Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์, นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน …
การบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์
การจัดการความปวดด้านร่างกาย (Physical Therapy)
1.3 การสัมผัสเเละการนวดเป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ให้ส่งกระแสประสาทไปปิดประตูความปวดที่ไขสันหลังและกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งเอ็นดอร์ฟินไปควบคุม ความปวด การนวดมักจะทำ บริเวณก้นกบโดยใช้มือกดนวดด้วยแรงระดับปานกลาง อาจแนะนำให้มารดาปฏิบัติเองหรือให้สามีหรือญาติช่วยได้
1.4 การประคบด้วยความร้อนเเละความเย็น
การประคบร้อนมักใช้บริเวณหลัง หน้า ไหล่ คอและท้องส่วนล่างความร้อนจะทำให้เกิดการผ่อนคลาย ลดความปวดในการคลอดเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและทำ ให้กล้ามเนื้อคลายตัว
การประคบเย็น ความเย็นจะช่วยลดการไหลเวียนเลือด ลดอุณหภูมิของผิวหนังและกล้ามเนื้อทำ ให้การส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดล่าช้า
1.2 การบำบัดด้วยน้ำ เป็นการให้มารดาแช่ในน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาช่วยให้ผ่อนคลายและลดความปวดในระยะคลอดลดความตึงเครียดเนื่องจากมีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินทำ ให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ไม่ควรเกิน 37 C° การแช่น้ำควรให้มารดาทำเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
1.5 การกระตุ้นปลายประสาท เป็นการส่งกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบริเวณผิวหนัง ซึ่งการใช้เพื่อลดอาการเจ็บครรภ์จะติดขั้วไฟฟ้า 2 คู่ที่บริเวณ Paravertebral ระดับT10 – L1 และ S2 – S4 โดยมารดาสามารถควบคุมการกระตุ้นเองคือ เมื่อกดสวิทซ์เครื่องจะทำ ให้รู้สึกแสบและอาจลดการรับรู้ความปวดเมื่อมดลูกหดรัดตัว
1.1 การจัดท่าและการเคลื่อนไหว พยาบาลควรกระตุ้นให้มารดาได้มีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าทางในขณะเจ็บครรภ์คลอด เช่น การเดินรอบๆ เตียงจะช่วยให้มีความสุขสบายมากขึ้น
การจัดการความปวดด้านจิตใจ
(Psychological Therapy)
2.1 การให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด ป็นกระบวนการให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์การคลอด การระงับปวดระหว่างคลอดด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงการให้มารดามีส่วนร่วมในการวางแผนการคลอดเป็นการตัดวงจรความกลัว ความเครียด ความปวดเพราะช่วยให้มารดามีกระบวนการรับรู้และควบคุมความปวดระหว่างคลอดได้ดีขึ้น
2.2 การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับ
การคลอดเป็นการลดการกระตุ้นที่ทำให้มารดารู้สึกไม่สุขสบาย ทั้งจากภายในร่างกายและจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ความร้อน ความเปียกชื้น แสง เสียง ซึ่งสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ทำ ให้การรับรู้ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้น
2.3 การประคับประคองด้านจิตใจ พยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่สามารถประคับประคองจิตใจเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดระหว่างการคลอดเพื่อให้มารดารู้สึกอุ่นใจ คลายความกลัวและวิตกกังวล
2.4 สุคนธบำบัด เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยเข้มข้นที่สกัดจากพืชมาใช้ในการ ลดความกังวลและการปวดขณะเจ็บครรภ์คลอด อาจนำมาใช้ผสมในการอาบน้ำการนวด หรือใช้สูดดม
2.5 การใช้ดนตรีบำบัด เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือสร้างอารมณ์ให้คล้อยตาม จะทำให้การรับรู้ต่อความปวดลดลง
2.6 การใช้เทคนิคผ่อนคลายและควบคุมการหายใจ
การผ่อนคลายจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่ทารกในครรภ์มากขึ้น ทำให้มดลูกหดรัดตัวดีทำให้ลดความตึงเครียด เเละบรรเทาปวด
การควบคุมการหายใจ
2) ระยะปากมดลูกเปิด 4-7 เซนติเมตร
ให้หายใจแบบตื้นเบาเร็ว (Shallow Chest Breathing) เ
3) ระยะปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร
ให้หายใจแบบตื้น และเป่าออก (Pant-blow Breathing)
1) ระยะปากมดลูกเปิดช้า ให้หายใจ
แบบช้าโดยใช้ทรวงอก (Slow Chest Breathing)
นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23