Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน และสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู คอ จมูก - Coggle…
กระดูกหัก ข้อเคล็ด ข้อเคลื่อน และสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู คอ จมูก
กระดูกหัก (Bone Fracture)
ความหมายของกระดูกหัก (Bone Fracture)
ภาวะที่กระดูกได้รับแรงกระแทกมากเกินไป ส่งผลให้กระดูกไม่สามารถ รองรับน้ าหนักได้ และเกิดการหักขึ้น โดยการหักอาจเป็นเพียงรอยร้าว (crack) หรือหักเคลื่อนออกจากกัน (displacement) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหต
ชนิดของกระดูกหัก
การจำแนกการหักแบบปิด และแบบเปิด
1.1 กระดูกหักแบบปิด หรือแบบไม่มีแผล (Closed fracture) คือ กระดูกหัก แต่ผิวหนัง
ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ เป็นชนิดที่ไม่มีบาดแผลเชื่อมต่อระหว่างกระดูกที่หักและสภาวะอากาศภายนอก
1.2 กระดูกหักแบบเปิด หรือแบบแผลเปิด (Opened fracture) คือ กระดูกที่ทิ่มผิวหนัง
ออกมา หรือได้รับบาดเจ็บจนผิวหนังเปิด เป็นชนิดที่มีบาดแผลเปิดเชื่อมต่อระหว่างกระดูกที่หักและ สภาวะอากาศภายนอก ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง เกิดภาวะกระดูกติดเชื้อได้ (Osteomyelitis)
การจำแนกการหักแบบสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์
จำแนกได้ดังนี้
สาเหตุของกระดูกหัก
เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร รถชน ถูกตีหรือได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง ตกลงมาจาก
ที่สูง ตกลงมากระแทกพื้นที่แข็งมาก ได้รับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหว
เกิดจากพยาธิสภาพ (pathological fracture) เช่น ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) มะเร็ง
กระดูก (primary bone tumor) มะเร็งจากส่วนอื่นแพร่มากระดูก (metastatic bone tumor)
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป อาการสำคัญ (Chief complaint: C.C.) อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness: PI) โดยใช้หลักของ OLDCART และการเจ็บป่วยในอดีต (Past History: PI)
ตรวจร่างกาย ดู คลำ ขยับ วัด ดังนี้ ประเมินสัญญาณชีพ ดู: อาการบวมบริเวณกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ มีรอยช้ำและเลือดออกจากผิวหนังดูภาวะซีด (pallor) เพื่อประเมิน compartment syndrome และ vascular injury อวัยวะผิดรูป (deformity) คลำ: จับกระดูกอาจได้ยินเสียงกระดูกหักเสียดสีกันกรอบแกรบ, ประเมินการไหลเวียน เลือดส่วนปลาย ประเมินอาการชา เหน็บ
ชา กรณีที่สงสัยว่าเส้นประสาทหรือหลอดเลือดได้รับความเสียหาย, คลำชีพจรส่วนปลาย ขยับ: ประเมิน ROM ของผู้ป่วย และสุดท้ายทำการวัด
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: การทำ MRI หรือ X-Ray เพื่อดูตำแหน่งที่หัก และประเภทของการหัก
การรักษาโรคเบื้องต้นของกระดูกหัก
ห้ามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า ควรใช้กรรไกรตัดตามตะเข็บผ้า
ใช้วัสดุที่พอหาได้หรือดามเฝือกชั่วคราว เพื่อให้บริเวณที่บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ในท่าที่สบาย
ห้ามเลือดผู้ป่วย โดยใช้ผ้าขนหนูแห้งสะอาดวางปิดแผล หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดห้ามเลือด
ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น และยกอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บให้สูง เพื่อลดอาการปวดบวม
ทำความสะอาดแผล โดยใช้หลัก sterile technique ในกรณีที่เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจน
ประเมินการไหลเวียนเลือดของผู้ป่วย โดยกดเบาๆ เหนือบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ส่งต่อโรงพยาบาลโดยเร็ว
การใส่เฝือกชั่วคราว โดย ควรเลือกใช้วัสดุส าหรับท าเฝือกชั่วคราว เช่น ไม้กระดาน, กิ่งไม้ หรือกระดาษแข็ง มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอที่จะประคองส่วนที่หักได้ อย่าให้แน่นจนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด จัดวางต าแหน่งให้เหมาะสม ในกรณีกระดูกแขนหัก ควรให้มือยกสูงกว่าข้อศอกเสมอ บริเวณที่เข้าเฝือกจะต้องจัดให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด อย่าจัดกระดูกให้เข้ารูปเดิม ไม่ว่า
กระดูกที่หักจะโค้ง โก่ง หรือ คด ก็ควรเข้าเฝือกในท่าที่เป็นอยู่
ข้อเคล็ด/ข้อแพลง (Sprain)
ความหมายของข้อเคล็ด (Sprain)
การที่ข้อต่อมีการเคลื่อนตัวมากเกินไป ทำให้เนื้ออ่อนๆ ที่อยู่รอบข้อต่อ เช่น เยื่อเอ็นหุ้มข้อ หรือ
กล้ามเนื้อรอบๆ มีการฉีกขาด มักได้พบเสมอทุกข้อต่อ แต่ที่พบบ่อย คือ ข้อเท้า มักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เล็กน้อย เช่น เดินข้อพลิก ข้อบิด หรือสะดุด หกล้ม เป็นภาวะที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง
สาเหตุของข้อเคล็ด
การหกล้ม ข้อบิด ถูกกระแทก ตกจากที่สูง หรือการยกของหนักอาจทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่ยึด
อยู่รอบๆ ข้อต่อฉีกขาด นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การเล่นกีฬา/ การออกกำลังกาย หรือน้ำหนักเกิน
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป อาการสำคัญ (Chief complaint: C.C.) อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness: PI) โดยใช้หลักของ OLDCART และการเจ็บป่วยในอดีต (Past History: PI)
ตรวจร่างกาย ดู คลำ ขยับ วัด ดังนี้ ประเมินสัญญาณชีพ ดู: อาการบวมบริเวณกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ มีรอยช้ำและเลือดออกจากผิวหนังดูภาวะซีด (pallor) เพื่อประเมิน compartment syndrome และ vascular injury อวัยวะผิดรูป (deformity) คลำ: จับกระดูกอาจได้ยินเสียงกระดูกหักเสียดสีกันกรอบแกรบ, ประเมินการไหลเวียน เลือดส่วนปลาย ประเมินอาการชา เหน็บชา กรณีที่สงสัยว่าเส้นประสาทหรือหลอดเลือดได้รับความเสียหาย, คลำชีพจรส่วนปลาย ขยับ: ประเมิน ROM ของผู้ป่วย และสุดท้ายทำการวัด
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: การทำ MRI หรือ X-Ray
การรักษาโรคเบื้องต้นของข้อเคล็ด
พักการใช้ข้อ ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ขยับเขยื้อนให้น้อยที่สุด ถ้าเป็นที่ข้อเท้าแพลงก็พยายามหลีกเลี่ยง
การเดิน หรือยืนด้วยเท้าข้างที่บาดเจ็บ และยกให้สูง
ใช้ผ้าพันส่วนที่บวม เพื่อลดการบวม จำกัดการเคลื่อนไหว
ในกรณีที่เพิ่งได้รับบาดเจ็บในระยะ 48 ชั่วโมงแรก ให้ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น (ถ้าเป็นที่ข้อเท้า อาจใช้เท้าแช่ในน้ำเย็น) นาน 15-30 นาที วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวมและปวด
ถ้าปวดมาก ให้ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล หรือIbruprofen เพื่อบรรเทา
ในระยะหลังบาดเจ็บ 48 ชั่วโมง หรือเมื่อข้อบวมเต็มที่แล้ว ให้ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ นาน 15-30
นาทีวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อลดอาการอักเสบ อาจใช้ขี้ผึ้ง น้ำมันระกำ ยาหม่องหรือเจลทาแก้ข้ออักเสบ ทานวด
การใช้อุปกรณ์ช่วย นอกจากการใช้ผ้ายืดพันยึดรอบข้อเท้า อาจให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์แบบสวมพยุง
ข้อเท้า (Brace) หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงร่างกายในขณะเคลื่อนไหว
ถ้าเป็นมากจนเคลื่อนไหวข้อนั้นไม่ได้เลย หรือสงสัยกระดูกแตกร้าว หรือเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อขาด
หรือดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่รู้สึกดีขึ้นให้รีบส่งต่อโรงพยาบาล
ข้อเคลื่อน/ข้อหลุด (Dislocation)
ความหมายของข้อเคลื่อน (subluxation)/ ข้อหลุด (dislocation)
ภาวะที่หัวกระดูกหรือปลายกระดูกสองอัน ที่มาชนกันเป็นข้อเคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่งปกติ
โดยอาจเคลื่อนบางส่วน (subluxation) หรือเคลื่อนหลุดโดยสมบูรณ์ (dislocation) เกิดจากมีแรงมากระทำที่ ข้อนั้นอย่างรุนแรง จนท าให้เยื่อหุ้มข้อ (joint capsule) หรือเส้นเอ็นยึดข้อ (ligament) ซึ่งมีหน้าที่ในการให้
ความแข็งแรงของข้อต่อนั้นๆ ฉีกขาด จนข้อเคลื่อนหรือหลุดออกจากกัน นอกจากนี้การที่ข้อเคลื่อนอาจมีอันตรายต่อเส้นประสาทและหลอดเลือดใกล้เคียงได้ ข้อเคลื่อนส่วนมากเกิดบริเวณหัวไหล่ และนิ้วมือ
สาเหตุของข้อเคลื่อน/ หลุด
เกิดจากความพิการแต่กำเนิด พยาธิสภาพ หรือการกระแทกที่บริเวณข้อ บางคนเกิดมาพร้อมกับ
เอ็นที่หย่อนยาน และมีแนวโน้มที่จะเป็นข้อเคลื่อนหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือจักรยาน การหกล้ม โดยอาจใช้
แขน สะโพก หรือไหล่ลงพื้น
เกิดจากกีฬาที่มีการปะทะกัน เช่น รักบี้ ฟุตบอล ฯลฯ เกิดจากการที่หัวกระดูกหลุดออกจากเบ้า
อาจหลุดออกเป็นบางส่วน หรือหลุดออกโดยสมบูรณ์ จะมีการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อต่อตรงตำแหน่งที่หลุด ที่พบได้บ่อยจากการเล่นกีฬา คือ ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อนิ้วมือ กระดูกสะบ้าหลุด
เกิดจากการถูกตี หกล้ม หรือการเหวี่ยง การบิด หรือกระชากอย่างแรงที่ข้อนั้น หรือเกิดจากการ
หดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป อาการสำคัญ (Chief complaint: C.C.) อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness: PI) โดยใช้หลักของ OLDCART และการเจ็บป่วยในอดีต (Past History: PI)
ตรวจร่างกาย ดู คลำ ขยับ วัด ดังนี้ ประเมินสัญญาณชีพ ดู: อาการบวมบริเวณกระดูกที่ได้รับบาดเจ็บ มีรอยช้ำและเลือดออกจากผิวหนังดูภาวะซีด (pallor) ข้อมีรูปร่างผิดปกติไปจากเดิม สีของบริเวณข้อที่ได้รับบาดเจ็บเปลี่ยนไป มีอาการบวมรอบๆข้อ จากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อต่อตรงตำแหน่งที่หลุด คลำ: กดเจ็บ จากการฉีกขาดของเอ็น พังผืด และเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบข้อต่อตรงตำแหน่งที่หลุด อาจคลำพบปลายหรือหัวกระดูกที่เคลื่อนออกมา กรณีที่อาจมีอันตรายต่อเส้นประสาท และหลอดเลือดใกล้เคียง ขยับ: ประเมิน ROM ของผู้ป่วยเนื่องจากเคลื่อนไหวข้อไม่ได้ หรือท าได้น้อยมาก ไม่
สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ตามปกติ และสุดท้ายทำการวัดความยาวของแขนหรือขา ข้างที่ได้รับบาดเจ็บอาจสั้นหรือยาวกว่าปกติ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ: MRI หรือ X-Ray เพื่อดูตำแหน่ง และความรุนแรงของข้อเคลื่อนหลุด
การรักษาโรคเบื้องต้นข้อเคลื่อน/ ข้อหลุด
ใช้ผ้าพยุงหรือดามไว้ ให้ส่วนนั้นให้อยู่ในท่าพัก ให้ข้อนั้นอยู่นิ่งๆ ในท่าที่เป็นอยู่ เช่น ถ้าข้อเคลื่อนที่
ไหล่ ให้ใช้ที่คล้องแขน หรือ sling (หรือหาเศษผ้าชิ้นยาวๆ มาผูกเป็นวงแทน) เพื่อยึดไว้ให้ข้ออยู่กับที่
ถ้าเป็นข้อเคลื่อนครั้งแรก อย่าพยายามดึงให้เข้าที่เอง เพราะอาจเกิดอันตรายถึงกระดูกหักได้ หรือ
บางรายอาจมีกระดูกหักชิ้นเล็กๆ ร่วมด้วย จึงควรเอกซเรย์ให้เห็นชัดเจนก่อนที่จะดึงเข้าที่
ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อ และกระดูกที่เคลื่อนให้อยู่ในท่าที่สบาย หรือเจ็บน้อยที่สุดก่อน
พบแพทย์ โดยให้พักข้ออยู่นิ่งๆ
ถ้าปวดมากให้ทานยา Ibuprofen (Advil) หรือ Acetaminophen (Tylenol)
NPO เผื่อกรณีที่จำเป็นต้องมีการรักษาโดยการผ่าตัด
ประคบด้วยน้ำแข็งบริเวณข้อ เพื่อให้เลือดออกน้อยที่สุด
ส่งต่อโรงพยาบาล การทิ้งไว้นานจะท าให้การดึงเข้าที่ล าบาก และถ้านานเกินไปอาจต้องท าการ
ผ่าตัด
นอกจากนี้มีการใช้หลักการ “RICE” ในการปฐมพยาบาลข้อเคลื่อน/ ข้อหลุด
การพัก (Rest) หยุดพักการใช้งานโดยเฉพาะในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บ ซึ่งถือว่าเป็นช่วง
ที่ส าคัญ ส่วนใหญ่แล้วการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกก าลังกายต้องการเวลาพักประมาณ 48 ชั่วโมง
การใช้ความเย็น (Ice) โดยการประคบเย็น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีเลือดออกบริเวณเนื้อเยื่อลดบวม และอาการปวดได้ ให้ประคบนานครั้งละ 10 ถึง 20 นาที หยุดประคบ 5 นาที ท าเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่บวม หรือทำวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง
การยก (Elevation) ส่วนของร่างกายที่ได้รับการบาดเจ็บ ให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหล
กลับสู่หัวใจได้สะดวก เช่น การนอนวางขา หรือเท้าบนหมอน ในกรณีที่นั่ง ให้วางเท้าบนเก้าอี้ เป็นต้น
การพันผ้ายืด (Compression bandage) เพื่อกดไม่ให้มีเลือดออกในเนื้อเยื่อมาก มักใช้ร่วมกับการ
ประคบเย็น เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้งสองด้านร่วมกัน
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู คอ จมูก
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
การจำแนกลักษณะสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
สิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีชีวิต ซึ่งอาจจะ
เป็นสิ่งที่ใช้อยู่รอบตัว เช่น เศษส าลีปั่นหู หรือเป็นชิ้นส่วนของเล่นเด็กชิ้นเล็กๆ เช่น ลูกกระสุนปืนอัดลม เป็นต้น
สิ่งแปลกปลอมที่มีชีวิต สิ่งแปลกปลอมประเภทนี้อาจจะสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้ขึ้นอยู่
กับชนิด และขนาดของสิ่งมีชีวิตนั้น สิ่งมีชีวิตที่พบได้ในหูแต่ไม่ได้สร้างความเจ็บปวด ได้แก่ ยุง แมลงหวี่ ตัวหนอน เป็นต้น
อาการและอาการแสดงของสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
ไม่มีอาการ ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เศษพืช หรือเมล็ดผลไม้ติดอยู่นานๆ ทำให้ช่องหูอักเสบ ปวด หนองไหล และหูตึง สิ่งแปลกปลอมชิ้นโต อุดแน่น ทำให้หูตึง สิ่งมีชีวิตคลานเข้าไปกระแทกช่องหูหรือแก้วหู รู้สึกร าคาญและเจ็บ หมัดสุนัขที่เกาะติดแน่นจะปวดมาก
สิ่งของอาจกลิ้งไปมา หรือแมลงดิ้นไปมา ท าให้มีเสียงในหู เวลาอ้าปาก หุบปาก หรือเคี้ยวอาหาร จะมีเสียงดังขลุกขลักในหู เลือดออก พบในพวกที่ใส่ของแหลมเข้าไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุ เศษเหล็ก เศษลูกระเบิดหรือ
ลูกปืนที่เข้าในหูจะมีเลือดออกได้มาก
อาการที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าควรส่งต่อ หรือพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาต่อ
เริ่มมีอาการเจ็บหรือรู้สึกปวดในหูมากขึ้น
ไม่สามารถนำเอาวัตถุแปลกปลอมออกจากหูได้
ได้ยินเสียงผิดปกติในหู
มีอาการแดงหรือบวมบริเวณหูโพรงหูหรือผิวหนังรอบ ๆ ใบหู
มีของเหลวไหลออกจากหู
อาการที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงหรือเกิดบ่อยครั้งขึ้น
มีอาการอื่น ๆ ปรากฏเพิ่มเติม เช่น การได้ยินเสียงลดลง มีเลือดออก หรือเวียนศีรษะ
การรักษาโรคเบื้องต้นของสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
ให้ผู้ป่วยเอียงเอาหูข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมลงต่ำ และค่อยๆโยกหรือเคาะศีรษะในแนวดิ่งเบาๆ
เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาเอง
หากเป็นแมลงเข้าหู ให้เอาศีรษะข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมขึ้น และใช้น้ำอุ่น น้ำมันทาตัวเด็ก น้ำมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กลีเซอรีนโบแรกซ์ยาหยอดหู หรือน้ำมันพืชใส่ไปในรูหู สำหรับผู้ใหญ่ให้ดึงใบหูให้ไปด้านหลังและดึงขึ้นเบาๆ ระหว่างเทน้ำมัน แต่หากเป็นเด็กให้ดึงใบหูไปทางด้านหลังและดึงลง เพื่อให้รูหูอยู่ในแนวตรง เพื่อให้แมลงหนีขึ้นมา หรือตาย และอาจลอยขึ้นมาได้เอง
แนะนำผู้ป่วยห้ามใช้ไม้พันส าลี ก้านไม้ขีดไฟ หรือวัตถุอื่นใด เขี่ยวัตถออกเอง เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดลึกลงไปมากขึ้น
ห้ามใช้น้ำหรือน้ำมัน ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือของเหลวอื่นๆ ใส่ไปในรูหู ในกรณีอื่น โดยเฉพาะถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยมีการใส่ท่อระบายน้ำในหูหรือแก้วหูทะลุ เช่น มีเลือดออก มีน้ำไหล
ถ้าสังเกตเห็นสิ่งแปลกปลอมได้ด้วยตาเปล่าชัดเจน และไม่ได้เป็นของแข็ง ให้ใช้ปากคีบ คีบสิ่งแปลกปลอมนั้นออกอย่างเบามือ ภายใต้แสงสว่างอย่างพอเพียง
การล้างออกด้วยน้ำ (ear irrigation)
การดูดออก (suction catheter) สำหรับสิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีชีวิต มีขนาดเล็กและเบา
สำหรับการนำเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหูของเด็กเล็ก ควรพูดปลอบอย่างนุ่มนวลให้เด็กอยู่ในภาวะสงบและไม่ตกใจกลัว และหากวัตถุนั้นไม่ทำให้มีอาการใดๆ ไม่จำเป็นต้องรีบเอาออกทันที
ถ้าเป็นถ่านใส่นาฬิกาหรืออุปกรณ์ภายในบ้านที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่ากระดุม ถือเป็นวัตถุที่อันตรายเป็นพิเศษหากไปติดอยู่ในหูจำเป็นต้องนำออกมาให้เร็วที่สุด เพราะสารเคมีภายในถ่านอาจรั่วไหลออกมา ทำให้ผิวหนังไหม้และเป็นอันตรายร้ายแรงต่อโพรงหูได้ภายในเพียงหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหรือน้ำมันในการนำเอาวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แมลงออกจากใบหูเพราะน้ำมันอาจไปทำให้วัตถุแปลกปลอมบางชนิดขยายขนาดหรือบวมขึ้นได้เช่น เมล็ดพืช
สิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
การจำแนกผู้ที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
สิ่งแปลกปลอมเข้าคอชนิดไม่รุนแรง สามารถหายใจได้ ไอได้ พูด หรือออกเสียงได้
สิ่งแปลกปลอมเข้าคอชนิดรุนแรง มีอาการหายใจไม่ได้หายใจลำบาก ไอไม่ได้พูดไม่มีเสียง พูดไม่ได้ หน้าเริ่มซีด เขียว ใช้มือกุมลำคอตัวเอง
สาเหตุของการเกิดสิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
ความเผอเรอ เป็นต้นเหตุที่พบบ่อยที่สุด เช่น ปรุงอาหารมีก้างปลา กระดูกไก่ กระดูกเป็ด กินอาหาร โดยไม่ระวังว่า ยังมีก้างหรือกระดูกติดอยู่ กลืนชิ้นโตเกินไป พูด คุย หรือหัวเราะ ระหว่างกินอาหาร
อายุของเด็ก สิ่งแปลกปลอมติดมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 1-10 ปี เป็นระยะที่เด็กชอบหยิบ ของทุกชนิดที่ไม่ใช่อาหารเข้าปากจึงติดคอได้
อื่นๆ เช่น อุบัติเหตุระหว่างทำฟัน ผ่าตัดในช่องปาก ดมยาสลบ อัมพาตของหลอดอาหาร ภาวะที่รีเฟล็กซ์การไอหมดไป การพยายามฆ่าตัวตาย
อาการและอาการแสดงของสิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
พูดไม่ได้ไปชั่วขณะ ทำให้อาจจะสื่อสารกับคนรอบตัวล าบาก
มีอาการเจ็บคอ โดยเฉพาะเวลาพูดหรือกลืนอาหารจะเจ็บมาก เจ็บแปลบๆ ในคอ ถ้าเป็นของชิ้นโตจะกลืนลำบาก หรือกลืนไม่ลง น้ำลายออกมาก อาเจียนหลังกลืนอาหาร และเจ็บบริเวณหน้าอก ถ้าชิ้นโตจะอุดแน่นหายใจไม่ออก หอบ ริมฝีปากเขียวคล้ำ ตัวเขียว ทุรนทุราย ภายในเวลาไม่กี่นาที ถ้าชิ้นเล็กจะมีอาการเจ็บคอ ไอ เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง อาการเริ่มแรกจะสำลัก ไออย่างรุนแรงเสียงดังกังวาน หายใจเสียงดัง หายใจลำบากคล้ายหอบหืด ไอมีเสมหะปนเลือดหรือหนอง รายที่ติดนานๆ มีอาการของโรคแทรกซ้อนพวกโรคทางเดินหายใจ
การรักษาโรคเบื้องต้นของสิ่งแปลกปลอมเข้าคอ
ซักประวัติเกี่ยวกับสิ่งแปลกปลอม ว่าคืออะไร
ให้ผู้ป่วยอ้าปากกว้าง ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมชัดเจน ให้ใช้ไม้กดลิ้นที่พันผ้าก็อซ หรือผ้าสะอาด กดที่โคนลิ้นแล้วใช้ปากคีบ (forceps) คีบสิ่งแปลกปลอมออกมา ส่วนมากมักจะติดอยู่ที่ข้างๆ ต่อมทอนซิล
ถ้าเป็นก้างหรือกระดูกขนาดเล็ก ให้ดื่มน้ำมากๆ กลืนก้อนข้าวสุก หรือกลืนขนมปังนุ่มๆ สิ่งแปลกปลอม จะหลุดไปในกระเพาะอาหาร
ห้ามใช้มือแคะ หรือล้วง เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีสิ่งแปลกปลอมฝังอยู่บวม แดง และเอาออกยากขึ้น อาจมีการอักเสบและติดเชื้อตามมาได้
วิธีการช่วยเหลือเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าคอชนิดรุนแรง
5.1 เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีมีวิธีดังนี้
5.2 เด็กโต หรือผู้ใหญ่ มีวิธีดังนี้
ถ้ามองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมเลย ควรส่งต่อโรงพยาบาลทันท
หลังจากเอาสิ่งแปลกปลอมออก ให้ส่งต่อโรงพยาบาล และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดขณะนำส่ง
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
ภาวะที่เศษวัตถุหรือสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น ผงดิน ทราย เส้นใย เศษเหล็ก เศษไม้เล็กๆ แมลง หรือขน
ตา เป็นต้น ปลิวหรือกระเด็นเข้าตา
อาการและอาการแสดงของสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
เคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง
อาจติดเชื้ออักเสบเป็นหนอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
อาจทำให้กลายเป็นแผลที่กระจกตา หรือเชื้อโรคอาจลุกลามเข้าไปในลูกตา ทำให้ลูกตาอักเสบทั่วไป (Panophthalmitis) ตาเสียได้
การรักษาโรคเบื้องต้นของสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
การระคายเคืองเล็กๆ น้อยๆ
ควรหลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพราะการขยี้ตาจะท าให้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าตาสัมผัสกับข้างในตามากขึ้น
จนอาจไปขูดกับเลนส์ตาได
กระพริบตาเร็วๆ เมื่อมีฝุ่นผง เศษผม หรือบางสิ่งที่มีขนาดเล็กเข้าไปติดในตา การกระพริบตาเร็วๆ จะช่วยให้เศษต่างๆ หลุดออกมาพร้อมกับน้ำตา
ล้างตาด้วยน้ำสะอาด ลืมตาและปล่อยให้น้ำจากก๊อกไหลผ่านตาเบาๆ
ใช้สำลีหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดตา ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมได
ใช้น้ำตาเทียม (Artificial tears) เพื่อการล้างตาในกรณีที่ไม่มีน้ำตาหรือน้ำ โดยการหยดใส่ตาเล็กน้อย
ถ้าตาแดงอักเสบให้ป้ายหรือหยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะ
สิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใหญ่ หรือที่มีอันตราย
สังเกตสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตา ถ้าสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ แทรกอยู่ในตาหรือเป็นสิ่งที่เป็นอันตราย เช่น เศษแก้ว, สารเคมี, หรือวัตถุมีคม/ เป็นพิษ ต้องรีบส่งต่อทันทีอย่าพยายามที่จะเอาวัตถุด้วยตัวเอง
ล้างตาด้วยวิธีน้ำไหล (flowing water) ใช้0.9% Normal saline หรือ Boric acid 3% เป็นเวลา 15-30 นาทีแต่ถ้าเป็นสารละลายด่างควรนานกว่า 2 ชั่วโมง โดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงหน้าไปทางฝั่งที่ต้องการจะล้างตา
การเขี่ยเอาสิ่งแปลกปลอมออก
ส่งต่อโรงพยาบาล วัตถุที่มีขนาดใหญ่ปักค้างอยู่ที่ดวงตาหรือที่เนื้อเยื่ออ่อนรอบๆตา ควรจะถูกกำจัดออกจากตาโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญหากสิ่งที่จะติดอยู่ด้านในของตาอาจจะต้องผ่าตัดเล็กเพื่อนำมันออกไป
สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
การจำแนกลักษณะของสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
สิ่งแปลกปลอมที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ลูกปัดหลากสี ถ่านเกมส์กด เป็นต้น
สิ่งแปลกปลอมที่มีชีวิต มักพบได้น้อยกว่าสิ่งแปลกปลอมชนิดที่ไม่มีชีวิต เช่น หนอนแมลงวัน พยาธิ ไส้เดือน เป็นต้น
สิ่งแปลกปลอมประเภท Rhinolith สิ่งแปลกปลอมประเภทนี้มักพบในจมูก ซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของสารคัดหลั่ง (mucin) ที่เรียงตัวกันเป็นชั้นๆ ในช่องแคบๆ ร่วมกับแรงของอากาศที่วิ่งผ่านเข้าออกในจมูกตลอดเวลาทำให้สารคัดหลั่งเหล่านั้น (mucin) มีการแข็งตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
• Endogenous rhinolith เกิดจากการรวมกันของชั้นสารคัดหลั่ง (mucin) ร่วมกับเศษชิ้นส่วนต่างๆในร่างกายที่อยู่ผิดที่หรืออยู่ในต าแหน่งที่ไม่ควรพบได้ทั่วไป
• Exogenous rhinolith เกิดจากการรวมกันของชั้นสารคัดหลั่ง (mucin) ร่วมกับสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ได้มาจากร่างกายอย่างเช่น
อาการและอาการแสดงของสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
น้ำมูกหรือหนองไหลจากจมูกข้างเดียว เป็นๆ หายๆ จามระคายเคืองจมูก
จมูกมีกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีหนองปน คัดแน่นจมูก ปวดจมูกข้างเดียวแบบเป็นๆ หายๆ และมักหายใจทางปากตลอดเวลา มีเสมหะไหลลงคอ ไอบ่อยๆ
การรักษาโรคเบื้องต้นของสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
ใช้มือปิดรูจมูกอีกข้างแล้วสั่งน้ำมูกแรงๆ เพื่อให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาเอง ห้าม! พยายามใช้คีมหรือเครื่องมือต่างๆ คีบเอาสิ่งแปลกปลอมออกมาเอง เพราะอาจจะดันสิ่งแปลกปลอมให้หลุดเข้าไปลึกถึงหลอดลม หรือปอด
หากสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นมีผิวที่ขรุขระ และหยิบจับด้วยเครื่องมือได้ง่ายก็สามารถใช้ forceps คีบออกได
กรณีที่สั่งน้ำมูกแล้วสิ่งแปลกปลอมไม่หลุดออกมา หรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ลึก ให้รีบส่งต่อทันทีและควรงดน้ำและอาหาร เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการนำสิ่งแปลกปลอมออกภายใต้การดมยาสลบ