Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (preterm labour) - Coggle Diagram
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
(preterm labour)
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (preterm labour) หมายถึง ภาวะมดลูกมีการหดรัดตัวอย่าง สม่ำเสมอ (regular uterine contraction) ซึ่งมีผลทำให้ ปากมดลูกเปิดขยาย(cervicalchange) ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
3.ปวดหลังหรือปวดเอว ปวดหน่วงท้อง ปวดหน่วงลง ช่องคลอดหรืออาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย
4.มีสิ่งคัดหลั่ง ออกทางช่องคลอด เช่น มูก มูกเลือด น้ำเดิน เป็นต้น
2.มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างสม่ำเสมอจนทำให้ปากมดลูกมีการบางตัวและเปิดขยายตัว
1.เจ็บครรภ์ถี่ขึ้น
สาเหตุของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
2.มีการติดเชื้อนอกมดลูก ความผิดปกติของมดลูก
3.เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อนหรือสตรีตั้งครรภ์มีการใช้สารเสพติด
1.สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางด้านอายุรศาสตร์ สูติศาสตร์
4.น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อย BMI< 18.5 kg/m2
5.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์เช่น ความผิดปกติของรก มีภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์แฝดน้ำหรือ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และปัจจัยอีกด้านหนึ่ง คือ ด้านทารกในครรภ์เช่น ทารกในครรภ์มีความผิดปกติ ภาวะครรภ์แฝดสองหรือมากกว่า
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
ผลกระทบต่อทารก
ปัญหาการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย: ทารกเกิดก่อนกำหนดสูญเสียความร้อนในร่างกายได้ง่าย
ระบบหายใจ :ทารกอายุครรภ์<34สัปดาห์มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวในปอด (Respiratory distress syndrome, RDS) เนื่องจากปอดยังไม่สมบูรณ์
ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต : ทารกเกิดก่อนกำหนดเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหรือช๊อคได้ง่าย
ระบบเลือด : ระดับฮีโมโกลบินหรือฮีมาโตคริดเมื่อแรกเกิดมักจะต่ำกว่าทารกครบกำหนด ดังนั้น
ในปัจจุบันสูติแพทย์จึงให้ทารกนอนอยู่ระดับเดียวกับมารดาและไม่รีบตัดสายสะดือจนกว่าชีพจรที่สายสะดือ หยุดหรือรอประมาณ 30-60 วินาที จึงค่อยผูกและตัดสายสะดือ(delayedcordclamping)
ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ : ทารกตัวเล็กมีกล้ามเนื้อน้อย กำลังกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทารกที่มี ปัญหาหายใจลำบากต้องใช้กล้ามเนื้อทรวงอกและกระบังลมมาก จึงหมดแรงและหยุดหายใจได้ง่าย ระบบ ประสาทส่วนกลางก็ยังไม่สมบูรณ์ ยิ่งอายุครรภ์น้อย เซลล์สมองและใยประสาทยังมีน้อย
ระบบทางเดินอาหารและการให้สารอาหาร: อายุครรภ์ต่ำกว่า34สัปดาห์หรืออาการทารกยังไม่เสถียรหรือทารกยังไม่ตื่นตัวพอ ควรให้ทางสาย ให้นมเพราะว่าทารกเหล่านี้ยังมีกล้ามเนื้อหน้าท้องน้อยและพังผืดผนังหน้าท้อง(abdominal fascia) ไม่แข็งแรง
ระบบภูมิคุ้มกันโรค (Immunity) :ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
ผลกระทบต่อมารดา
ได้รับผลกระทบจากการนอนบนเตียงและถูกจำกัดกิจกรรมเป็นเวลานาน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เช่น ท้องผูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลด วิตกกังวล หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า บทบาทและแบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงจากปกติ
เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารก
การรักษา
1.การประเมินหาสาเหตุ
ตรวจร่างกาย
ตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง
การซักประวัติ
2.ประเมินอายุครรภ์และสภาวะของทารกในครรภ์เพื่อการวางแผนการดูแลรักษา
4.การให้ยากระตุ้นการเจริญของปอดทารก
เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone)
5.การให้ยาปฏิชีวนะในระยะคลอด กรณีไม่สามารถยับยั้งการคลอดได้
แอมพิซิลลิน (Ampicillin)
คลินดามัยซิน (Clindamycin)
อีริโทรมัยซิน (Erythromycin)
3.ให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic drugs) โดยให้ยากลุ่ม beta adrenergic receptor agonists เพื่อยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ออกไป เพื่อให้สเตียรอยด์ออกฤทธิ์ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการเสียชีวิตของทารก โดยลดภาวะหายใจลำบากและภาวะเลือดออกในสมอง
Magnesium sulfate
Terbutaline
Bricanyl
Nifedipine
การวินิจฉัย
1 การซักประวัติ พบลักษณะเหมือนการเจ็บครรภ์จริง ซึ่งต้องแยกจากการเจ็บครรภ์เตือนและการซ้อมหดรัดตัวของมดลูก
2 การตรวจร่างกาย พบมดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอ ร่วมกับมีการเปิดของปากมดลูกตั้งแต่ 1 cm หรือปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80
ภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด (preterm birth) หมายถึง การคลอดที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ ขึ้นไปจนถึงก่อนอายุครรภ์37สัปดาห์ สำหรับประเทศไทย โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยนิยาม การคลอดก่อนกำหนด หมายถึง การคลอดทารกตั้งแต่ อายุครรภ์24สัปดาห์ถึง 36 สัปดาห์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ด้านมารดา
1 มารดาวิตกกังวลว่าทารกในครรภ์จะได้รับอันตรายจากการคลอดก่อนกำหนด
2 มารดาและทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
3 มารดาเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโพรงมดถูกเนื่องจากมีภาวะถุงน้ำแตกก่อนเจ็บครรภ์
4 มารดาเสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติเนื่องจาก เนื้อเยื่อถูกทำลาย
5 มารดาขาดความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวเพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติ
ด้านทารก
3 ทารกมีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังเจริญสมบูรณ์ไม่เต็มที่
4 ทารกมีโอกาสได้รับสารอาหาร น้ำ วิตามินและแร่ธาตุ ไม่เพียงพอเนื่องจากระบบทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์
2 ทารกมีโอกาสเกิดการติดเชื้อระบบต่าง ๆในร่างกายเนื่องจากระบบภูมิต้านทานยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
5 เสี่ยงต่อการพัฒนาการล่าช้าเนื่องจากคลอดก่อนกำหนด
1 ทารกมีโอกาสเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว(Respiratory failure) เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของระบบการหายใจ