Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Close Fracture Neck Right Femur ( คอกระดูกต้นขาหักแบบปิด ) - Coggle…
Close Fracture Neck Right Femur
( คอกระดูกต้นขาหักแบบปิด )
ผลที่เกิดจากกระดูกข้อสะโพกหัก
มีเลือดออกบริเวณปลายกระดูกที่หัก หรือเลือดออกจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆกระดูกหักที่ได้รับอันตราย โดยเฉพาะหากมีการฉีกขาคของเส้นเลือดใหญ่ จำนวนเลือดที่ออกอาจจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง เลือดที่ออกอาจจะอยู่รอบๆบริเวณปลายกระดูกที่หักและรวมตัวกันเป็นก้อนเลือดหรือเลือดอาจจะไหลแทรกซึมเข้าไปขังกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆกระดูกที่หัก ในกรณีที่เป็นกระดูกหักแบบมีบาคแผลร่วมด้วยเลือดอาจจะไหลออกจากบริเวณแผลให้เห็นชัดเจน ถ้าเลือดไหลออกมาอาจจะกระทบกระเทือนต่อระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย จนทำให้เกิดอาการช็อคจากการเสียเลือดได้
การเสียหน้าที่และความมั่นคงของอวัยวะ ซึ่งผลจากการหักของกระดูกจะทำให้รูปร่างและการทำหน้าที่ของกระดูกเสียไป รวมทั้งการเสียหน้าที่ของกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูก เอ็นและเอ็นยึครอบๆกระดูกเสียหน้าที่และความมั่นคงร่วมด้วย
การเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่อยู่รอบๆบริเวณกระดูกที่หัก จะมีผลทำให้เกิดการรับการกระตุ้นจากกระแสประสาทความเจ็บปวด ทำให้เกิดความเจ็บปวดมากการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบกระดูกหักลดลง จนเกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหรือมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นทำให้เจ็บปวดมากขึ้น
อาการและอาการแสดง
เมื่อกระดูกข้อสะโพกหัก เกิดภาวะกระดูกหัก โดยเฉพาะการหักที่เกิดภายในข้อจะทำให้เกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้หัวกระดูกตาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณสะ โพกและต้นขา จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการ เคลื่อนไหวข้อสะโพก มีอาการบวมและมีลักษณะการผิดรูปคือมีการบิดพลิกออกข้างนอก (external rotation) เล็กน้อย ขาข้างที่หักจะสั้นเข้ากว่าปกติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกข้อสะโพกหัก
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระอันเนื่องมาจากความชรา
มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้แก่ ปฏิกิริยาต่อการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆช้าลง ความเสื่อมของระบบประสาทสัมผัสโดยเฉพาะระบบประสาทรับรู้ตำแหน่งและการมองเห็นแย่ลง นอกจากนี้การที่กำลังกล้ามเนื้อค้อยลงร่วมกับการที่ความยืดหยุ่นของข้อต่างๆเปลี่ยนแปลงทำให้โอกาสของการหกล้มเพิ่มมากขึ้น จำนวนโรคหรือความผิดปกติและจำนวนยาที่ใช้ก็มากขึ้นด้วย และมักจะเป็นเหตุหรือเพิ่ม โอกาสของการหกส้มอีก สิ่งแวคล้อมต่างๆทั้งที่อยู่ภายในบริเวณที่พักอาศัยและที่อยู่ภายนอกก่อนข้างไม่เหมาะสมกับการคำรงชีวิต ซึ่งนำไปสู่การหกล้มได้โดยง่ายกว่าวัยอื่นๆ
เนื่องมาจาก 2 สาเหตุดังนี้
สาเหตุภายนอก หมายถึง สิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ว่าจะเป็นภายในหรือนอกบ้าน ซึ่งจะเกี่ยวกับแสง เช่น สว่างที่ไม่เพียงพอ พื้นลื่นขรุขระหรือสิ่งกีดขวาง และผนังหรือที่จับยึดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ
สาเหตุภายใน หมายถึง โรคหรือความผิดปกติต่างๆของร่างกายและจิตใจ รวมถึงผลข้างเคียงจาก ยาที่ได้รับอยู่ ถ้าได้รับจำนวนมากเท่าไร โอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และจัดเป็นปัญหาที่ สำคัญของผู้ป่วย ยาที่มักพบว่าเป็นปัญหา ได้แก่ ยาที่ทำให้ง่วงซึมเป็นผลให้การรับรู้ถคลง และการ ประมวลผลเพื่อการควบคุมการทรงตัวของสมองด้อยลง อาทิ ยาลคน้ำมูก ยานอนหลับ ยาทางจิตเวชและยา ลดความดัน โลหิตบางชนิด นอกจากนี้ยาที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าจากท่านอนหรือท่านั่งเป็น ท่ายืน ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต (กลุ่มยาขับปัสสาวะ ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุของการหกล้มเช่นกัน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
แพทย์จะซักประ วัติเกี่ยวกับการได้รับแรงกระแทก การพลัคตกหกล้มหรือการได้รับอุบัติเหตุชนิดต่างๆ ในผู้สูงอายุแพทย์จะซักประวัติให้ละเอียดมากขึ้นเพราะผู้สูงอายุอาจเกิดกระดูกหักจากการทำกิจวัตรประจำวันปกติได้ เนื่องจากกระดูกผู้สูงอายุมีความเปราะบางมากกว่าปกติอยู่แล้ว
การตรวจร่างกาย
แพทย์จะทำการตรวจร่างกายซึ่งประกอบด้วยการวัคสัญญาณชีพเพื่อประเมินกลุ่มอาการละอองไขมันอุดตัน
(fat embolism syndrome) อาการแสดงที่สำคัญ คือ หายใจเร็วชีพจรเต้นเร็วมีไข้ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าก๊าซในเลือดลคลง เพื่อประเมินความเร่งด่วนของการช่วยชีวิตเพราะส่วนใหญ่กระดูกหักมักมาพร้อมด้วยความเจ็บปวด การ สูญเสียเลือด การ ได้รับบาดเจ็บทางสมองหรืออวัยวะภายใน ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องช่วยชีวิตหรือช่วยทำการฟื้นคืนชีพก่อน การรักษากระดูกหักจึงเป็นเรื่องตามมาในภายหลังหรืออาจกระทำไปพร้อมๆกันกับการรักษาชีวิตก็ได้ ขึ้นกับข้อบ่งชี้ตามหลักทางการแพทย์ นอกจากนี้การตรวจร่างกายของแพทย์ยังประกอบด้วยการคลำ เป็นการตรวจดูชีพจร เพื่อประเมินภาวะกลุ่มอาการช่องปิด (compartment syndrome) ซึ่งอาการแสดงที่สำคัญคือ ปวด (pain) ซีด (pallor) ชา(paresthesia) อ่อนแรง (paralysis) และ ไม่มีชีพจรที่หลังเท้า (pulseless) การดูด้วยตาเปล่าเพื่อหาตำแหน่งการหักของกระดูก ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงและบริเวณที่ได้รับบาคเจ็บ
การถ่ายภาพรังสี
เป็นการหาตำแหน่งและยืนยันตำแหน่งกระดูกหัก จำแนกชนิดของกระดูกหักได้ชัดเจนที่สุด ทั้งนี้แพทย์จะสั่งให้ถ่ายภาพรังสีตำแหน่งที่มีกระดูกหักหรือคาคว่ากระดูกหักในหลายๆท่านำมาใช้ในการวางแผนการรักษาได้เป็นอย่างดี
Film X-RAY กรณีศึกษา
การตรวจความหนาแน่นของกระดูก
เป็นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน
การรักษา
เมื่อผู้ป่วยเกิดกระดูกข้อสะโพกหักจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วจึงจะเป็นผลดี เนื่องจากสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากกรนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานๆได้ เช่น ปอดบวม แผลกคทับและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกาย และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม มี 2 ชนิด
คือ แบบใช้ซีเมนต์ (cemented) และแบบไม่ใช้ซีเมนต์ (uncemented) การผ่าตัดเปลี่ยน
ข้อสะโพกเทียมที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
การเปลี่ยนเฉพาะหัวกระดูกต้นขาอย่างเดียว
(hemiarthroplasty prosthesis) เป็นข้อเทียมที่ ใช้ในผู้ป่วยที่หัวกระดูกต้นขาหักโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ ข้อเทียมนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
แบบ unipolar
ได้แก่ ข้อเทียมมัวร์ (Moore's prosthesis) และข้อเทียมทอมสัน (Thompson's prosthesis) ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับซีเมนต์กระดูกหรือไม่ก็ได้
แบบ bipolar
เป็นข้อเทียมที่ออกแบบขึ้นเพื่อลดการเกิดการสึกกร่อนของเบ้าสะโพก (acetabulum) เนื่องจากการใช้ข้อเทียมประเภท unipolar หัวกระดูกต้นขามีพลาสติกที่มีคุณสมบัติทนทานคลุมไว้
การเปลี่ยนส่วนของข้อสะโพกทั้งค้านเข้าและหัวกระดูกต้นขา (total hip replacement) นิยมใช้ กันมากในปัจจุบัน ส่วนของเบ้าทำมาจากพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง และส่วนของหัวกระดูกและด้ามทำ จากเหล็กไร้สนิมหรือไททาเนียม เป็นต้น โดยมีลักษณะและขนาดแตกต่างกันออกไป ซึ่งการเลือกขนาดของ จากเหล็กไร้สนิมหรือไททาเนียม เป็นต้น โดยมีลักษณะและขนาดแตกต่างกันออกไป ซึ่งการเลือกขนาดของ เบ้าขึ้นอยู่กับขนาคของหัวกระดูกต้นขาเทียมที่ใช้ โดยให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในเท่ากับขนาดของหัว แต่ละชนิด
การพยาบาลผู้ป่วยข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
1) เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยด้านร่างกายและจิตใจ
เริ่มตั้งแต่การซักประวัติต่างๆ เช่น ประวัติการ เจ็บป่วยปัจจุบัน
โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา การแพ้ยาแพ้อาหาร
ประวัติความเจ็บป่วยทางครอบครัว ประวัติทางสังคมและสิ่งแวคล้อม ศาสนา ความเชื่อส่วนบุคคล ผู้ดูแลที่บ้าน
2) การตรวจร่างกายเพื่อประเมินพยาธิสภาพของโรค
สัญญาณชีพ ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายรังสีกระดูกและปอดการตรวจคลื่นหัวใจ ชั่งน้ำหนักตัวผู้ป่วยเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการใช้ยาระงับความรู้สึก ด้านจิตใจผู้ป่วยมักมีความวิตกกังวลต่อพาธิสภาพของโรค การผ่าตัด การปฏิบัติตนหลังผ่าตัด เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยร่วมมือในการรักษาจึงควรสร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่ผู้ป่วยและญาติ โดยแนะนำตนเอง สถานที่และสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย
3) อธิบายถึงพยาธิสภาพของโรค แผนการรักษาให้คำแนะนำการปฏิบัติตนก่อนผ่าตัด เช่น การไอและการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ การงดน้ำอาหารและยาทางปากทุกชนิดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
4) การถอดเครื่องประดับต่างๆและฟันปลอมออกก่อนเข้าห้องผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
1) เมื่อรับผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัด ประเมินสภาพผู้ป่วย ติดตามสัญญาณชีพ จัดท่านอนโดยให้ผู้ป่วยนอนราบบนเตียง ตะแคงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสูดสำลัก
2) ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ จัดท่านอนโดยให้นอนกางขาประมาณ 30 องศา เพื่อป้องกันข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุด
3) ประเมินลักษณะของแผล สังเกตภาวะช็อคจากการเสียเลือดโดยสังเกตจากแผลผ่าตัด สายระบายเลือด (redivac drain) และสัญญาณชีพ
4) ให้สารน้ำทางหลอดเลือดคำตามแผนการรักษา ประเมินระดับความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา ดูแลแผลผ่าตัดให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ ทำความสะอาคแผลเมื่อแผลเปียกหรือสกปรกด้วยวิธีปราศจากเชื้อ
5) แนะนำการบริหารร่างกาย เริ่มตั้งแต่การบริหารปอดโดยวิธีการฝึกหายใจที่มีประสิทธิภาพป้องกันปอดแฟบ ปอคติดเชื้อจากการขยายตัวของปอดลลงฝึกกายภาพบำบัดเดิน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน บริหารกล้ามเนื้อขาและข้อต่างๆเพื่อให้แข็งแรง
กายวิภาคศาสตร์และพยาธิสภาพ
กระดูกข้อสะโพก
ทำหน้าที่ เป็นข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขาทำหน้าที่งอเหยียดในเวลานั่ง เดิน ยืนหรือนอน ทำหน้าที่รับน้ำหนักในทุกอิริยาบถของร่างกาย เมื่อกระดูกสะโพกผ่านการใช้งานเป็นเวลานานหรือเกิดพยาธิสภาพจากสาเหตุอื่นทำให้เกิดการสึกหรอของผิวข้อหรืออาจเกิดการทรุดตัว ของหัวกระดูกต้นขาได้ ดังนั้นกระดูกข้อสะโพกหัก จึงหมายถึง การหักบริเวณส่วนต้นของกระดูกต้นขาอันประกอบด้วยส่วนของหัวกระดูกและเบ้าของข้อสะโพก
สามารถแบ่งตามตำแหน่งที่หักเป็น 2 ชนิดได้แก่
การหักของกระดูกข้อสะโพกที่เกิดขึ้นภายในช้อและเบ้าสะโพก (intracapsular) หรือการหักของคอกระดูกต้นขา(neck of femur) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ การหักบริเวณแนวใต้หัวกระดูกต้นขา(subcapsular fracture) การหักผ่านบริเวณแนวของคอกระดูกโคนขา(trancervical fracture) และการหักบริเวณแนวใต้คอกระดูกต้นขา(basal neck fracture)
การหักของกระดูกข้อสะโพกที่เกิดขึ้นภายนอกข้อ และเบ้าของข้อสะ โพกบริเวณปุ่มกระดูกต้นขาใหญ่และปุ่มกระดูกต้นขาเล็กจากคอกระดูกต้นขาประมาณ 5 เซนติเมตรเรียกการหักชนิดนี้ว่าการหักของกระดูกโคนขาระหว่างปุ๊มกระดูกต้นขา (intertrochanteric fracture) และอาจรวมถึงบริเวณใต้กระดูกต้นขาระหว่างปุ่มกระดูกต้นขา
ข้อมูลทั่วไปของกรณีศึกษา
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 82 ปี แต่งงานแล้ว ไม่ได้ประกอบอาชีพ
อาการสำคัญ :
ลื่นล้มในห้องน้ำ ปวดสะโพก เดินไม่ได้ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน :
9 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ลื่นล้มในห้องน้ำ ปวดสะโพกข้างขวา เดินไม่ได้ หัวไม่กระแทกพื้น เดินไม่ได้ ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต :
มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน , โรคไขมันในเลือดสูง
การวินิจฉัยโรค :
Closed Fracture neck of right femur ( คอกระดูกต้นขวาหักแบบปิด )
การผ่าตัด :
Bipolar Hemiarthroplasty right ( การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบบางส่วน )