Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่7 พยาธิสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
บทที่7 พยาธิสรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร
สรีรวิทยาระบบทางเดินอาหาร
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การย่อยและการดูดซึมในลำไส้เล็ก โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่
น้ำย่อยมอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส (ข้าว มัน )
น้ำย่อยซูเครส (sucrase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส (sucrose) ให้เป็นกลูโคสกับ
ฟรุกโทส (fructose) (ผลไม้)
น้ำย่อยแล็กเทส (lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose) (นม )
ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่รับกากอาหารที่ย่อยเสร็จแล้วจากลำไส้เล็ก เพื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายของระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมน้ำและวิตามินบี 12 ที่แบคที่เรียในลำไส้ใหญ่สร้างขึ้น ดูดซึมแร่ธาตุและกลูโคสที่ยังหลงเหลือกลับเข้าสู่กระแสเลือด ผลักดันกากอาหารสู่ไส้ตรง (ลำไส้ใหญ่ส่วนสุดท้าย) เพื่อขับออกทางทวารหนักต่อไป
กระบวนการเมตาบอลิซึม
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก
กระบวนการที่นําอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว
การดูดซึมในลำไส้ใหญ่
อาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือย่อยไม่ได้เช่น เซลลูโลส
ความผิดปกติของการย่อยและการดูดซึมอาหาร
ความผิดปกติในการดูดซึม (Malabsorption)
ความผิดปกติในการดูดซึมสารอาหารในลําไส้เล็ก แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ มีความผิดปกติในการย่อย (maldigestion) และความผิดปกติในการดูดซึม(malabsorption)
การขาด pancreatic enzymes (pancreatic Insufficiency)
การขาด pancreatic enzyme ที่หลั่งจากตับอ่อน ซึ่งเกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มะเร็งของตับอ่อน การถูกผ่าตัดตับอ่อน และ Cystic fibrosis การขาด pancreatic bicarbonate ในduodenum และ jejunum ทําให้เกิด pH ตํ่า มีสภาพเป็นกรดซึ่งทําให้การย่อยอาหารเลวลง เพราะ ไปขัดขวางการทํางานของ pancreatic enzymes ที่ยังมีอยู่
การขาด lactase (lactase deficiency)
สาเหตุ เกิดจากการขาด lactase (lactase deficiency) ทําให้ไม่สามารถย่อยlactase ซึ่งเป็นนํ้าตาลที่อยู่ในนม (milk sugar) ให้เป็น monosaccharides และรบกวนการย่อยและการดูดซึม lactase บริเวณผนังลําไส้เล็กๆ
การขาด bile salt (bile salt deficiency)
สาเหตุเกิดจาก1. โรคตับ ลดการสร้าง bile salts การอุดตันของท่อนํ้าดี (common bile duct) ทําให้bile ไปสู่ duodenum ลดลง 2. โรคของ ileum รบกวนการดูดซึมกลับ bile salts
ภาวะผิดปกติของโภชนาการ
ภาวะทุพโภชนาการ(Malnutrition)เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารในปริมาณที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆส่งผลให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ภาวะที่มีโภชนาการเกิน (Overnutrition)
ได้แก่ โรคอ้วน
ภาวะขาดสารอาหาร (Under nutrition or nutritional deficiency)
การขาดโปรตีนและพลังงาน
Anorexia nervosa and bulimia
ภาวะขาดวิตามิน
โรคขาดวิตามินเอ ทําให้ตาบอดกลางคืน
โรคขาดวิตามินบีหนึ่งเกิดโรคเหน็บชา
โรคขาดวิตามินบีสองเกิดโรคปากนกกระจอก
โรคขาดวิตามินซี เกิดโรคลักปิดลักเปิด
โรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส จะเป็นโรคกระดูกอ่อน
โรคขาดธาตุเหล็กจะเป็นโรคโลหิตจาง
โรคขาดธาตไอโอดีนจะเป็นโรคคอพอก
โรคในระบบทางเดินอาหาร
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ความผิดปกติของผนังทางเดินอาหาร
ไส้เลื่อน (hiatal hernia)
เป็นความผิดปกติของ diaphragm เกิดการดันหรือเลื่อนของกระเพาะอาหารส่วนบนเข้าไปในช่องอก
ไส้เลื่อนกระบังลมSliding hiatal hernia
เกิดจากกระเพาะอาหารเลื่อนเข้าสู่ช่องอกผ่านทาง esophageal hiatus ซึ่งเป็นทางเปิดของ diaphragm
ปัจจัยที่ทําให้เกิด
มีหลอดอาหารสั้นมาแต่กําเนิด
ได้รับบาดเจ็บหรือความอ่อนแอของกล้ามเนื้อกระบังลม
มีการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง การไอ โก่งตัวหรืองอตัว
การใส่เสื้อผ้าคับแน่นเกินไป
ascites หรือการตั้งครรภ์
ไส้เลื่อนกระบังลมหลอดอาหาร Paraesophageal hiatal hernia
เป็นการเลื่อนของ greater Curvature ของกระเพาะอาหารผ่านเข้าไปทางรูเปิดของ diaphragmโดยกระเพาะอาหารที่ถูกดันเข้าไปในช่องอก รอยต่อระหว่างหลอดอาหาร
การตรวจวินิจฉัย hiatal hernia
barium swallowing
endoscopy
chest X-ray
อาการและอาการแสดง
ช่วงแรกผู้ป่วย ไม่มีอาการแสดง
กลืนลําบาก ขย้อน (reflux)
จุกเสียดอกหรือปวด epigastrium แน่นใต้ sternum หลังรับประทานอาหาร
กระเพาะอาหารอักเสบ
ชนิดเฉียบพลัน (acute, erosive, hemorrhagic gastritis)
-เป็นการอักเสบเยื่อบุกระเพาะอาหารแบบ
เฉียบพลัน -พบ mucosa บวมแดง มีจุดเลือดออก
และหลุดลอกของ mucosa เป็นแผลตื้นๆ -โรคกระเพาะอาหารที่เป็นในระยะสั้นๆ ไม่
เกิน 1-2 สัปดาห์ก็หาย
สาเหตุ
รับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด
สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้ามาก
การติดเชื้อ
อาการ
ปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่
แสบร้อนกลางหน้าอก จุกหน้าอก แน่นท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
ในรายที่รุนแรง มีอาเจียนเป็นเลือดถ่ายดํา
ชนิดเรื้อรัง (chronic, nonerosive gastritis)
เป็นการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุ mucosa ร่วมกับมี mucosal atrophy และ epithelial metaplasia
เป็นโรคกระเพาะอาหารที่เป็นนานเป็นเดือนหรือเป็นปี
สาเหตุ
การติดเชื้อ helicobacter pylori
ภาวะทางภูมิคุ้มกัน มี antibody ทําลาย parietal cells
การผ่าตัด post antrectomy ทําให้นํ้าดีไหลย้อนจากลําไส้เล็กส่วนต้นมาระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร
การดื่มเหล้ามาก สูบบุหรี่จัดเป็นประจํา
ตําแหน่งของการอักเสบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
Type A พบการอักเสบบริเวณ fundus
Type B เป็นการอักเสบเรื้อรังทั่วทั้งกระเพาะอาหาร
Superficial gastritis มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ
ส่วนบนประมาณ 1/3 ของ mucosa
Atrophic gastric มีพยาธิสภาพลึกทั้งหมดของmucosa ทําให้มีการฝ่อ (atrophy) ของ gastric glands มีการสูญเสีย chief และ parietal cells
Gastric atrophy มีการสูญเสีย gastric glands ทั้งหมด แต่มีการอักเสบเพียงเล็กน้อย mucosa จะบาง
การรักษาทางยา
antacids
Sucralfate (carafate)
H2 blockers หรือ prostaglandins
ขจัดสาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น ยาภาวะติดเชื้อ
แผลในทางเดินอาหาร (Peptic ulcer disease)
กลไกการเกิดพยาธิสภาพ
การขาดสมดุลของสารคัดหลั่งจากกระเพาะอาหาร คือ hydrochloric acid และ pepsin กับฝ่ายทําหน้าที่ป้องกัน
ปัจจัยที่มีผล
ฮอร์โมน
ความเครียดทางอารมณ์ เพิ่มการหลั่งนํ้าย่อย
ยาบางชนิด
anti-inflammatory agents
cafeine
phenylbutazone
chemotherapeutic agents
alcohol
aspirin
ชนิดของแผล
แผลในทางเดินอาหารจากภาวะเครียด (Stress ulcer)
แผลในกระเพาะอาหาร
แผลในลําไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal ulcer)
Ulcerative colitis
เป็นการอักเสบของลําไส้ใหญ่เรื้อรัง และเป็นๆหายๆ เกิดที่ rectum และอักเสบตลอดลําไสใหญ่
อาการ
ถ่ายเป็นเลือดและท้องเสีย มีไข้ ปวดท้อง
เสี่ยงต่อการเกิด toxic megacolon และ perforation
ถุงผนังลําไส้อักเสบ (Diverticulitis)
เป็นการอักเสบของกระเปาะเยื่อบุลําไส้ใหญ่ มีถุงยื่นผ่านผนังลําไส้ หลายอันขนาด 0.5-1 ชม. มักพบที่ distal colon เกิดจาก focal weaknessของ bowel wall และมีการเพิ่มของความดันในลําไส้มาก
การขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ และโรคเกี่ยวกับระบบขับถ่ายอุจจาระ
ท้องผูก (constipation)
ท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระลําบาก อุจจาระแข็ง ถ่ายอุจจาระน้อยครั้งกว่าที่เคยเป็นปกติ หรือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะเรียกว่ามีอาการท้องผูก
Diverticula disease
เป็นการที่ mucosa มีการเลื่อนหรือมีลักษณะคล้ายถุงยื่นเป็นติ่งออกไปออกไปจาก muscle laye ของผนัง colon
ความผิดปกติของความเคลื่อนไหว
GERD กรดไหลย้อน เป็นภาวะที่กรดหรือนํ้าย่อยในกระเพาะไหล ย้อนกลับผ่าน lower esophageal sphincter (LES) จนทําให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร
Achalasia
ความผิดปกติของการบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร และ lesion associated with motor function
พยาธิสภาพที่พบ คือ มี motor neuron ที่ผนังหลอดอาหารลดลง มีการขยายของหลอดอาหาร
ท้องเสีย (Diarrhea)
ท้องเสียถ่ายอุจจาระมีปริมาตรมาก มักเกิดจากการมีปริมาณนํ้าและสารคัดหลั่งเป็นจํานวนมากในลําไส
แบ่งตามกลไกการเกิด
Secretory diarrhea
Osmotic diarrhea
Motility diarrhea