Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขการกระทําของ Skinner - Coggle Diagram
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขการกระทําของ Skinner
แนวคิดของ Skinner
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุน และการลงโทษ
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง
พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป
จำเป็นต้องมีการเสริมแรง
เน้นอธิบายการเรียนรู้ผ่านการเชื่อมโยงกับระบบประสาท
เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เป็น Operant Behavior มากกว่า Respondent Behavior
การเสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)
การให้สิ่งที่บุคคลชอบหรือต้องการเมื่อแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
อาจารย์ให้คะแนนพิเศษเมื่อตอบคำถามถูก
การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement)
การถอนในสิ่งที่บุคคลไม่ชอบหรือไม่ต้องการซึ่งเป็นสิ่งที่เขามีอยู่แล้วเพื่อส่งเสริมหรือเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ถ้านิสิตสอบได้คะแนนเต็มไม่ต้องทำรายงานส่ง
เพื่อเพิ่มความถี่ในการเกิดพฤติกรรมนั้นๆ
แหล่งของการเสริมแรง
แยกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
ตัวเสริมแรงระดับปฐมภูมิ
การตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และความอยู่รอด
อาหารน้ำ ที่อยู่อาศัย เพศสัมพันธ์
ตัวเสริมแรงระดับทุติยภูมิ
เกิดขึ้นจากการจับคู่กับตัวเสริมแรงระดับปฐมภูมิ
การต้องการแสงสว่างในการรับประทานอาหาร
ตัวเสริมแรงแผ่ขยายา
เป็นตัวเสริมแรงที่ผ่านการเชื่อมโยงของตัวเสริมแรงอื่นๆหลากหลายตัว
ต้องการเงิน เพื่อซื้ออาหาร ซื้อบ้าน หรือซื้อสิ่งของจำเป็น
วิธีการเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 วิธี
การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement)
เสริมแรงทุกครั้งที่เคสแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้
การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement)
เสริมแรงเป็นครั้งคราวโดยไม่ให้ทุกครั้งที่เคสแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
เสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
เสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
จะให้ผลดีในด้านที่พฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเกิดขึ้นในอัตราสูงมาก*
พฤติกรรมที่พึงประสงค์จะคงอยู่เป็นเวลานานหลังจากที่ไม่ได้รับการเสริมแรง*
เสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน
การเสริมแรงแต่ละวิธีให้ผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่ต่างกัน*
ข้อสรุปจากการทดลองของ Skinner
การกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก
การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
การเสริมแรงเมื่อเคสกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
การให้รางวัล
การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
การให้ในสิ่งที่บุคคลไม่ชอบหรือไม่ต้องการเมื่อเขาแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ถ้ามีงานกลุ่มแล้วนิสิตคนใดไม่ทำงานกลุ่มช่วยเพื่อนอาจารย์จะให้ทำงานเดี่ยวเพิ่ม
การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)
การถอดถอนสิ่งที่บุคคลชอบหรือต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขามีอยู่แล้ว เมื่อเขาแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
หากนิสิตส่งรายงานช้าอาจารย์จะลดระดับคะแนนของรายงานลง
เพื่อการลดหรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์