Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปทฤษฎีการจัดการเรียนรู้, นายธนพล ชนีมาส …
สรุปทฤษฎีการจัดการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.1 จุดเด่นของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response)
1.2 ผู้นำที่สำคัญของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
พาฟลอฟ (Ivan Pavlov)
ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike)
สกินเนอร์ (B.F.Skinner)
1.3 ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
พฤติกรรมแต่ละพฤติกรรมเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระ
แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
1.4 พฤติกรรมของมนุษย์
พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior)
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(Classical Conditioning Theory)
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior)
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
(Operant Conditioning Theory)
เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล
1.5 แหล่งที่มา
https://hongyokyok.wordpress.com/ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
2.1 จุดเด่นของกลุ่มพุทธินิยม
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น
2.2 ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
2.3 ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไป
สู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
2.4 ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน ( Tolman)
การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไป
สู่จุดหมายปลายทาง
2.5 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Intellectual Development Theory)
เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner)
มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการ
การค้นพบด้วยตนเอง
2.6 ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(A Theory of Meaningful Verbal Learning)
ของออซูเบล(Ausubel)
การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน
2.7 แหล่งที่มา
http://034wilasinee.blogspot.com/2018/07/cognitivism.html
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์
3.1 จุดเด่นของกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างมากกว่า การรับความรู้
3.2 กลุ่มของคอนสตรัคติวิสต์
กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism)
กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (Social constructivism)more
3.3 เงื่อนไขการเรียนรู้ตามแนวคิดของตามกลุ่มแนวคิด
คอนสตรัคติวิสต์
การเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิบัติ (Active process)
ความรู้ต่างๆจะถูกสร้างขึ้นด้วยตัวของผู้เรียนเอง
ความรู้และความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีและประสบการณ์ของผู้เรียน
3.4 แหล่งที่มา
http://www.finding.co.th/it-solutions/human-resources-hr/14-it-solutions/human-resources-hr/85-constructivist-theory.html
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนเน็กติวิสต์
4.1 จุดเด่นของกลุ่มคอนเน็กติวิสต์
ผู้เรียนทำการเชื่อมต่อกับข้อมูลและการป้อนเข้าไปในชุมชนแห่งการเรียนรู้
4.2 กรอบแนวคิด
การเรียนรู้และความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
การเรียนรู้เป็นกระบวนการจากสารสนเทศ
การเรียนรู้อาจอยู่ในเครื่องมือที่ไม่ใช่มนุษย์
ความสามารถในการแสวงหาความรู้มีความสำคัญกว่าความรู้
การเชื่อมโยงความจำจะทำให้เกิดความรู้อย่างต่อเนื่อง
ความคิดและแนวคิดถือเป็นทักษะหลัก
การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้
การตัดสินใจถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4.3 แหล่งที่มา
http://praewa.ksu.ac.th/new2017/file/20170317_9898949472.pdf
การเรียนรู้ตามทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาสังคม
5.1 จุดเด่นของการเรียนรู้ตามทัศนะของกลุ่มจิตวิทยาสังคม
ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้
5.2 บทบาทสำคัญ
การเรียนจะอยู่ที่ว่าผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งพบว่า การเรียนแบบร่วมมือมีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
5.3 การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน
5.4 การเรียนรู้แบบแข่งขัน
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้รวมกลุ่ม เพื่อทำงานร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สมาชิกในแต่ละทีมจะประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน คือ ความสามารถสูง ปานกลาง
และต่ำ
5.5 แหล่งที่มา
https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/introduction_to_teaching/07.html
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในคาบ
6.1 การใช้สีในการสร้าง Infographic
6.2 ทบทวนทฤษฎีการเรียนรู้
6.3 การสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน
6.4 เทคนิคการสอนในการดึงดูดเข้าสู่เนื้อหา
6.5 พูดเกี่ยวกับการสร้างใบงานเบื้องต้น
นายธนพล ชนีมาส รหัสนักศึกษา 6181135012
สาขาวิชา คอมพิวเตอร์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช