Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดการความปวดของมารดาในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา, นางสาวอัสวานา โต๊ะหลงหมาด…
การจัดการความปวดของมารดาในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
บทบาทพยาบาลในการการประเมินความปวดของมารดาในระยะคลอด
การประเมินความปวดจากการสังเกตพฤติกรรม
(Behavioral Responses)
สังเกตจากพฤติกรรม ที่แสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหวทางลำตัว แขนขา การส่งเสียง ร้องไห้ เกร็งตัว ตัวสั่น เป็นต้น
การประเมินความปวดจากการรับรู้ของผู้ป่วย
(Self-report)
ซักถามและให้มารดาบอกเล่าความปวด
ของตนเอง
การประเมินชนิดนี้สามารถประเมินตำ แหน่งที่ปวด ความรุนแรงลักษณะของความปวดและระยะเวลาที่ปวดได้ เพราะ มารดาเป็นผู้ให้ข้อมูลด้วยตนเอง
การประเมินความปวดจากการตอบสนองทางสรีร
วิทยา (Physiological Responses)
ประเมินจากสัญญาณชีพ ได้แก่ HR และ RR ความดันโลหิตสูงขึ้น มีเหงื่อออกบริเวณฝ่ามือ
การลดปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
การจัดการความปวดด้านร่างกาย (Physical Therapy)
1.1 การจัดท่าและการเคลื่อนไหว (Positions and Maternal Movement)
พยาบาลควรกระตุ้นให้มารดาได้มีการเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนท่าทางในขณะเจ็บครรภ์คลอด เช่น การเดินรอบ ๆ เตียง จะช่วยให้มีความสุขสบายมากขึ้น
การเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนท่าทางขึ้นอยู่กับความสะดวกของมารดาที่จะตัดสินใจเลือกท่าที่เหมาะสม
ในระยะที่หนึ่งของการคลอด หากให้มารดาอยู่ในท่าลำตัวตั้งตรง (Upright Position) อาจจะช่วยให้ระยะเวลาของระยะที่หนึ่งสั้นลง
การจัดท่าลำตัวตั้งตรงหรือท่านอนตะแคง (Side-Lying) จะช่วยลดระยะเวลาของระยะที่สอง และช่วยลดความปวดได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาผลของการบริหารการหายใจร่วมกับการจัดท่าศีรษะสูงต่อความเจ็บปวด
1.2 การบำบัดด้วยน้ำ (Hydrotherapy Wifer Irnrnersion)
เป็นการให้มารดาแช่ในน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ช่วยให้ผ่อนคลาย และลดความปวดในระยะคลอด ลดความตึงเครียด เนื่องจากมีการหลั่งสารเอ็นเดอร์ฟินทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น
อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ไม่ควรเกิน 37 องศาเซลเซียส
การแช่น้ำควรให้มารดาทำเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
1.3 การสัมผัสและการนวด (Touch & Massage)
เป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ ให้ส่งกระแสประสาทไปปิดประตูความปวดที่ไขสันหลัง และกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งเอ็นดอร์ฟินไปควบคุมความปวด
การนวดมักจะทำบริเวณก้นกบ โดยใช้มือกดนวดด้วยแรงระดับปานกลาง อาจแนะนำให้มารดาปฏิบัติเอง หรือให้สามี หรือญาติช่วยได้
1.4 การประคบด้วยความร้อนและความเย็น (Application of Heat and Cold)
วิธีนี้เป็นการนำความร้อนหรือความเย็นมาประคบบริเวณต่างๆของร่างกาย ซึ่งการประคบร้อนมักใช้บริเวณหลังหน้าไหล่ คอ และท้องส่วนล่าง
ความร้อนจะทำให้เกิดการผ่อนคลายลดความปวดในการคลอด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
การประคบเย็น จะช่วยลดการไหลเวียนเลือด ลดอุณหภูมิของผิวหนัง และกล้ามเนื้อ ทำให้การส่งกระแสประสาทความเจ็บปวดล่าข้า
การประคบร้อน และเย็นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังมารดาโดยตรง เพื่อป้องกันอันตรายต่อบริเวณผิวหนังที่วาง อาจใช้ผ้ารองบริเวณผิวหนังตำแหน่งที่จะประคบก่อน
1.5 การกระตุ้นปลายประสาท (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation: TENS)
เป็นการส่งกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบริเวณผิวหนัง ซึ่งใช้เพื่อลดอาการเจ็บครรภ์
จะติดขั้วไฟฟ้า 2 คู่ที่บริเวณ Paravertebral ระดับ T10-L1 และ S2-S4 โดยมารดาสามารถควบคุมการกระตุ้นเองคือเมื่อกดสวิทซ์เครื่องจะทำให้รู้สึกแสบ และอาจลดการรับรู้ความปวดเมื่อมดลูกหดรัดตัว
การจัดการความปวดด้านจิตใจ (Psychological Therapy)
2.3 การประคับประคองด้านจิตใจ (Continuous Labor Support)
พยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่สามารถประคับประคองจิตใจเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างการคลอด เพื่อให้มารดารู้สึกอุ่นใจ คลายความกลัว และวิตกกังวล ซึ่งจะมีผลให้ทนต่อความปวดได้เพิ่มขึ้น
2.4 สุคนธบำบัด (Aromatherapy)
เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยเข้มข้นที่สกัดจากพืชมาใช้ในการ ลดความกังวล และการปวดขณะเจ็บครรภ์คลอด อาจนำมาใช้ผสมในการอาบน้ำ การนวด หรือใช้สูดดม
อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ผื่นคัน จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยใช้ปริมาณที่น้อยที่สุดและไม่ควรใช้บ่อย
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกุหลาบ มะลิ และลาเวนเดอร์ ช่วยส่งเสริมให้ผ่อนคลาย และลดความปวด
2.2 การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำ หรับการคลอด (Birth Environment)
เป็นการลดการกระตุ้นที่ทำ ให้มารดารู้สึกไม่สุขสบาย ทั้งจากภายในร่างกาย และจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ความร้อน ความเปียกชื้น แสง เสียง
ดูแลความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนผ้าปูที่นอนให้สะอาด การปรับอุณหภูมิห้องคลอดให้เหมาะสม ลดเสียงรบกวน จะทำให้มารดาพักผ่อนได้
2.5 การใช้ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
อาศัยหลักการกระตุ้นระบบประสาทการได้ยิน เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หรือสร้างอารมณ์ให้คล้อยตาม ทำให้การรับรู้ต่อความปวดลดลง
ให้มารดาเลือกเพลง และควบคุมเสียงเพลงเอง ดนตรีที่ใช้ในการลดความปวดจะต้องมีความเร็วของจังหวะอยู่ระหว่าง 60-80 ครั้งนาที มีเสียงนุ่ม และไพเราะ
2.1 การให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด (Childbirth Education)
เป็นกระบวนการให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด การระงับปวดระหว่างคลอดด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงการให้มารดามีส่วนร่วมในการวางแผนการคลอด
เป็นการตัดวงจรความกลัว ความเครียด ความปวด เพราะช่วยให้มารดามีกระบวนการรับรู้ และควบคุมความปวดระหว่างคลอดได้ดีขึ้น
2.6 การใช้เทคนิคผ่อนคลาย และควบคุมการหายใจ (Relaxation & Breathing Techniques)
2.6.2 การควบคุมการหายใจ เป็นวิธีการเบี่ยงเบนความปวดจากการหดรัดตัวของมดลูก
ระยะปากมดลูกเปิดช้าให้หายใจแบบช้า (Slow Chest Breathing) เมื่อมดลูกหดรัดตัว ให้หายใจล้างปอด 1 ครั้ง แล้วหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆประมาณ 6-9 ครั้ง / นาทีตามด้วยหายใจล้างปอด 1 ครั้ง
ระยะปากมดลูกเปิด 4-7 เซนติเมตร ให้หายใจแบบตื้น เบา เร็ว (Shallow Chest Breathing) เมื่อมดลูกหดรัดตัวให้หายใจล้างปอด 1 ครั้ง ต่อด้วยหายใจเข้า-ออกช้า ๆ ทางปาก-จมูก เมื่อมดลูกหดรัดตัวเต็มที่ให้หายใจแบบตื้น เบา เร็ว 40 ครั้ง / นาทีต่อด้วยหายใจเข้า-ออกช้า ๆ เมื่อมดลูกคลายตัวให้หายใจล้างปอด 1 ครั้ง
ระยะปากมดลูกเปิด 8-10 เซนติเมตร ให้หายใจแบบตื้น และเป่าออก (Pant-blow Breathing) เมื่อมดลูกหดรัดตัวให้หายใจล้างปอด 1 ครั้ง และหายใจเข้าทางปากตื้น ๆ เร็ว ๆ เบา ๆ 4 ครั้ง ตามด้วยเป่าออกทางปาก 1 ครั้ง ทำไปเรื่อย ๆ จนมดลูกคลายตัว แล้วให้หายใจล้างปอด 1 ครั้ง
2.6.1 การผ่อนคลาย
ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่ทารกในครรภ์มากขึ้น
ทำให้มดลูกหดรัดตัวดี ช่วยลดความตึงเครียด และบรรเทาความปวดได้
การผ่อนคลายจะลดการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธทิค แต่เพิ่มการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเธทิค ทำให้หลอดเลือดขยายตัวลดการหลั่งแคททิโคลามิน และอิพิเนพหิน ส่งผลให้ความปวดลดลง
การผ่อนคลายที่นิยมให้มารดาปฏิบัติ คือ การเกริ่ง และคลายกล้ามเนื้อ เริ่มตั้งแต่หัวแม่เท้า จรดศีรษะ จนทั่วร่างกาย
การใช้เทคนิคผ่อนคลายมีความสัมพันธ์กับการบรรเทาความปวดในระยะปากมดลูกเปิดช้าและระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
นางสาวอัสวานา โต๊ะหลงหมาด เลขที่ 99 ปี 3