Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
PATHOPHYSIOLOGY OF RENALSYSTEM - Coggle Diagram
PATHOPHYSIOLOGY OF RENALSYSTEM
ไต (Kidney)
เส้นเลือดของไต (Renal vessel) ทำหน้าที่ในการนำเลือดเข้า-ออกจากไต
ไต หน้าที่
ควบคุมความดันโลหิต (คนไข้ไตไม่ดีจะมีความดันโลหิตสูง)
ผลิตฮอร์โมน Erythropoietin ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (คนไข้โรคไตวายจะมีเลือดจาง เลือดน้อย )
3.ควมคุมปริมาณน้ำและระดับเกลือแร่ในร่างกาย
4.ควบคุมความเป็นกรดด่างในร่างกาย (คนไข้โรคไตวายจะมีสภาพความเป็นกรดสูงมาก ทำให้อวัยะวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปรกติและเสียชีวิตได้)
5.ควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส
เส้นเลือดแดงของไต (Renal artery) ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดเข้าสู่ไตทั้งสองข้าง Renal a.,vein, lymphatic drainage
ท่อไต (Ureter) มีสองข้าง ทำหน้าที่ลำเลียงของเหลวลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) ทำหน้าที่กักเก็บของเหลวเพื่อรอการระบาย
ท่อปัสสาวะ (Ureter) ทำหน้าที่ในการเป็นช่องทางการระบายของเหลวสู่ภายนอก
คนปกติมีไตอยู่ 2 ข้างด้วยกัน ลักษณะของไตจะคล้ายเมล็ดถั่วแดง แต่ละข้างวางตัวในลักษณะแนวตั้ง ขนานกับกระดูกไขสันหลังช่วงเอว ฝังตัวติดกับผนังลำตัวของแผ่นหลัง หรือถ้าจะให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ตำแหน่งของไตจะอยู่บริเวณสีข้างของร่างกาย โดยไตข้างซ้ายจะวางตัวสูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านบนไตข้างขวาเป็นตำแหน่งของตับ ซึ่งไตทั้ง 2 ข้างนั้นจะหันส่วนเว้าหรือที่เรียกว่า ขั้วไต เข้าหากระดูกไขสันหลัง
อยู่บริเวณตำแหน่ง T1 2 - L3
Retroperitoneal orgam
ชั้นของไต
ผนังหุ้งไต (Renal capsule)
2.ไตชั้นนอก ( Cortex)
3.ไตชั้นใน (Medulla)
4.Calyx / calyces
5.กรวยไต (Renal pelvis)
หน่วยไต(NEPHRON)
หน้าที่หลักคือควบคุมสมดุลของสารน้ำและสารต่างๆ ในร่างกาย เช่นโซเดียม ผ่านการกรองเลือดที่ผ่านหน่วยไต ดูดกลับสารที่ต้องการ และขับสารที่ไม่ต้องการทิ้งผ่านทางปัสสาวะ หน้าที่ของหน่วยไตนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของร่างกาย ซึ่งจะถูกควบคุมโดยระบบต่อมไร้ท่อผ่านทางฮอร์โมนต่างๆ เช่น ฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ อัลโดสเตอโรน และพาราไทรอยด์
การกรองที่โกลเมอรูลัส ( Glomerulus filtration ) เกิดจากการกรองของเสียออกที่โกลเมอรูลัส ซึ่งเป็นหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในโบว์แมนส์แคปซูล ผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสจะยอมให้สารโมเลกุลเล็กผ่านไปได้พร้อมกับน้ำ การกรองผ่านโกลเมอรูลัสเกิดจากแรงดันเลือดดันของเหลวจากหลอดเลือดฝอยผ่านเยื่อบุผิวของโบว์แมนส์แคปซูล เข้าสู่ช่องว่าง ( lumen) ของโบว์แมนส์แคปซูล และเข้าสู่ท่อของหน่วยไต
ผนังของหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัส ( endothelial cell of capillary ) ซึ่งมีรูขนาด 60 – 100 นาโนเมตร จึงป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดผ่านไปและยอมให้สารขนาดเล็กผ่านไปโดยการแพร่
ชั้นเบสเมนต์เมมเบรน ( basement membrane ) ของโกลเมอรูลัสหรือเรียกว่า ลามินาเดนซา ( lamina densa ) หรือเบซิลลามินา ( basal lamina ) เป็นตัวกรองสารโปรตีนขนาดใหญ่ไว้ จึงช่วยจำกัดผ่านของโปรตีนขนาดใหญ่
เยื่อบุผนังของโบว์แมนส์แคปซูล ( epithelial cell of Bowman s capsule ) ซึ่งมีเซลล์พิเศษ คือ โพโดไซต์ ( podocyte ) ช่วยเลือกสารที่จะกรองผ่านทั้งผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัส และเซลล์ที่เยื่อบุผนังโบว์แมนส์แคปซูล จะประกอบกันเป็น เยื่อกรอง (filtration membrane ) เซลล์โพโดไซต์ ซึ่งประกอบกันเป็นเยื่อบุโบว์แมนส์แคปซูล ซึ่งสัมผัสกับหลอดเลือดฝอยนั้นมีการแตกกิ่งก้านเป็นจำนวนมากคล้ายนิ้วมือ อาจเรียกว่า ฟูตโพรเซส ( food processes ) หรือเพดิเซล (pedicel ) เพดิเซลจะปกคลุมอยู่ที่ผิวหลอดเลือดฝอยส่วนใหญ่ ช่องระหว่างฟูตโพรเซสเป็นช่องเล็ก ๆ เรียกว่า ฟิลเตรชันสลิต( filtration slits ) หรือ ช่องสลิต ( slit pore ) จึงเป็นตัวกรองของเหลวออกจากเลือด
2.การดูดกลับที่ท่อของหน่วยไต ( Tubular reabsorption ) ของเหลวที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสวันละ 180 ลิตร ถูกดูดกลับเข้ากระแสเลือดถึง 99 % เหลือเป็นน้ำปัสสาวะทิ้งไปวันละ 1.5 ลิตร เซลล์เยื่อบุผิวที่ท่อของหน่วยไต มีบทบาทในการดูดสารกลับ เนื่องจาก มีไมโครวิลไล ( microvilli ) จำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม และยังมีไมโทคอนเดรียมากเพื่อให้พลังงานในการดูดกลับแบบแอกทีฟ ทรานสปอร์ต
การดูดกลับที่ห่วงเฮนเลส่วนวกลง ( descending limp of loop of henle ) ดูดน้ำกลับโดยวิธีออสโมซิส
การดูดกลับที่ห่วงเฮนเลนส่วนวกขึ้น (ascending limp of loop of henle ) ดูดกลับ NaCl ทั้งแบบพาสซีฟทรานสปอร์ต และแอกทีฟทรานสปอร์ต
การดูดกลับที่ดิสตอลทิวบูล มีการดูดกลับน้ำ แบบพาสซีฟทรานสปอร์ต โดยการแพร่ ส่วน NaCl และ HCO- 3 ดูดกลับแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต การดูดกลับที่ท่อรวม มีการดูดกลับน้ำโดยออสโมซิส และยอมให้นำยูเรียผ่านออกโดยการแพร่การดูดสานบางอย่างกลับเข้ากระแสเลือด ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนได้แก่ ฮอร์โมนแอลโดล
โกลเมอรูลาร์คอมเพล็กซ์ ( Juxtaglomerular complex )
(ซึ่งอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงอาฟเฟอเรนต์อาร์เทอริโอล ที่นำเลือดเข้ามายังโกลเมอรูลัส มาสัมผัสกับดิสตอลทิวบูล) จะหลั่งเอนไซม์ เรนิน ( renin ) ออกมากระตุ้นการเปลี่ยนพลาสมาโปรตีน คือ แองจิโอเทนซิโนเจน ( angiotensinogen ) ให้เป็นแองจิโอเทนซิน II ( angiotensin II ) แล้วแองจิโอเทนซิน II จึงไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน
การหลั่งสารที่ท่อของหน่วยไต ( Tubular secretion ) มีสารบางชนิดที่หลั่ง ( secrete ) จากเลือดเข้าสู่ฟิลเตรต หรือของเหลวที่กรองได้ในทิวบูล
• การหลั่ง K+ เกิดเมื่อความเข้มข้นของ K+ สูงเกินไป เพราะจะทำให้การส่งกระแส
• ประสาทบกพร่อง และความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง
• ที่ดิสตอลทิวบูล มีการหลั่งสาร ได้แก่ H+ , ยาบางชนิด เช่น เพนิซิลลิน และยาพิษ
• การหลั่ง K+ เพื่อควบคุมระดับความเข้มข้นของ K+ และ Na+ ในร่างกาย โดยแปรผันการหลั่งK+ และการดูดกลับ Na+
• การหลั่ง H+ เพื่อควบคุม pH ในเลือด โดยควบคุมการหลั่ง H+ และ การดูดกลับ HCO-3
ท่อไต (UERTER)
ท่อไต (Ureter) เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่นำส่งน้ำปัสสาวะจากไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ โดยเป็นอวัยวะคู่ที่มีทั้งท่อไตด้านซ้ายและท่อไตด้านขวา มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กขนาบอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลังช่วงเอวทั้งซ้ายและขวา มีความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ผนังของท่อเป็นเยื่อเมือกและกล้ามเนื้อ เพื่อบีบตัวช่วยการเคลื่อนตัวของน้ำปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ
เป็น Retroperitonea structures ต่อจาก Renal pelvis ถึงกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะ (Urinary Blader)
เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร
1,จำนวนปัสสาวะถ้าหากปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง ตั้งแต่ 150 - 400 ลบ.ซม. จะทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะตึงขึ้น
2.เกิดรีเฟลกซ์การถ่ายปัสสาวะเนื่องจากการตึงของผนังกระเพาะปัสสาวะมีผลทำให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังไขสันหลังและสมองแล้วส่งกระแสประสาทกลับมากระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
3.ยิ่งความดันกระเพาะปัสสาวะมาก ยิ่งทำให้เกิดการอยากถ่ายปัสสาวะมากขึ้น การเกิดรีเฟลกซ์ การถ่ายปัสสาวะจะมีผลในการกระตุ้นให้สมองส่งกระแสประสาทมายงกล้ามเนื้อหูรูดมัดนอกของกระเพาะปัสสาวะให้คลายตัวและเกิดการถ่ายปัสสาวะขึ้น
ท่อปัสสาวะ (Urethra)
ท่อปัสสาวะในผู้หญิง: ทำหน้าที่เป็นท่อระบายปัสสาวะเพียงอย่างเดียว จะมีขนาดสั้นกว่าในผู้ชายมาก คือมีขนาดยาวเพียงประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร เปิดออกสู่ภายนอกเหนือต่อปากช่องคลอด โดยอยู่ถัดจากปากช่องคลอดไปทางด้านหลัง คืใกล้ปากทวารหนัก ดังนั้น ท่อปัสสาวะในผู้หญิงจึงติดเชื้อได้ง่ายกว่าในผู้ชายมาก โดยเป็นเชื้อโรคที่มาจากช่องคลอด และจากทวารหนัก
ท่อปัสสาวะในผู้ชาย: จะมีทั้งส่วนที่อยู่ในร่างกาย คือ อยู่ด้านในตรงกลางของต่อมลูกหมาก (ดังนั้นโรคของต่อมลูกหมากจึงส่งผลให้มีอาการผิดปกติทางปัสสาวะได้ เช่น ปัสสาวะบ่อยจากต่อมลูกหมากอักเสบ จึงก่อการระคายเคืองต่อท่อปัสสาวะ หรือปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด จากต่อมลูกหมากโตแล้วเบียดอุดกั้นท่อปัสสาวะ) และส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย คือ อยู่ตรงกลางอวัยวะเพศชาย (องคชาต) ซึ่งนอกจากทำหน้าที่เป็นทางระบายของปัสสาวะแล้ว ท่อปัสสาวะในผู้ชายยังทำหน้าที่เป็นทางระบายออกของน้ำอสุจิ (น้ำกาม, Semen) เมื่อมีเพศเพศสัมพันธ์
สาเหตุ (ACUTE KIDNEY INJURY)
1.Prerenal cause
มีภาวะขาดสารน้ำอย่างรุนแรง ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงที่ไต เช่นภาวะท้องร่วงอย่างรุนแรง หรือในผู้ป่วยอุบัติเหตุ ที่มีการเสียเลือดจำนวนมาก ได้ยาหรือสารพิษต่อไต ยาที่พบบ่อยได้แก่ ยาปฏิชิวนะ ยาแก้ข้ออักเสบ โดยทั่วไปการทานยา เป็นเวลานานอาจมีผลต่อไตได้เพราะยาเกือบทั้งหมดจะมีถูกทำลาย ความเป็นพิษที่ตับและขับสารพิษออกทางไต ,การติดเชื้อที่รุนแรง,การผ่าตัดใหญ่ โดยเฉพาะการผ่าตัดหัวใจ,ไตอักเสบ จากโรค SLE หรือภายหลังการติดเชื้อมีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ จากโรค นิ่วในไต ในท่อไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ ภาวะต่อมลูกหมากโต หรือโรคมะเร็งปากมดลูก
Renal cause
ยา: ยาคล้ายเพนิซิลลิน,
cephalosporins,
sulfonamides, ciprofloxacin (Cipro), acyclovir (Zovirax), rifampin, phenytoin (Dilantin), interferon, สารยับยั้งโปรตอนปั๊ม, ยาต้านการอักเสบ nonsteroidal การติดเชื้อ (เช่นการติดเชื้อโดยตรงของ parenchyma ของไตหรือ กับการติดเชื้อในระบบ) ไวรัส: ไวรัส Epstein-Barr, cytomegalovirus, ไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์
Post renal cause
Postrenal สิ่งกีดขวางนอกไต: ต่อมลูกหมากโต ; กระเพาะปัสสาวะ เกี่ยวกับระบบประสาท ; พังผืด retroperitoneal; มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งปากมดลูก สิ่งกีดขวางภายในไต: นิ่ว* ผลึก (acyclovir, indinavir [Crixivan]), ก้อนเนื้อ, เนื้องอก
หน้าที่ของไต
การดูดกลับของไต (Tular Reabsorbtion)คือขบวนการดูดกลับสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากท่อไตกลับเข้าสู่กระแสเลือดจะเกิดขึ้นตลอดความยาวของท่อเล็กๆ ในหน่วยทำงานของไต จะดูดซึมเอาน้ำและสารบางอย่างที่ร่างกายต้องการกลับ คืนสู่กระแสเลือด ประมาณ 178.5-179 ลิตร/วัน จึงมีปัสสาวะออกมานอกร่างกายเพียง 1-1.5 ลิตรต่อวัน การดูดซึมกลับจะเกิดขึ้นมากบริเวณหลอดฝอยไตส่วนต้น สารที่ถูกดูดซึมกลับ ได้แก่ กลูโคส ฟอสเฟต กรดแลคติก กรดอะมิโน วิตามินซีซิเตรท (Citrate) มอลเลท (Malate) โซเดียม น้ำ ไบคาร์บอเนต ยูเรีย และคลอไรด์
การขับทิ้ง (Tubular Secretion)คือขบวนการขับสารที่เป็นพิษหรือเกินความต้องการออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ท่อไต สารที่ได้จากการกรอง และไม่สามารถดูดซึมกลับเข้าสู่เส้นเลือด จะเหลืออยู่ในท่อเล็กๆ ในหน่วยทำงานของไต สะสมรวมกันเป็นน้ำปัสสาวะ สารเหล่านี้ได้แก่ ยูเรีย กรดยูริค ครีอะตินิน ของเสียจากกระบวนการเผาผลาญของโปรตีนและยาต่างๆ
การกรองที่โกลเมรูลัส (Glomerulus Filtration) การกรองจะเกิดที่โกลเมอรูลัส โดยเลือดที่ผ่านเข้ามาในโกลเมอรูลัส จะถูกกรองภายใต้แรงดัน ผ่านผนังหลอดเลือดฝอยเล็ก ๆไปยังช่องระหว่างโบวแมน แคปซูล น้ำที่กรองได้เรียกว่า ฟิลเตรท(Filtrate) ซึ่งมีส่วนประกอบของความเข้มข้นคล้ายพลาสมายกเว้นไม่มีสารโมเลกุลใหญ่ คือ โปรตีน ในปกติไตกรองพลาสมาออกประมาณร้อยละ 21 ของเลือด ที่ผ่านเข้าสู่ไต ดังนั้นใน 1 วัน เลือดที่ผ่านไตถึง 180 ลิตร ก็ควรมีพลาสมาที่ถูกกรองออกประมาณ 40 ลิตร แต่ในสภาพจริงพลาสมาที่ผ่านมา กรองนี้ไม่ได้ถูกขับออกจากร่างกายทั้งหมดเพราะยังต้องผ่านสู่ท่อไตเพื่อเข้ากระบวนการสร้าง ปัสสาวะอีก 2 ขั้นตอนต่อไป
นิ้วในระบบทางเดินปัสสาวะ (Stone / Calculi)
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือ นิ่วกระเพาะปัสสาวะ (Bladder stone, Urinary bladder stone, Vesical calculi, Vesical calculus) เป็นนิ่วที่พบได้ประมาณ 5% ของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะทั้งหมด (ไต หลอดไต และกระเพาะปัสสาวะ) เป็นโรคที่พบได้บ้างประปรายในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่พบได้บ่อยในบ้านเรา โดยเฉพาะคนทางภาคอีสานและภาคเหนือ
สาเหตุของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
มีปริมาณของสารตกตะกอนต่าง ๆ ดังกล่าวสูงในปัสสาวะ เช่น จากการดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของเกลือแร่มาก, จากการรับประทานอาหารบางประเภทที่มีสารดังกล่าวสูง (เช่น เครื่องในสัตว์ แคลเซียมจากการเสริมอาหารด้วยเกลือแร่แคลเซียมในปริมาณสูง), จากการรับประทานอาหารที่มีสารออกซาเลต (Oxalate) สูงหรือสูงปานกลางอย่างต่อเนื่อง
การกักค้างของปัสสาวะเรื้อรังในกระเพาะปัสสาวะ ที่พบได้บ่อยคือ มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น จากท่อปัสสาวะตีบแคบซึ่งอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหนึ่งของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะในเด็กหรือจากโรคต่อมลูกหมากโตในผู้ชายตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป หรือจากโรคสมองหรือโรคทางเส้นประสาทที่ทำให้ปัสสาวะไม่คล่อง เช่น โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคกะบังลมหย่อนในผู้หญิง หรือจากการดื่มน้ำน้อย (ส่วนการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จะไม่ทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แต่การคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะในผู้ป่วยที่ถ่ายไม่หมดนั้น จะต้องใช้เวลานานเป็นเดือนถึงจะมีนิ่วเกิดขึ้นได้)
กระเพาะปัสสาวะมีการระคายเคืองเรื้อรัง เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง การใส่สายสวนปัสสาวะเรื้อรัง เช่น ในผู้ป่วยอัมพาต หรือมีโรคถุงในกระเพาะปัสสาวะ (Diverticulum)
มีนิ่วหลุดลงมาจากไตแล้วมาสะสมจนโตขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งในกรณีจะตรวจพบนิ่วในไตร่วมด้วยเสมอ
แบ่งตามตำแหน่การเกิด
นิ้วในทางเดินปัสสาวะ ส่วนบน Renal calyces , renal pelvis, urthra
นิ้วในทางเดินปัสสาวะ ส่วนล่าง bladder , Urthra
อาการแสดง
1.ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจร่วมกับปวดหลังเรื้อรัง
2.การปัสสาวะผิดปกติหรือมีอาการขัดเบา (เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ) ทำให้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะลำบาก ปวดเบ่งคล้ายว่ายังถ่ายปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบปวดร้อน ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
3.ผู้ป่วยบางรายอาจปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลล้างเนื้อ หรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นก้อนนิ่วหรือเม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปนอยู่
4.หากก้อนนิ่วตกลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
5.กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด มีไข้ ปวดเนื้อตัว และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย
ตรวจร่างกาย (Physical Examination)
การตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis)
-การตรวจวัดความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry)
การตรวจดูปริมาณปัสสาวะที่คั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ (Post-Void Residual Urine) เพื่อดูว่ามีความผิดปกติที่ระยะใดของการปัสสาวะ
การตรวจระบบประสาททางเดินปัสสาวะ (Urodynamic) ซึ่งจะบอกถึงลักษณะการทำงานของกระเพาะปัสสาวะได้ดี สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษา และให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องตรงกับปัญหาที่ผู้ป่วยเป็นอยู่การรักษาภาวะปัสสาวะผิดปกติ และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
การส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการ
Urine analysis : ส่องกล้องพบผลึกแบบต่างๆ
Film KUB ; พบ abnormal opacity ใน urinay tract
การรักษา
1.การผ่าตัด
2.การใช้คลื่น Shock wave ยิงสลายนิ่ว
3.การใช้ยาลดการเกิดนิ่ว
ข้อแนะนำสำหรับการป้องกันการเกิดนิ่วในไต
ดื่มน้ำให้เพียวพอต่อความจำเป็นของร่างกาย หลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ
ไม่กลั้นปัสสาวะ เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสตกตะกอนเกิดเป็นผลึกได้
ลดการรับประทานอาหารบางประเภท ที่มีสารหรือเกลือแร่มากเกินไป เช่น เครื่องในสัตร์
การติดเชื่อทางเดินปัสสาวะ
ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้สูงและจัดเป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุชายมีโอกาสเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสูงขึ้นมากซึ่งต่างจากคนอายุน้อยที่ผู้ชายแทบจะไม่เกิดการติดเชื้อนี้เลย นอกจากนั้นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อก็มีโอกาสเกิดจากเชื้อโรคหลากหลายมากขึ้น
อาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
อาการขึ้นกับว่าติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะระดับไหน ถ้าติดเชื้อแค่ในกระเพาะปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อที่กรวยไต จะมีไข้ ปวดหลังร่วมด้วย ซึ่งต้องรับการรักษาด้วยยาฉีดปฏิชีวนะในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสูงอายุจำนวนมาก อาจมีอาการที่ไม่จำเพาะกับการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น ซึม สับสน เบื่ออาหาร กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หกล้ม
สาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อแบคทีเรีย
แม้เชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอยู่หลายชนิด แต่ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่มักติดเชื้ออีโคไล (E.Coli) เคล็บซิลลา (Klebsiella) ซูโดโมแนส (Pseudomonas) และเอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้มักแพร่มาจากทางเดินอาหารและช่องคลอด โดยปนเปื้อนมากับอุจจาระหรือในขณะมีเพศสัมพันธ์
พบการติดเชื้อได้ที่หลายตำแหน่ง
1.บริเวรท่อปัสสาวะ (Urethritis)
2.บริเวรกระเพาะปัสสาวะ (Cystitis)
3.บริเวณกรวยไต (Pyelonephrtis)
การส่งตรวจมางห้องปฎิบัติการ
Urine analysis
พบ leukoce + ve, WBC> 5cell / mm3
Urine culture
Film KUB
พบ abnormal opacity ใน urinary tract
การรักษา
1.สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีไข้ ไตยังทำงานเป็นปกติ รวมถึงไม่มีโรคประจำตัว แพทย์มักให้รับประทานยาปฏิชีวนะ อย่างยาฟลูออโรควิโนโลน ยาไตรเมโทพริม ยาดอกซีไซคลิน ยาอะซิโธรมัยซิน ยาซัลฟาเมธ็อกซาโซล หรือยาเซฟาเลกซิน และสังเกตอาการประมาณ 3-5 วัน ส่วนผู้ป่วยชายที่มีการอักเสบของต่อมลูกหมากร่วมด้วย แพทย์อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะนานขึ้น ซึ่งอาการป่วยมักค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากได้รับยา แต่หากอาการยังคงอยู่ 2-3 วัน โดยที่ไม่ดีขึ้นเลย ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที ทั้งนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายใช้ยาแก้ปวดควบคู่ไปด้วย
2.แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรังรับประทานยาปฏิชีวนะที่มีปริมาณยาต่ำติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน รวมถึงรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่การอักเสบเกิดจากการติดเชื้อในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีไข้สูง หรือมีอาการปวดเอวอย่างมาก อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะผ่านทางเส้นเลือด
พยาธิสรีรภาพของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะมาก (Polyuria)
มีภาวะโรคเบาจืด
สาเหตุที่พบมากที่สุด มาจากความผิดปกติของสมองส่วนต่อมใต้สมอง อาจจะมาจากการติดเชื้อ การผ่าตัด หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ จนทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการปัสสาวะเหมือนคนทั่วไปได้ หรืออาจจะมาจากความผิดปกติของไต ที่ไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับเข้าร่างกายในระดับที่สมดุลได้ รวมถึงสภาวะทางจิต และผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษา
ภาวะ Psychogenic polydipsia
กลไกในการควบคุมการดื่มน้ำมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกาย ที่เรียกว่า osmolarity โดยในภาวะปกติร่างกายจะปรับให้มีค่าประมาณ 285 3 milliosmoles(mOsm)/ Kg โดยการควมคุมของ osmoregulatory center ที่บริเวณฐานสมอง โดยจะควบคุมทั้งความรู้สึกกระหายน้ำ และการหลั่ง antidiuretic hormone (vasopressin) ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่หลักคือกระตุ้นให้ไตดูดน้ำกลับคืนเมื่อภาวะร่างกายขาดน้ำ ค่า osmolarity จะเพิ่มขึ้น ส่วนที่ควบคุมคือ osmoregulatory center จะกระตุ้นให้เกิดการกระหายน้ำ และมีการหลั่ง vasopressin เพิ่มขึ้น ผลก็คือจะมีการดื่มน้ำเพิ่มขึ้นและ ปัสสาวะน้อยลงในทางตรงข้ามถ้าร่างกายมีน้ำเกินความต้องการ ค่า osmolarity ลดต่ำลง การกระหายน้ำก็จะลดลงรวมทั้งการหลั่ง vasopressin ก็ลดลงมีผลทำให้มีการขับปัสสาวะออกเพิ่มขึ้น
มีโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนนอกจากโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภทแล้วยังมีโรคเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อยอย่างโรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) อีกทั้งยังมีโรคเบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยา หรือเกิดจากโรคชนิดอื่นอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ด้วย
โรคเกี่ยวกับไต
โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคเกี่ยวกับไตที่อาการเบื้องต้นจะมีอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลันและปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย อาจมีเลือดปน หรือมีก้อนนิ่วหลุดออกมา บางรายอาจไม่แสดงอาการแต่สามารถตรวจพบได้เมื่อมีการตรวจสุขภาพหรืออัลตร้าซาวน์ โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการสลายนิ่ว ผ่าตัด หรือทานยาปฏิชีวนะ ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็นอยู่ และตำแหน่งที่อยู่ของก้อนนิ่ว
ประเภทของอาการปัสสาวะมาก
กลุ่ม Solute diuresis
เป็นภาวะปัสสาวะมากที่มีต้นตอมาจาก เกิดปริมาณสารบางอย่างที่ดึงน้ำออกจากร่างกาย แล้วกลายเป็นปัสสาวะ โดยที่จะเป็นสาร electrolyte หรือ nonelectrolyte ก็ได้
กลุ่ม Water diuresis
เป็นภาวะที่ปัสสาวะถูกขับออกมาเร็วกว่าปกติ ลักษณะจะเป็นของเหลวที่เจือจางมาก หากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ น้ำผ่านกระบวนการดูดซึมน้อยเกินไปนั่นเอง ซึ่งจะต้องวินิจฉัยด้วยค่า urine osmolality < 250 mosm/kg.
ความสำคัญของค่า ADH
แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว และลดการหลั่งปัสสาวะเรียกชื่อย่อว่า ADH ร้อยละ 70 ของสารในร่างกายคือน้ำ แม้ว่าเราจะดื่มน้ำวันละมากๆ หรือเสียเหงื่อในวันที่มีอากาศร้อนมากๆ แต่ความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายยังปกติ นอกจากการทำงานของไตแล้ว ฮอร์โมนที่สำคัญที่ควบคุมให้ร่างกายมีสารน้ำปกติคือ แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone) วาโซเพรสซิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 9 หน่วย คล้ายกับฮอร์โมนออกซิโทซิน แต่ต่างกันอยู่เล็กน้อย ทำให้การทำงานแตกต่างกันไป ตำแหน่งที่ 8 ของวาโซเพรสซินคือกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) บางครั้งจึงเรียกว่าอาร์จินีนวาโซเพรสซิน
ทำให้สารน้ำในร่างกายปกติ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเหงื่อ อุจจาระร่วง (diarrhea) ฮอร์โมน ADH จะทำให้ร่างกายขับปัสสาวะน้อยลง หรือเมื่อไฮโพทาลามัสรู้สึกว่าร่างกายมีความเข้มข้นของเกลือ (saltiness) มากเกินไป ร่างกายจะหลั่ง ADH มากขึ้น
การเข้มข้นของสารเหลวในร่างกายปกติ
ความเข้มข้นของสารในกระแสเลือดประเภทที่เรียกว่าออสโมลาริติ (osmolarity) เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารโดยรวม รวมทั้งประจุโดยรวม จะส่งสัญญาณผ่านกระแสประสาทไปที่ไฮโพทาลามัส (ซึ่งรู้จักในชื่อ ออสโมรีเซฟเตอร์ (osmoreceptor)) กระตุ้นให้กระแสประสาทให้หลั่ง ADH ในขณะที่ร่างกายสูญเสียสารเหลวหรือเลือดในร่างกายเป็นจำนวนมาก ฮอร์โมน ADH จะหลั่งออกมามากขึ้น ทำให้เส้นเลือดหดตัว เส้นเลือดแคบลงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น
การตรวจวินิจฉัยอาการปัสสาวะมาก
อาการปัสสาวะมากนี้จะไม่ได้มีอันตรายร้ายแรง
บันทึกความถี่ในปัสสาวะ
สังเกตสีและลักษณะอื่นๆ
สังเกตอาการปวดปัสสาวะช่วงเขานอน
ซักประว้ติผู้ป่วย
เมื่อเทียบกับเวลาปกติ อาการที่เกิดขึ้นตอนแรกของการรักษาทุกโรค มีรูปแบบวิธีการที่ไม่ตาย
ตรวจปัสสาวะ
ทีมแพทย์จะทำการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะ 24 ซม.
Urine specific gravity ; ตรวจเบื้อต้นที่ถือว่าง่ายที่สุด
Urine osmolality หากตรวจผู้ป่วยแล้วพบว่ามีค่าน้อยปกติ 250 mosm/kgมีโอกาสที่จะเป็น Water diuresis
Urine glucose การตรวจหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะ
ตรวจเลือด
แม้ว่าจะดูเหมื่อไม่ค่อยเกี่ยว แต่จริง ๆ แล้วเลือดนั้นเป็นเสมือนกุญแจที่ไขความลับ
Serum sodium เป็นการตรวจวัดค่าโซเดียม
กระบวนการ Water deprivation test
นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบภาวะปัสสาวะมากที่มีสาเหตุมาจาก water diuresis โดยจะต้องให้ผู้ป่วยอดน้ำ พร้อมกับวัดปริมาณปัสสาวะ ทุก 1 ชั่วโมง ขณะเดียวกันนี้ก็วัดค่า urine osmolality ไปด้วย จากนั้นก็ตรวจ serum sodium และ plasma osmolality เพิ่มอีกทุก 2 ชั่วโมง
กรณีผู้ป่วยมีภาวะ Center DI หรือมีภาวะเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกาย ใจความสำคัญในการรักษาก็จะเป็นการลดปริมาณปัสสาวะด้วย 3 แนวทาง
Low solute diet : การใช้อาหารที่มีความเข้มข้นต่ำ เพื่อลดการขับปัสสาวะของร่างกาย
Desmopressin : เป็นการใช้สารสังเคราะห์ที่ทำหน้าที่เทียบเท่ากับฮอร์โมน ADH ในร่างกาย โดยจะเริ่มที่ 5 mcg ก่อน แล้วค่อยปรับค่าเพิ่มหรือลดตามความเหมาะสม
กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะ Nephrogenic DI หรือภาวะเบาจืดจากความผิดปกติของหน่วยไต
ใช้ยาในกลุ่ม amiloride ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่ง โดดเด่นในเรื่องของการลดปริมาณน้ำและเกลือแร่ในปัสสาวะ
Desmopressin : ใช้เมื่อรักษาด้วยแนวทางอื่นแล้ว ยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ
AKI คืออะไร
Pre-renal AKI : เป็นภาวะที่ effective arterial blood volume ลดลงอย่างรวดเร็ว มักเกิดกับผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด หรือเสียน้ำอย่างมาก เมื่อร่างกายขาดสมดุลของน้ำและเลือดไป สิ่งที่จะส่งต่อเพื่อไปหล่อเลี้ยงการทำงานของไตก็ลดลง จึงเกิด AKI ขึ้น
Intrinsic AKI : นี่คือการเกิดพยาธิสภาพบริเวณ renal parenchymal โดยจะเกิดขึ้นที่ส่วนไหนก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น tubule , tubulointerstitial , glomerular , vascular
3.Post-renal AKI : มักเป็นอาการอุดตันบริเวณ bladder outlet และการอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะข้างเดียวหรือสองข้าง สามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่าย โดยการใช้อัลตร้าซาวด์
Sepsis-associated AKI : นี่คือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ AKI มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีการติดเชื้อในระบบเลือด ก็จะเกิด arterial vasodilation และ renal vasoconstr iction ตามมา
Postoperative AKI : ส่วนใหญ่แล้ว Postoperative AKI เป็นภาวะที่เกิดมาจากการผ่าตัด หากเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเสียเลือดจำนวนมาก ร่างกายก็ขาดสมดุล ความดันโลหิตต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะส่งผลให้เข้าสู่ภาวะ AKI ได้ง่าย นี่ยังไม่รวมการได้รับพิษจากยาต่างๆ
6.Burn and acute pancreatitis : กรณีนี้จะเป็นการสูญเสียน้ำปริมาณมากอย่างฉับพลัน ทำให้ตับอ่อนเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการผิวไหม้ หรือ ภาวะ BURN มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดในร่างกาย นอกจากการเสียน้ำแล้ว แผลเหล่านี้ก็ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งเพิ่มอัตราการเกิด AKI ได้มากขึ้น
1 more item...
การรักษา อาการปัสสาวะออกน้อย
ป้องกันและลดอัตราการสูญเสียน้ำของร่างกายในทุกกรณี ดูแลเรื่องสารอาหารให้สมดุล และลดในส่วนที่จะเพิ่มโซเดียมให้ร่างกาย เน้นผักผลไม้ให้มากขึ้นกว่าปกติ เพื่อการดีท็อกซ์หรือล้างพิษตามวิถีธรรมชาติ ฝึกวินัยในการปัสสาวะ ไม่อั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
สาเหตุหลักที่สำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงในสตรีเพศเป็นเพราะว่า กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนลง บางทีเรียกกันว่า กระบังลม (เชิงกราน) หย่อน ลองนึกถึงภาพ เปลญวณที่ผูกขึงไว้หย่อนเมื่อมีแรงของน้ำหนักตัวที่ลงไปนั่งนอนยิ่งหย่อนลงไปคล้าย ๆ กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่หย่อนอาจจะดึงท่อปัสสาวะและช่องคลอดหย่อนลงมาด้วยเป็นมุมที่ทำให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมาได้ง่ายนั่นเอง
โรค/กลุ่มอาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital)
ปัสสาวะรดที่นอน (Bed Wetting Enuresis)
ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่จากระบบประสาท (Neurogenic)
ปัสสาวะเล็ดเมื่อออกแรงเบ่ง (Stress Urinary Incontinence)
ปัสสาวะราดกลั้นไม่ได้ (Urge Incontinence)
ปัสสาวะคั่งค้าง
การเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะขาดความยืดหยุ่นและความตึงตัว ทำให้มีการคั่งค้างของปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะบ่อยชนิดกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การคั่งค้างของกระเพาะปัสสาวะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีเพราะน้ำปัสสาวะมีค่าเป็นด่าง
ท่อปัสสาวะอุดตัน
ต่อมลูกหมากโต
โรคเบาหวาน
โรคหลอดเลือด
ภาวะโปรตันในปัสสาวะ
อาการโปรตีนรั่ว หรือเรียกว่า “เนฟโฟรติก” เป็นสัญญาณที่แสดงถึงโรคไตอักเสบ มีการขับโปรตีนชนิดที่เรียกว่าอัลบูมินออกมาทางปัสสาวะมากเกินไป ทำให้เกิดอาการตัวบวมตามมา และจะพบมากในเด็ก ซึ่งอาการบวมที่เกิดจากโปรตีนรั่วจำเป็นต้องได้รับการรักษา
วิธีการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
1.โดยการใช้แทบตรวจปัสสาวะจุ่มในปัสสาวะแล้วเทียบสี จะตรวจพบโปรตีนเมื่อมีปริมาณโปรตีน 300-500 มก ข้อเสียคือไม่สามารถวัดปริมาณโปรตีน
2.วัดปริมาณ Protein ที่ขับออกมาตลอด 24 ชั่วโมงโดยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวันและส่งตรวจหาโปรตีน และค่า Creatinin.
3.การตรวจปัสสาวะหาค่า Protein Creatinine.