Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1แนวคิดการพยาบาลบุคคลวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต ( critical…
บทที่ 1แนวคิดการพยาบาลบุคคลวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต ( critical care nursing )
ความหมายของผู้ป่วยวิกฤต
ผู้ป่วยวิกฤต คือ ผู้ที่มีภาวะเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิตหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
ภาวะเจ็บป่วยวิกฤต เป็นภาวะเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ทั้งที่มีการคาดการณ์ล่วงหน้า และที่เกิดขึ้นทันทีทันใดโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งภาวะเจ็บป่วยวิกฤตนี้เป็นภาวะเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
ผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤตอยู่ที่ไหน?
แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (ER หรือ Emergency Room)
หอผู้ป่วยวิกฤติ (ICU หรือ Incentensivecare unit)
หอผู้ป่วยเฉพาะทาง
หอผู้ป่วยทั่วไป
ผู้ป่วยที่ยังมาไม่ถึงโรงพยาบาล
1.2 ความหมายของการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
การพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินและวิกฤติ ภาวะฉุกเฉินและวิกฤติ หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยกาลัง ประสบภาวะคุกคามต่อชีวิตทางด้านร่างกาย (Life-threatening)
การพยาบาลภาวะวิกฤต เป็นการพยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในการดูแลผู้ป่วยทั้งคน ( Total human being )
การพยาบาลภาวะวิกฤต หมายถึง การดูแลบุคลที่มีปัญหาจากการถูกคุกคามของชีวิตโดยเน้นการรักษาประคับประคองทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม ตามภาวะการตอบสนองด้านร่างกาย จิตสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและสามารถปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติได้
1.3 หลักการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต
1.พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตต้องดารงไว้ซึ่งการปฏิบัติพยาบาลที่มีมาตรฐาน
2.พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตต้องมีความรู้ แสวงหาความรู้ที่เหมาะสมและทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
3.พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตต้องเป็นส่วนหนึ่งของสหวิทยาการทีม
( Multidisciplinary team) ต้องประสานงานกับผู้อื่น
4.พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตต้องคานึงถึงการพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว
5.พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตควรยอมรับค่านิยมและความเชื่อ ( value & belief ) ของผู้ป่วย ครอบครัว เพื่อนร่วมงานและตนเอง
1.4 บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวิฤต
ตามกระบวนการพยาบาล
พยาบาลผู้ป่วยวิกฤตนผู้ที่มีความรู้และทักษะสูงทักษะเฉพาะทาง
พยาบาล พยาบาลต้องสามารถทานายปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย
ขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน
1.การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
1 การประเมินปัญหา
ประเมินอาการทั่วไป สัญญาณชีพ สัญญาณทางระบบประสาทและสมอง
เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ
บันทึกข้อมูลการประเมินปัญหาและความต้องการ
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
วิเคราะห์ข้อมูล
กาหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลครอบคลุมปัญหาและความต้องการด้านร่างกายจิตวิญญาณ
ปรับหรือกาหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลใหม่
จาแนกความรุนแรงและจัดลาดับความสาคัญ
บันทึกข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลให้ครอบคลุมปัญหาและความต้องการ
3.การวางแผนการพยาบาล (Planning)
กาหนดแผนการพยาบาลสาหรับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนการพยาบาล
ปรับปรุงแผนการพยาบาลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง/ปัญหาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
สื่อสารแผนการพยาบาลให้ทีมการพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพเข้าใจอย่างทั่วถึง
บันทึกแผนการพยาบาลครอบคลุมตามปัญหา
4.การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ปฏิบัติการพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการในระยะวิกฤตและต่อเนื่องตามแผน
ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วย
ประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
จัดการให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่สอดคล้อง
กับปัญหาและความต้องการ
จัดการเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเป็นไปตามแผน
จัดการการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย Palliative care
บันทึกการปฏิบัติการพยาบาล
5.การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation )
ประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล
วิเคราะห์ผลสาเร็จหรือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความสาเร็จของการปฏิบัติการพยาบาล
ติดตามผลการปฏิบัติการพยาบาลที่มอบหมายแก่สมาชิกทีมการพยาบาลอย่างสม่าเสมอ
ประเมินและสรุปผลการพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและก่อนจาหน่ายทุกราย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัว หรือผู้ดูแลร่วมประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล
บันทึกการประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาล
1.5 กรอบแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต
1.5.1 กรอบแนวคิดในการประเมินผู้ป่วยในระยะวิกฤติ
FANCAS
F Fluid & Electrolyte ประเมินความเพียงพอของการได้รับสารน้าและลักษณะทาง คลินิกที่บอกความสมดุลของสารน้าและเกลือแร่
A Aeration ประเมินการหายใจ/การทางานของหัวใจ/ออกซิเจนในร่างกาย
N Nutrition ประเมินความเพียงพอของสารอาหารที่ผู้ป่วยได้รับ
C Communication ประเมินความสามารถในการสื่อสาร/ความต้องการสื่อสาร
A Activity ประเมินการทากิจกรรม/การเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
S Stimulation ประเมินการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง ความเจ็บ ปวด
15.2กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยวิกฤต
กรอบแนวคิดในการประเมิน (Assessment Framework)
1.Pre -arrival เป็นระยะตั้งแต่ได้รับข้อมูลผู้ป่วยก่อนที่จะได้พบผู้ป่วยจะให้ภาพรวมของผู้ป่วยที่ทาให้มองเห็นปัญหา และความต้องการของผู้ป่วย
Admission Quick Check หมายถึง การตรวจสอบทันทีที่รับผู้ป่วย ซึ่งจะต้องทาทันทีใช้ หลักการประเมิน ABCDE Airway Breathing Circulation , Cerebral perfusion ,and Chief complaint Drugs and Diagnostic tests Equipment
Comprehensive Admission Assessment คือ การประเมินที่ต้องรีบทาให้เร็วที่สุดเท่าที่ สามารถจะทาได้ เป็นการประเมินเชิงลึกถึงประวัติการรักษาในอดีต ประวัติทางสังคม และจากการตรวจร่างกายทุกระบบ
Ongoing Assessment เป็นการประเมินต่อเนื่องตามความต้องการ
•เงื่อนไขเฉพาะตัวของผู้ป่วย
•การรักษา
•การตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วย
โดยสรุป
สิ่งที่พยาบาลต้องตระหนักคานึงถึงที่สุดและตลอดเวลา คือ ความปลอดภัยของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยเฉียบพลัน เป็นวิกฤตที่มีความ วุ่นวาย เป็นเหตุการณ์เร่งด่วน
การประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยวิกฤต
พยาบาลต้องสามารถทานายปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ การพยาบาลเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วได้แต่เดิมหรือแม้แต่ในปัจจุบันก็ตาม
1.6 การดูแลผู้ป่วยวิกฤต
การประยุกต์แนวคิด FASTHUG และ BANDAIDS
กรอบแนวคิด FASTHUG คิดค้นโดย ดร.วินเซ็นต์(Vincent JL)
•การให้อาหาร (feeding, F)
•การดูแลจัดการความปวด (analgesia, A)
•การควบคุม ระบบประสาท (sedation, S)
•การป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในหลอดเลือดดา (thromboembolic prevention, T)
•การจัดท่านอนให้ศีรษะสูงมากกว่า 30 องศา (head of the bed elevated, H)
•การป้องกันการเกิดแผลในทางเดิน อาหารจากภาวะเครียด (stress ulcer prophylaxis, U)
•การควบคุมระดับน้าตาลในเลือด (glucose control, G)
George ได้พัฒนากรอบแนวคิดBANDAIDS
การดูแลเรื่องการขับถ่าย (bowels addressed หรือ increased daily, B)
•การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว (activity, A)
•การส่งเสริม การนอนหลับ (nighttime rest,N)
•การป้องกันความพิการซ้าซ้อนและวางแผนจาหน่าย (disability prevention and discharge planning, D)
•การปกป้องถุงลมปอด (aggressive alveolar maintenance, A)
•การป้องกัน การติดเชื้อ (infection prevention, I)
•การประเมิน และป้องกัน/ดูแลภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium assessment และtreatment, D)
•การดูแลผิวหนังและจิตวิญญาณ (skin และ spiritual care, S)
1.7 ประเด็นกฎหมายและจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยในระยะวิกกฤต
ข้อขัดแย้งทางจริยธรรมในผู้ป่วยวิกฤตนั้นจะคานึงถึงคุณสมบัติ 3ประการ
ปัญหานั้นไม่สามารถแก้ได้โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
ปัญหาที่ก่อให้เกิดความพิศวงหรือสับสน ยากที่จะตัดสินใจโดยใช้ความจริงหรือข้อมูลมาช่วยได้
ผลของปัญหาจริยธรรมนั้นจะต้องกระทบมากกว่าเหตุการณ์ในขณะนั้น
ปัจจัยที่ทาให้เกิดประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมทางการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทัศนคติและความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบริการทางการแพทย์และพยาบาล
ผู้รับบริการบางคนอาจมีอคติต่อวิชาชีพการพยาบาล
พยาบาลบางคนขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ละเลยต่อหลักการและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ระบบการบริหารงานของหน่วยงานหรือองค์กร
ทัศนคติของผู้ร่วมงานในทีมสุขภาพ
ประเด็นจริยธรรมในผู้ป่วยวิกฤตที่พบบ่อย
การบอกความจริง (veracity/ truth telling)
การปกปิดความลับ (confidentiality)
การปกปิดข้อเท็จจริง
การยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (informed consent)
สัมพันธภาพ/ความร่วมมือกับผู้ร่วมงาน (relationship/ cooperation)
การจัดสรรทรัพยากร (allocation of resources)
พันธะหน้าที่ต่อวิชาชีพกับหน้าที่ต่อตนเอง( professional obligation an duty to self)
7.การยืดชีวิตผู้ป่วย (prolong life)
สาเหตุประเด็นจริยธรรม
ความรู้เทคโนโลยีก้าวหน้า
•ค่านิยมการบริโภคเปลี่ยนแปลง-การใช้เทคโนโลยีเกินความจาเป็น
•ทัศนคติความคาดหวังของสังคม ผู้ป่วยต่อวิชาชีพ
•การขาดจริยธรรม ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน
•นโยบายการบริหารงานของหน่วยงานขาดระบบ
•ทัศนคติของทีมสุขภาพ การยอมรับ ให้เกียรติ
•การสื่อสารไม่ชัดเจน
การตัดสินใจเชิงจริยธรรม
เก็บรวบรวมข้อมูล
•กาหนดประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม
•กาหนดและวิเคราะห์ทางเลือก
•ตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติ
•ประเมินผล
รูปแบบการตัดสินใจเชิงจริยธรรมรูปแบบของ DICIDE modelประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน
•D-Define the problem(s):หมายถึง การชี้ให้เห็นถึงปัญหาว่า
•E-Ethical review:หมายถึง การทบทวนปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้นโดยพิจารนาว่าปัญหามีหลักการทางจริยธรรมข้อใด
•C-Consider the options:หมายถึง การพิจารนาถึงทางเลือก
•I-Investigate outcomes:หมายถึง การพิจารนาผลที่ตามมาของแต่ละทางเลือกโดยพิจารนา
D-Decide on action:หมายถึง
การตัดสินใจเลือกปฎิบัติโดยเลือกทางเลือกที่มีข้อดีมากที่สุดและข้อเสียมีน้อยที่สุด
E-Evaluate results:หมายถึง
การประเมินผลลัพธ์ที่ได้ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้หรือไม่
เกณฑ์การประเมินว่าผู้ป่วยวิกฤตคนใดต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ขาดแคลน
ดัชนีโรคร่วมชาร์ลสัน (Charlsoncomorbidity index)
เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลว (sequential organ failure assessment –SOFA)
การประเมินภาวะเปราะบาง (frailty assessment)
3.1 clinical frailty scale
3.2 การประเมินคัดกรองความสามารถในการดาเนินชีวิต (barthelindex for activities of daily living –ADL)
การทดสอบภาวะความรับรู้บกพร่อง (cognitive impairment assessment)