Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา เพศหญิง อายุ 23 ปี มาด้วยอาการปวดท้องน้อย 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล…
กรณีศึกษา เพศหญิง อายุ 23 ปี
มาด้วยอาการปวดท้องน้อย
3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
อาการ
อาการสอดคล้อง
ปวดท้องน้อย ปวดแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะกะปริบ กะปรอยปัสสาวะสีเหลืองขุ่น ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
อาการที่ขัดแย้ง
ไม่มีไข้ ปัสสาวะไม่มีเลือดปน
อาการตามทฤษฎี
รู้สึกอยากปัสสาวะอย่างปัจจุบันทันด่วนและเวลาถ่ายปัสสาวะจะมีอาการปวดหรือรู้สึกแสบร้อน และหากมีการติดเชื้ออย่างรุนแรงจะมีปีสสาวะเพียงเล็กน้อยและมักมีเลือดปนออกมาด้วย อาจมีไข้ต่ำๆ มีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะลำบากแสบขัด ปัสสาวะบ่อยแต่ออกกะปริบกะปรอย ปีสสาวะขุ่น และมีกลิ่นเหม็น
การวินิจฉัย
ตรวจร่างกายโดยการคลำและตรวจ
หน้าท้องจะกดเจ็บบริเวณท้องน้อย
พบ Abdomen tenderness on the lower abdomen pain score 4.
จากประวัติ การปัสสาวะผิดปกติ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past history) 5 เดือนก่อนมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด แสบเวลาถ่ายปัสสาวะ รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ปวดท้องน้อยดื่มน้ำน้อย 3-4 แก้วต่อวัน ดื่มชาวันละ 1 แก้ว
ชอบกลั้นปัสสาวะ
**ตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียอาจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ Ultrasound ส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
consultแพทย์ ส่งตรวจ UA, CBC
การรักษา
ให้ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตรต่อวัน ไม่กลั้นปัสสาวะ ถ้ารู้สึกปวดปัสสาวะต้องบังคับตัวเองให้เข้าห้องน้ำทันที หรือฝึกขับถ่ายปัสสาวะให้เป็นเวลาทุก 2-3 ชั่วโมง รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศด้วยการทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
paracetamol 500 mg 1 tab oral prn ทุก 4-6 hrs. และให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Co-trimoxazole 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หรือ Amoxicillin 500 มก. ทุก 8 ชั่วโมง หรือ Norfloxacin 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 2-3 วัน อาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง ควรกลับมาโรงพยาบาล
โรคไส้ติ่งอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute appendicitis)
อาการ
อาการและอาการแสดงตามทฤษฎี
ปวดท้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บริเวณท้องน้อยด้านขวาส่วนล่าง กดเจ็บที่ตำแหน่งท้องน้อยด้านขวาระหว่างสะตือกับขอบเชิงกราน เรียกว่า จุดแมคเบอเนย์ (McBurney's point) คือ จุดที่อยู่ประมาณ 1/3 จาก Iliac creast ไปยังสะดือ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย มีอาการกดเจ็บเมื่อกดมือลงบนหน้าท้องแล้วปล่อยมือออกทันที (Rebound tenderness) มีไข้ต่ำ ๆ หรือระดับปานกลาง จนถึงมีไข้สูง
อาการที่สอดคล้อง
ปวดท้องน้อย
อาการที่ขัดเเย้ง
ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่มีไข้
การวินิจฉัย
จากการประวัติ
จะมีอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอาการสำคัญ โดยเริ่มด้วยอาการจุกแน่น มวนท้องรอบๆ สะดือ บอกตำแหน่งได้ไม่แน่นอน อาจมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือคลื่นไส้ อาเจียน กรณีศึกษาไม่มีอาการดังกล่าว
ตรวจร่างกาย
ตามทฤษฎี
Rebound tenderness และกดเจ็บ (Tenderness)บริเวณท้องน้อยด้านขวาส่วนล่าง มีไข้ต่ำ ๆ ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ฟังเสียงลำไส้ทำงานน้อยลง
กรณีศึกษา
ปวดท้องน้อย Tenderness, no rebound tenderness ไม่มีไข้ อุณหภูมิ 37.4 องศาเซลเซียส Bowel soun 7 bpm.
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) พบเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) พบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย
การรักษา
โดยการผ่าตัดไส้ติ่งที่อักเสบออก (Appendectomy โดยเร็วที่สุดไม่เกิน 24 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการแตกของไส้ติ่ง
ภาวะอักเสบของอุ้งเชิงกราน
(Pelvic infammatory disease)
อาการ
อาการและอาการแสดงตามทฤษฎี
มีไข้ ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ มีตกขาวหรือรอบเดือนผิดปกติ ปวดและกดเจ็บบริเวณท้องน้อย
อาการที่สอดคล้อง
ปวดท้องน้อย, กดเจ็บบริเวณท้องน้อย, มีตกขาว
อาการที่ขัดเเย้ง
ไม่มีไข้ ไม่ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดเวลาปัสสาวะไม่สุด รอบเดือนปกติ
การวินิจฉัย
จากการประวัติ
ประวัติเคยมีการสัมผัสหรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย เมื่อ1สัปดาห์ก่อน
ตรวจร่างกาย
ตรวจบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อหารอยโรคหรือภาวะแทรกซ้อน
ตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
จากการส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูลักษณะหนองจากท่อปัสสาวะตกขาว สารคัดหลั่งจากรอยโรคมาย้อมสีซึ่งจะพบสิ่งผิดปกติของเซลล์หรือพบเม็ดเลือดขาวหรือติดสีต่างๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ และนำมาเพาะแยกเชื้อ
การรักษา
ให้ Cefoxitin ฉีดเข้ากล้าม 2 กรัมครั้งเดียวหรือ Cefotetan ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 2 กรัมครั้งเดียว ร่วมกับ Probenecidรับประทาน 1 กรัมครั้งเดียว ร่วมกับ Doxycycline รับประทาน 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง จนครบ 14 วัน หรือให้ Ceftriaxone ฉีดเข้ากล้าม 250 มิลลิกรัมครั้งเดียว ร่วมกับรับประทาน Doxycycline 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง จนครบ 14 วัน หรือให้ Ofloxacin รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม ร่วมกับMetronidazole รับประทาน 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ CIindamycin รับประทาน 450 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 10-14 วัน หรือ Clindamycin ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งละ 900 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ร่วมกับ Gentamycin 1.5-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง จน กระทั่งผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ตามด้วยDoxycycline รับประทาน 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง จนครบ 14 วัน