Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คาร์โบไฮเดรต - Coggle Diagram
การย่อยคาร์โบไฮเดรส
เริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ปาก ฟันจะทำหน้าที่เคี้ยวบดอาหารให้มีขนาดเล็กลง และในน้ำลายมีเอนไซม์ที่มีชท่อว่า ไทยาลิน (ptyalin) หรือ ซาลิวารี อะไมเลส (salivary amylase) หรือ แอลฟาอะไมเลส (a-amylase)
สามารถย่อยแป้งให้มีขนาดเล็กลงเป็นเดกซตริน (dextrin) แต่การย่อยอาหารในปากเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะอาหารอยู่ในปากช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น จากนั้นอาหาราจะถูกกลืนผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหาร แต่ที่กระเพาะอาหารนี่ไม่มีเอนไซม์ที่ย่อยคาร์โบไฮเดรต
ดังนั้นการย่อยอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตจึงหยุดไปชั่วคราว จะเริ่มย่อยอีกครั้งเมื่ออาหารผ่านเข้าไปในลำไส้เล็กซึ่งมีสภาพเป็นด่าง โดยน้ำย่อยจากตับอ่อนและจากผนังลำไส้เล็ก
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรส
คาร์โบไฮเดรสที่อยู่ในรูปมอโนแซ็กคาไรด์เท่านั้น ที่จะถูกดูดซึมผ่านเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดได้กลไกการดูดซึมมอโนแซ็กคาไรด์ผ่านเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เล็กเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ
-
-
Metabolism Pathway
Glycolysis Pathway
-
ไกลโคไลซิส เป็นกระบวนการสลายกลูโคสที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายขั้นตอนให้เกิดเป็นไพรูเวต (pyruvate) โดยจะได้พลังงานทั้งในรูป ATP และ NADH ซึ่งเก็บพลังงานเคมีไว้ในตัว
กระบวนการนี้เกิดขึ้นกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยเกิดขึ้นในส่วนไซโตซอล เป็นปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน คือเกิดได้ไม่ว่าจะมีออกซิเจนหรือไม่มีก็ตาม
แต่ไพรูเวตที่เกิดขึ้นนั้นสามารถถูกนำไปใช้ต่อได้ทั้งในแบบปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจนโดยผ่านทางวัฎจักรเครปส์ และระบบถ่ายทอดอิเล็กตรอนหรือไม่ใช้ออกซิเจน
โดยเปลี่ยนเอทานอล (ethanol) ในกระบวนการหมักแอลกอฮอล์ (alcohol fermentation) หรือเปลี่ยนเป็นแลกเตด (lactate) ดังนั้นเกิดขึ้นในการทำงานของกล้ามเนื้อลายขณะที่กล้ามเนื้อทำงานหนัก
Krebs' cycle
วัฏจักรกรดซิตริกหรือวัฏจักรเครบส์ (Krebs' cycle) หรือวัฏจักรกรดไตรคาร์บอกซิลิก เป็นวัฏจักรกลางในการผลิต ATP รวมทั้ง NADH+ H+ และ FADH2 ที่จะเข้าสู่ปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันเพื่อสร้าง ATP ต่อไป
เกิดที่บริเวณเมทริกซ์ซึ่งเป็นของเหลวในไมโทคอนเดรีย โดยมีการสลายแอซิทิลโคเอนไซม์ เอ ซึ่งจะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเก็บพลังงานจากปฏิกิริยาดังกล่าวไว้ในรูปของ NADH FADH2 และ ATP
การย่อยสลายสารอาหารใดๆและน้ำต้องเข้าวัฏจักรนี้เสมอ เป็นขั้นตอนการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในการหายใจระดับเซลล์
-
Gluconeogenesis
-
เป็นกระบวนการสร้างกลูโคสขึ้นมาใหม่ จากสารประกอบที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ แลกเทต กลีเซอรอล และกรดอะมิโนบางชนิด
เกิดขึ้นในภาวะที่ร่างกายต้องการกลูโคสและได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ เนื่องจากเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น สมอง ระบบประสาท ไต และเซลล์เม็ดเลือดแดง ต้องการกลูโคสเป็นแหล่งหลังงานสำคัญ
-
-
-
-
-
-
Glycogen Metabolism
-
-
-
-
การสังเคราะห์ไกลโคเจน
ไกลโคเจนในตับ
-
เป็นต้นกำเนิดของกลูโคสที่ป้อนให้กระแสเลือดเพื่อนำไปใช้ในเนื้อเยื่อต่างๆในระหว่างมื้ออาหารแต่ละมื้อและในภาวะอดอาหาร (12-15 ชั่งโมง)
ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ
เป็นแหล่งพลังงานในการทำงานของกล้ามเนื้อ ทั้งในสภาพปกติและเวลาที่ต้องใช้พลังงานมากๆ อย่างปัจจุบันทันด่วน เช่น เมื่อเกิดอาการตกใจ
-
Glucose in the blood
Hypoglycemia
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างผิดปกติและเป็นอันตราย มักทำให้เกิดอาการสั่นและอ่อนเพลีย ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวนั้นมีอยู่สูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
-
Hyperglycemia
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือการที่ร่างกายเกิดภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าปกติคือ มากกว่า 99 mg/dl หลังอดอาหาร 8 ชั่งโมง
และ เกิน 140 mg/dl หลังมื้ออาหาร 2 ชั่งโมง หากค่าน้ำตาลสูงนั่นก็หมายความว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจจะเกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้ ผู้ป่วยเบาหวานร่างกายจะผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ และนอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมอินซูลินได้อย่างเหมาะสม
-
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งผลิตจากตับอ่อน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุของการเกิดโรค
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย โดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด (ร้อยละ 95 ของโรคเบาหวานทั้งหมด) เกิดจากภาวะดื้อของอินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรือยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
-