Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปแบบการสอนแบบ 5E หรือการสืบเสาะ, การสอนด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ (Project…
รูปแบบการสอนแบบ 5E หรือการสืบเสาะ
ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
Ask a question กำหนดปัญหา
Hypothesis ตั้งสมมติฐาน
Experiment ตรวจสอบสมมติฐาน
Analyze วิเคราะห์ข้อมูล
Conclusion สรุปผลการทดลอง
รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง
กระตุ้นความสนใจของนักเรียนด้วยการตั้งคำถาม
ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) กำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐานกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ
นักเรียนเรียนรู้จากปรวบการณ์ตรง และการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างแนวคิด
3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) นำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้วิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆเช่น บรรยายสรุป
สะท้อนความเข้าใจ อธิบายประสบการณ์ ข้อมูลเพื่อสร้างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ
ทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งในเชิงลึกภาพว่างในบริบทที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมในบทเรียน
ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ
ประเมินผู้เรียนทั้งระหว่างเรียนและประเมินรวม
ระดับของการสืบสอบหาความรู้ได้
การสืบสอบหาความรู้แบบยืนยัน (Confirmed inquiry) เป็นการสืบสอบหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ตรวจสอบความรู้
การสืบสอบหาความรู้แบบนำทาง (Directed inquiry)
เป็นการสืบสอบหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
การสืบสอบหาความรู้แบบชี้แนะแนวทาง (Guided inquiry)
เป็นการสืบสอบหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองโดยและผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการสำรวจตรวจสอบ
การสืบสอบหาความรู้แบบเปิด (Open inquiry)
เป็นการสืบสอบหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนมีอิสระในการคิด เป็นผู้กำหนดปัญหาออกแบบและปฏิบัติการสำรวจตรวจสอบด้วยตนเอง
การสอนด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ (Project-based Learning)
ลักษณะสำคัญของโครงงาน
เป็นวิธีการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้งลุ่มลึกด้วยวิธีการ มีระบบ เป็นขั้นตอน
และต่อเนื่อง
เป็นวิธีการเรียนรู้ที่แสวงหาความรู้
และสรุปความรู้ด้วยตนเอง
เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ (Construct) ด้วยตนเอง
เป็นวิธีการที่นำเสนอผลการศึกษาค้าคว้าด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดย กระบวนการและผลงานที่พบ
เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจใคร่รู้คำตอบของตัวผู้เรียนเอง
สำหรับข้อค้นพบ สิ่งที่ค้นพบสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นการหา คำตอบข้อสงสัยโดยใช้ทักษะการเรียนรู้และปัญญาหลาย ๆ ด้าน
เป็นวิธีการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้ได้ที่กลมกลืนกัน
ประเภทของโครงงาน
โครงงานสำรวจ
เป็นโครงงานที่ศึกษาโดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ภายใต้ประเด็นหัวข้อที่ศึกษา
โครงงานศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
เป็นโครงงานที่ศึกษาและค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจและต้องการรู้เรื่องราวรายละเอียด อย่างลึกซึ้ง
โครงงานสิ่งประดิษฐ์
เป็นโครงงานที่สร้างหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ โดยนำองค์ความรู้ที่มีอยู่เป็นพื้นฐาน มาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์
โครงงานทฤษฎี
เป็นโครงงานที่สร้างทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สนใจ หรือเป็นการขยายแนวคิด หรือพิสูจน์ทฤษฎีเดิมเพื่อหาข้อเท็จจริง
กระบวนการของโครงงาน
1.เลือกหัวข้อโครงงาน
2.การรวบรวมข้อมูล
3.การวางแผน
4.การลงมือปฏิบัติโครงงาน
5.การสรุปผล
6.การประเมินผล
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้เรียนในการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน
1 เลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจต้องการศึกษาหรือกำหนดปัญหาที่ต้องการคำตอบ
2 พัฒนาทิศทางและแนวทางงานดำเนินการโครงงาน
3 ลงมือปฏิบัติโครงงาน
4 เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความก้าวหน้าของโครงงาน
5 ตัดสินความก้าวหน้าสรุปและนำเสนอผลของโครงงาน
ขั้นตอนการทำโครงงานกับการสอนแบบ 5 E
การระบุปัญหา
การตั้งสมมติฐาน
การออกแบบและการทดลอง
การวิเคราะห์และสื่อความหมาย
นำความรู้ที่สร้างไปใช้เผยแพร่และ
สื่อความหมาย
การแปรผลและสร้างคำอธิบาย(ลงข้อสรุป คือ
ความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ และวิธีการใหม่)
ประเมินกระบวนการปฏิบัติและผลงาน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
นางสาวกฤษฎาภรณ์ ทองอินทร์ รหัสนักศึกษา 61031530101