Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย, นางสาวบุญทิตา ช่วยสงค์ 61104824 -…
การบริหารจัดการของหัวหน้าหอผู้ป่วย
หัวหน้าหอผู้ป่วย
บทบาท หน้าที่
ด้านบริหารการพยาบาล
ด้านการวางแผนการบริหารการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติ ลักษณะงานทุกกิจกรรม ตั้งแต่การรับนโยบายจากผู้บริหาร สื่อสารนโยบาย และร่วมกับทีมงานในการกำหนดแผนปฏิบัติงานของหอผู้ป่วย
ด้านการจัดองค์กร หัวหน้าหอผู้ป่วยมีการปฏิบัติกิจกรรม การจัดแบ่งงานให้เจ้าหน้าที่พยาบาลในหอผู้ป่วยร่วมรับผิดชอบเกี่ยวกับการเป็นกรรมการต่างๆ
ด้านการจัดบุคลากร หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจในทุกกิจกรรม โดยมีการวางแผนด้านอัตรากำลังประจำวัน และร่วมปรึกษาหารือกับผู้บริหารทางการพยาบาลในระดับที่สูงขึ้นไป ในกรณีที่ขาดอัตรากำลัง รวมทั้งจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาล
ด้านการอำนวยการ หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจด้านการอำนวยการเกือบทุกกิจกรรม ได้แก่การมอบหมายงานประจำวัน และหน้าที่พิเศษอื่นๆ ซึ่งการมอบหมายงานแก่บุคลากร ตามความสามารถ และความเหมาะสมนี้เป็นบทบาทของผู้บริหารระดับต้น
ด้านการควบคุม หัวหน้าหอผู้ป่วยปฏิบัติภารกิจการบริหารจัดการในด้านการควบคุม ทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานทุกด้านของเจ้าหน้าที่พยาบาล
ด้านบริการพยาบาล
กำกับดูแลการให้บริการพยาบาลของบุคลากรทางการพยาบาล และให้บริการพยาบาลแก่ผู้ป่วยและญาติ การร่วมสร้างมาตรฐาน คู่มือ และแนวปฏิบัติในการให้บริการพยาบาล รวมถึงการปฏิบัติการพยาบาล อย่างถูกต้องเป็นองค์รวม การควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติ
ด้านวิชาการ
สอน และแนะนำผู้ป่วย นักศึกษา และบุคลากรทางการพยาบาล การถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการ และประสบการณ์การ สอน และแนะนำให้ความรู้ทางด้านการพยาบาลการ และให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่พยาบาล ทั้งนี้เนื่องจากหัวหน้าหอผู้ป่วยยังต้องเข้าร่วมประชุมด้านวิชาการกับฝ่ายการพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆรวมทั้งให้ความร่วมมือ และอำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
ทักษะการบริหาร
การประสานงาน
ลักษณะของการประสานงาน
การประสานภายในองค์กร เช่น ประสานตามสายบังคับบัญชา ตามหน้าที่รับผิดชอบตามลักษณะงาน
การประสานงานภายนอกองค์กร เช่น ประสานงานเพื่อตกลงทํางานวิชาการ ทําวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบัน การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วยจะได้ดูแลอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี
การทํางานต้องมีแผนงานที่ดี มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แน่นอน
การเข้าใจที่ตรงกันและพร้อมที่จะช่วยเหลือกัน
มีการติดต่อสื่อสารที่ดีตลอดจนการประชุมพบปะหารือกันอยู่เสมอ
ผู้บริหารควรเห็นความสําคัญของการประสานงานและเป็นผู้มองการณ์ไกล
ประโยชน์ของการประสานงาน
ทําให้การดําเนินงานไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้นและมีบรรยากาศการทํางานแบบมีส่วนร่วม
ช่วยให้ทุกคนเข้าใจนโยบาย เป้าหมายที่ตรงกันเพื่อจะได้มีทิศทางในการทํางาน
ประหยัดเวลา วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณในการดําเนินงาน
ส่งเสริมการทํางานร่วมกัน การทํางานเป็นทีม ลดข้อขัดแย้งแต่ส่งเสริมความสามัคคีต่อกัน
ขจัดปัญหาที่ซับซ้อนและเหลื่อมล้ำกัน
สร้างขวัญและกําลังใจในการทํางานหากไม่มีความขัดแย้งกันในองค์กร
การแก้ปัญหา (Problem solving)
ผลที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างระหว่างสถานการณ์ที่เป็นอยู่กับสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังที่ต้องการให้เป็น และการแก้ไขปัญหาคือการที่เจ้าของปัญหามีความรู้สึกมีความต้องการที่จะแก้ไขเหตุการณ์หรือสถานการณ์ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
กระบวนการแก้ปัญหา
การระบุปัญหา ต้องระบุให้แน่ชัดก่อนจึงจะแก้ปัญหาเพื่อจะได้ตรงตามความต้องการ
การวิเคราะห์และการค้นหาสาเหตุของปัญหา ซึ่งเป็นสิงที่ต้องให้เวลากับส่วนนี้ เพื่อจะได้พบกับสาเหตุที่แท้จริงโดยละเอียด
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหา จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาเหล่านั้นเพียงใด เรื่องใดบ้าง และต้องการผลลัพธ์ออกมาอย่างไร
การค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา ผู้นำจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ อาจใช้วิธีการระดมสมอง จากผู้ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด
การเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียเกี่ยวกับ เวลา งบประมาณที่ใช้
การดำเนินการแก้ปัญหา ควรแก้ไขตามทางเลือกที่กำหนดไว้ โดยต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ให้เพียงพอ
การประเมินผลการดำเนินงาน ควรทำทุกขั้นตอนการดำเนินงาน จนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการ
การเจรจาต่อรอง
ลักษณะและรูปแบบในการเจรจาต่อรอง
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการร่วมมือ (Win-Win)
การเจรจาที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกัน (Win-Lose)
ขั้นตอนของการเจรจาต่อรอง
1) ขั้นเตรียมการเจรจา
2) ขั้นตอนในการดำเนินการเจรจา
3) ขั้นบังคับใช้ผลของการเจรจาให้ปฏิบัติได้จริง
แรงจูงใจ
กระบวนการจูงใจ
1.ความต้องการ(Needs) ได้แก่ ความต้องการทางกาย จิตใจและสังคมเกิดเมื่อมีความไม่สมดุลทางสรีระหรือจิตใจ
2.แรงขับ (Drives) เป็นตัวเสริมกำลังให้ไปสู่เป้าหมาย
3.เป้าหมาย (goals) เป็นจุดปลายทาง
องค์ประกอบของแรงจูงใจ
แรงจูงใจภายใน เป็นแรงจูงใจภายในที่บุคคลต้องการทำงานเป็นความต้องการที่มาด้วยความปรารถนาของตนเอง เป็นความรู้สึกส่วนตัวที่ต้องการทำงานนั้นนั้นให้เสร็จสมบูรณ์ด้วยตนเอง คนที่มีแรงจูงใจภายในจะมีความมุ่งมั่นทำงานของตนเองโดยไม่มีการรีรอหรือไม่ต้องมีสิ่งมาเชิญชวน
แรงจูงใจภายนอก เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นด้วยสิ่งเร้าภายนอกเช่นเงินเดือน โบนัส โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ทฤษฎีการจูงใจของ Herzberg
ปัจจัยอนามัย เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พอใจในงานที่ทำ เช่น นโยบายการบริหาร การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน เป็นต้น
ปัจจัยจูงใจ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจที่จะทำงาน เช่น ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับ ลักษณะของงาน โอกาสเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
ทฤษฎีความต้องการของ Maslow
บุคคลคือสิ่งที่มีชีวิตที่มีความต้องการซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ความต้องการบุคคลจะถูกเรียงลำดับความสำคัญเป็นลำดับชั้นของความต้องการพื้นฐาน
ไปจนถึงความต้องการความสำเร็จ
บุคคลจะก้าวสู่ความต้องการระดับต่อไปต่อเมื่อความต้องการระดับต่ำลงมาได้ถูกตอบสนองอย่างดีแล้ว
หลักการบริหารที่จะจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม
พูดแจ่มแจ้ง ชัดเจน คือชี้แจงให้เข้าใจชัดเจน มองเห็นเหตุผล ทำให้ผู้ร่วมงานไม่สับสน สงสัย
พูดจูงใจ คือพูดให้เห็นคุณค่าและความสำคัญจนเกิความซาบซึ้งยอมรับ
อยากลงมือทำหรือยินดีที่จะปฏิบัติตาม
พูดเร้าใจ คือพูดปลุกใจให้เกิดความมั่นใจและมีกำลังใจที่กล้าหาญ กระตือรือร้น
ที่จะทำให้สำเร็จโดยไม่หวั่นไหว กลัวต่ออุปสรรค และความยากลำบาก
พูดให้ร่าเริง คือทำให้เกิดบรรยากาศแห่งเมตตาไมตรีมีความหวังดีและเกิดความรู้สึกที่สดชื่นร่าเริง
เบิกบาน ผ่องใส ชื่นใจในผลดีและหนทางที่สำเร็จ
การตัดสินใจ
รูปแบบของการตัดสินใจ
การตัดสินใจที่ได้เตรียมการล่วงหน้าผู้บริหารสามารถใช้เวลาในการคิดไตร่ตรองได้
การตัดสินใจที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจในทันทีทันใด
ลักษณะของการตัดสินใจ
การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย (Policy Decision)
การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ (Management Decision)
การตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (Operational Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติงานประจําในหน้าที่ของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายหรือเป้าหมายขององค์กร โดยใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
Normative Theory
คำนึงถึงแนวทางการตัดสินใจ น่าจะเป็นหรือควรจะเป็นอย่างไร จึงสามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการตัดสินใจได้ ซึ่งการพิจารณาว่าแนวทางใดเป็นแนวทางที่น่าจะเป็น หรือควรจะเป็นย่อมขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของบุคคลแต่ละคน
Descriptive Theory
การตัดสินใจโดยทฤษฎีนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ความรู้สึกนึกคิดใด หรือค่านิยมส่วนตัวของผู้ตัดสินใจมาเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ โดยมุ่งเน้นให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีเหตุผล มีความถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของบุคคล
ขอบเขตการบริการดูแลผู้ป่วย
จัดการให้กิจกรรมการรักษาดำเนินไปได้ตามแผนและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามวิธีการเวลาและเป็นที่พอใจของผู้รักษาและผู้รับบริการ
จัดการให้มีการปฏิบัติการพยาบาลที่สืบเนื่องจากกิจกรรมการรักษาเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องตามหลักแนวคิดทางการพยาบาล
จัดการให้มีการปฏิบัติตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องตามศาสตร์ทางการพยาบาล
จัดให้มีการตอบสนองต่อความตองการของผู้ใช้บริการทั้งในด้านการดูแลรักษา
และการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลาและเป็นที่พอใจของผู้ใช้บริการและญาติ
จัดการให้มีการใช้กระบวนการพยาบาลอย่างสมบูรณ์
จัดการที่ทําให้เกิดการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้บริการ
จัดการให้ข้อมูลด้านการดูแลรักษา และให้มีความพร้อมสมบูรณ์ทันสมัย ทันเวลา
ถูกต้องเกิดประโยชน์ต่อการวางแผน และประเมินการรักษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องรวมทั้งลด ความเสี่ยงด้านการเงินด้วย
นางสาวบุญทิตา ช่วยสงค์ 61104824