Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคั่งของเลือดที่แผลฝีเย็บ (Hematoma) - Coggle Diagram
การคั่งของเลือดที่แผลฝีเย็บ (Hematoma)
หมายถึง ภาวะแทรกซ้อนจากการตัดแผลฝีเย็บ ถ้าเส้นเลือดถูกตัดขาดไม่ได้รับการซ่อมแซม แผลเย็บไม่ปิดสนิทดี เลือดจะออกมาคั่งอยู่ใต้เนื้อเยื่อ อาจจะมีปริมาณถึง250-500ซีซี
สาเหตุการมีเลือดคั่งใต้ผิวหนัง
1.มีการบาดเจ็บจากการคลอด อาจเกอดได้ทั้งรายที่คลอดปกติหรือคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ
2.เย็บซ่อมแซมบริเวณฝีเย็บที่ฉีกขาดหรือที่ทำEpisiotomyไม่ดี เย็บไม่ถึงก้นแผล
3.บีบคลึงมดลูกรุนแรง ทำให้เลือดคั่งที่Connective tissue ใต้เยื่อบุช่องท้องและในbroad ligament
การป้องกันการเกิดHematomaแผลฝีเย็บ
1.ตัดฝีเย็บเมื่อจำเป็น เพราะทำให้เสียเลือดมากขึ้น และมีโอกาสเกิด hematoma มากขึ้น หรือตัดฝีเย็บในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่นเมื่อศีรษะทารกลงมาตุงที่บริเวณปากช่องคลอด (head crown) หรือเห็นศีรษะทารกขนาด 4-5 ชม
2.การซ่อมแซมแผลฝีเย็บ ให้เย็บเข็มแรกเหนือยอดแผลในเยื่อบุช่องคลอดขึ้นไปประมาณ 0.5 ซม.เพื่อผูกมัดเส้นเลือดที่ถูกตัดขาดและหดสั้นขึ้นข้างบน และการตักเข็มเย็บแต่ละครั้งต้องให้ลึกถึงก้นแผล และไม่ให้เกิดช่องว่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งของเลือดในกล้ามเนื้อ
การพยาบาล
1.ตรวจประเมินแผลฝีเย็บตามหลักREEDA
Redness : แดง
Edema : บวม
Ecchymosis : ห้อเลือด
Discharge : สิ่งคัดหลั่งไหลออก
Approximation : การชิดของขอบแผล
VIS เพื่อประเมินภาวะ Shock
3.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
จัดท่านั่ง/นอน ป้องกันการกดทับ
บริเวณที่มี Hematoma
5.ประคบความเย็น วางห่อน้ำแข็งบริเวณฝีเย็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่มีการฉีกขาดถึงทวารหนักน้ำแข็งจะช่วยลดอาการบวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดการไม่สุขสบายเนื่องจากจะมีอาการชา
6.การแช่ก้น ในรายที่มีอาการปวด ความร้อนที่ชื้นช่วยในการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ส่งเสริมการหายของแผล และช่วยให้เนื้อเยื่อหย่อนตัว ส่งเสริมให่สุขสบายและลดบวม
7.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง มีกากใย และดื่มน้ำให้เพียงพอ การรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อส่งเสรมิการหายของแผลและป้องกันอาการท้องผูก แนะนำการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพื่อส่งเสริมปัจจัยการสร้างเม็ดเลือดแดง
8.ดูแลให้รับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อบรรเทาปวดและป้องกันการติดเชื้อ
9.ถ้าก้อนเลือดมีขนาดโตขึ้น
ปวดแผลมาก รายงานแพทย์
ภาวะแทรกซ้อน
Postpartum infection : ติดเชื้อหลังคลอด
Hypovolemic shock : ช็อคจากการเสียเลือด
Anemia : ภาวะโลหิตจาง
Sepsis : ติดเชื้อในกระแสเลือด
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติ
เอามือสัมผัขอบแผสรอบๆแผล รู้สึกปวดมาก
ปวดผีเย็บร้าวไปที่ทวารหนัก
ปวดหน่วงลงกัน
จากการตรวจร่างกาย
ฝึเย็บบวม มีสีม่วงคล้ำ
คลำได้ก้อนไต้ผิวหนัง บริเวณใต้ฝีเย็บ
การรักษา
1.ขนาดของก้อนเลือดน้อยกว่า3ซม. อาจดูดซึมหายไปเอง มักไม่ต้องทำอะไร ให้รักษาตามอาการและประคบเย็น ให้ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ถ้าปัสสาวะเองไม่ได้ ควรใส่สายสวนปัสสาวะไว้
2.ขนาดก้อนเลือดมากกว่า3ซม.ต้องกรีดขูดเอาก้อนเลือดออก ถ้าขนาดเกิน10 ชม และโตเร็ว ต้องสงสัยว่าอาจจะมีหลอดเลือดแดงฉีกขาดด้วยให้หาตำแหน่งจุดที่เลือดออก หรือหาตำแหน่งหลอดเลือดที่ฉีกขาดแล้วทำผูกหรือการเย็บซ่อมแซม หรือบางรายอาจใส่ท่อระบายไว้ ส่วนรายที่มีการคั่งของเลือดในอุ้งเชิงกรานจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัดทางหน้าท้อง
3.กรณีมีก้อนเลือดคั่งใต้แผลผีเย็บที่มีขนาดใหญ่ การรักษาทำได้โดยการตัดไหมที่เย็บไว้เพื่อเอาเลือดที่คั่งอยู่ออก ค้นหาตำแหน่ง ของหลอดเลือดที่ฉีกขาดและเย็บซ่อมแซมจุดที่เลือดออกก่อนจะเย็บปิดแผลฝีเย็บ