใน ระยะห่าง 30 -45 เซนติเมตร ก้นผ้าไว้รอบแสงไฟ
1.5 สังเกตลักษณะอุจจาระเพราะทารกอาจจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวสีเขียว
1.6 เจาะเลือดหาระดับบิลิรูบินในเลือด 4 ชั่วโมงหลังส่องไฟและทุก 24 ชั่วโมงจนกว่าระดับบิลิรูบินในเลือดปกติ
1.7 ตรวจร่างกายดูการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังว่ามีผดผื่นหรือผิวสีบรอนซ์หรือไม่
1.8 บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 4 ชั่งโมง และรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นตลอดเวลา
1.9 ได้รับการดูแลช่วยเหลือเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน
ดูแลให้ได้รับนมมารดาตามต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย
สังเกตอาการตัวเหลืองโดยใช้นิ้วกดบริเวณผิวหนังบริเวณจมูก หน้าผาก หน้าอก และหน้าแข้ง
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงภาวะที่มีการทำลายของเนื้อสมองได้แก่ ดูดนมไม่ดี ซึมลง ร้องเสียงแหลม หลังแอ่น ตัวเขียว ชักหรือกระตุก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการส่องไฟรักษา
เพื่อป้องกันอันตรายจากการได้รับแสงมากเกินไป และป้องกนอุบัติเหตุจากการแตกของแสงหลอดไฟโดยให้ทารกนอนส่องไฟในตู้อบหรือ crib ที่มีแผงกระจกกันหลอดไฟไว้
เพื่อป้องกนภาวะแทรกซ้อนของตา
2.1 ปิดตาด้วยแผนปิดตาที่ปราศจากเชื้อ ใช้ผ้าก๊อตที่มีแผนแผ่นทึบแสงกันอยู่ใน
2.2 ใช้ลาสเตอร์ปิด ให้แน่นไว้ที่ขมับทั้ง 2 ข้าง เพื่อไม่ให้เจ็บเวลาเปิดตาเด็ก เพื่อมาดูดนม มารดา
2.3 ทำความสะอาดตาด้วยสำลีชุบ 0.9% NSS อยางน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อทำความสะอาด ตา ต้องตรวจดูแรงกดที่เปลือกตา หรืออาการของการติดเชื้อเช่น ตาแดง มีขี้ตามากกว่าปกติ
2.4 ปิดไฟก่อนเปิดผ้าปิดตาทุกครั้ง
2.5 เปลี่ยนผ้าปิดตาทุก 8 ชั่วโมง หรือเมื่อสกปรก
เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงหรือตํ่าเกินไป
3.1 เปิดพัดลมระบายอากาศ
3.2 ให้ทารกนอนใน crib อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก 3
.3 วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
3.4 สังเกตอาการแสดงภาวะอุณหภูมิกายตํ่า เช่น เขียวตามปลายมือ ปลายเท้า ผิวหนังเย็น
3.5 สังเกตอาการแสดงภาวะอุณหภูมิกายสูง เช่น ผิวหน้าแดงและร้อน อัตราการหายใจ และการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ
เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำเนื่องจากทารกได้รับการส่องไฟรักษาจะมีการเพิ่มของ Isensible Water loss และอาจเสียน้ำจากการถ่ายเหลวจึงควรดูแลทารกดังนี้
4.1 ดูแลให้ทารกได้รับนมอยางเพียงพอ โดยกระตุ้นดูดนมทุก 2 ชั่วโมง หรือให้ตามความต้องการ
4.2 ชังน้ำหนักทารกในเวลาเดียวกน วันละครั้ง
4.3 สังเกตจำนวนครั้ง ลักษณะของอุจจาระ ปัสสาวะ
4.4 ประเมินอาการของการขาดน้ำ เช่น มีผิวหนังและริมฝี ปากแห้ง
เพื่อป้องกันผิวหนังเกิดผดผื่นจากการได้รับการส่องไฟรักษา
5.1 ตั้งแผงไฟให้อยูระดับพอดี สูงจากตัวทารกไม่ เกิน 45 ซม.
5.2 พลิกตัวทารกทุก 2 ชั่วโมง
5.3 เปลี่ยนผ้าเมื่อเปียกชื้นทุกครั้ง และทำความสะอาดทารกหลังขับถ่ายทุกครั้ง
5.4 สังเกตอาการผิวหนังว่ามีผื่นหรือไม่
นางสาววรารัตน์ วังทอง 621001079