Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระเพาะอาหารส่วนปลายตีบ ( Infantile Hypertrophic Pyloric Stenosis : IHPS)…
กระเพาะอาหารส่วนปลายตีบ
( Infantile Hypertrophic Pyloric Stenosis : IHPS)
ความหมาย
เป็นภาวะส่วนที่ pylorus ของกระเพาะอาหารหนาขึ้น ทำให้มีการตีบแคบส่วนทางออก เกิดการอุดกั้นไม่ถึงตันที่ส่วนปลายของกระเพาะอาหาร
สาเหตุ
มีการบีบตัวอย่างรุนแรงของ pylorus
มีกรดในกระเพาะอาหารสูงกว่าปกติ
เกิดจากความผิดปกติของเซลล์
พันธุกรรม
อาการและอาการแสดง
ขณะให้นมกระเพาะอาหารเคลื่อนไหวลักษณะเป็นคลื่น Wave-Like
มีลักษณะขาดน้ำ ขาดอาหาร น้ำหนักน้อยลง มีภาวะเป็นด่างจาการเสียคลอไรด์ไปกับการอาเจียน มักมีภาวะตัวเหลืองร่วมด้วย
อาการอาเจียนเป็นลักษณะอาการที่สำคัญที่สุดและพบเป็นอาการแรก
อาเจียนเป็นนมที่จับตัวเป็นก้อนสีขาวมีกลิ่นเปรี้ยว ไม่มีน้ำดีปน อาจมีเลือดจากการแตกของเยื่อบุผิว ระยะแรกอาเจียนเป็นบางมื้อ ต่อมามากขึ้น หรือบางมื้อ มีลักษณะเป็นการอาเจียนพุ่ง
โดยทั่วไปสัปดาห์แรกหลังคลอดทารกดูดนมได้ดี อาการจะเริ่มปรากฎตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ถึง 5 เดือน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ประกอบด้วย อาการและอาการแสดง
อาการอาเจียน
การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร
ลักษณะขาดน้ำ ขาดอาหาร
ลักษณะอาการของภาวะตัวเหลือง
คลำทางหน้าท้องช่วงที่ทารกไม่ดิ้นและกระเพาะอาหารว่างจะคลำได้ก้อน Pylorus ลักษณะคล้ายลูกมะกอก ตำแหน่งที่คลำได้อยู่กลางลำตัว 1/3-1/2 จากสะดือถึงกระดูกลิ้นปี่
หากคลำก้อนไม่ได้ อาจพิจารณาทำอัลตร้าซาวด์หรือตรวจทางรังสีเพิ่มเติม
การรักษา
การผ่าตัด
การดูแลก่อนผ่าตัด ต้องแก้ไขภาวะขาดน้ำ ความเป็นด่าง ความสมดุลของอิเล็กโตรไลต์ ก่อนผ่าตัดสภาพทารกต้องพร้อม
โดย pH เท่ากับ 7.3-7.5
ไบคาบอเนต น้อยกว่า 30 mEq/L
โปรตัสเซียม มากกว่า 3 mEq/L
คลอไรด์มากกว่า 88 mEq/L
ปัสสาวะออก 1-2 cc/kg/hr
การดูแลหลังผ่าตัดโดยการติดตามHct , คาสายสวนกระเพาะอาหารไว้เพื่อระบายของเหลวและลำไส้เริ่มทำงาน 6 ชั่วโมงหลังผ่าตัดหลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารทางปาก
การทำpyloromyotomy (Ramstedt operation)
2.กรีดก้อน Pylorus ไปถึงชั้นกล้ามเนื้อให้แยกออกจากกันมากพอ มีส่วนของเยื่อเมือกโป่งออกมาอยู่ในระดับเดียวกันกับ Serosa และด้านที่ต่อกับ Duodenum
3.เมื่อผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วคลำไม่พบก้อนเป็นวงแหวนอยู่
1.เปิดหน้าท้องเพื่อเปิดเข้าไปหาก้อน Pylorus
ข้อวินิจฉัย : มีโอกาสเกิดภาวะพร่องสารน้ำ สารอาหาร และภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ เนื่องจากมีการอาจียนและการตีบแคบของPylorus
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
2.ประเมินภาวะ Dehydration ชั่งน้ำหนักทุกวันวันละครั้งตอนเช้า
3.ติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนจากภาวะร่างกายเสียสมดุลของน้ำและอิเล็กโตรไลต์
4.ติดตามและประเมินปริมาณสารน้ำเข้าออก(I/O record urine output )ทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินภาวะสมดุลของสารน้ำที่ออกจากร่างกายและประกอบการพิจารณาปรับเปลียนแผนการรักษาของแพทย์
5.เจาะเลือดและติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(Lab Electrolyte)
6.สังเกตอาการผิดปกติ ได้แก่ ชัก กล้ามเนื้อกระตุก สับสน ชีพจรเต้นช้าไม่สม่ำเสมอ กระสับกระส่าย ผิวหนังแห้ง ความดันโลหิตต่ำ เพื่อประเมินภาวะสมดุลของอิเล็กโตรไลต์