Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-Centered…
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(student-Centered Instruction)
1.เเบบเน้นตัวผู้เรียน
1.1 การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
( Individualized Instruction)
หลักการ
ผู้เรียนแต่ละคนมีภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด แบบการเรียนรู้ ความสนใจ และความต้องการไม่เหมือนกัน การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับภูมิหลังของผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียน และสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและพัฒนาไปตามความสามารถและศักยภาพของแต่ละบุคคล
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ หมายถึง การจัดสภาพการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยการคำนึงถึงภูมิหลัง สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด แบบการเรียนรู้ ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีการวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคล โดยใช้แบบสอบหรือเครื่องมือ หรือวิธีการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
2) ผู้สอนมีการทคสอบผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้ ก่อนการเรียน (pre - testing)
3) ผู้สอนมีการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน(ในกรณีที่มีผู้เรียนจำนวนมาก) ไว้ด้วยกัน
5) ผู้สอนมีการจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
4)ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนให้สนองความต้องการของผู้เรียนโดยใช้ผลการวินิจฉัยที่ได้จากข้อ 1
6) ผู้สอนมีการให้คำเเนะนำเเก่ผู้เรียนเกี่ยวกับระบบเเละวิธีการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เเละตกลงร่วมกันเกี่ยวกับระบบ กฎ เกณฑ์
7) ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามเเผน ผู้สอนดูเเลเเละให้ความช่วยเหลือผูเรียนเป็นรายบุคคล
8) ผู้เรียนมีการทำเเบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อจบหน่วยการเรียน
9) ผู้สอนมีการจัดทำเเฟ้มการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลเเละใช้ผลการทดสอบเป็นข้อมูลในการวางเเผนการเรียนรู้ให้เเก่ผู้เรียนต่อไป
1.2 การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self - Directed Learning)
หลักการ
1) การเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนนำตนเอง สามารถช่วยฝึกฝนให้ผู้เรียนพึ่งพาตนเอง เเละพัฒนาตนเองได้ การนำตนเองเเละพึ่งพาตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดเเรงจูงใจภายใน ซึ่งสามารถกระตุ้นความต้องการที่จะเรียนรู้ เเละช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีจุดหมายอันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดี เเละจดจำได้นานขึ้น รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
2) เนื่องจากผู้เรียนมีเเบบการเรียนรู้ Learning style ที่เเตกต่างกันการให้ผู้เรียนนำตนเองเเละเลือกวิธีการเรียนรู้เองจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดี
นิยาม
การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนนำตนเอง หมายถึง การให้โอกาส ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครอบคลุมการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ ของตน การตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ การเลือกวิธีเรียนรู้ การแสวงหา แหล่งความรู้ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการประเมินตนเอง โดยครูอยู่ใน ฐานะกัลยาณมิตร ทำหน้าที่กระตุ้นและให้คำปรึกษาผู้เรียนในการวินิจฉัยความต้องการ กำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบแผนการเรียนรู้ และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ แหล่งข้อมูล รวมทั้งร่วมเรียนรู้ไปกับผู้เรียนเเละติดตามประเมินผลการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้
1) ผู้เรียนมีการวางเเผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2) ผู้เรียนมีการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตน Learning needs
3) ผู้เรียนมีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเอง Learning goals
4) ผู้เรียนมีการเลือกวิธีการเรียนด้วยตนเอง Learning strategies
5) ผู้เรียนมีการเเสวงหาเเหล่งความรู้ Learning resources
6) ผู้เรียนมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง Learning evaluation
7) ผู้สอนมีการสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำเเนะนำ เเละความช่วยเหลือเเก่ผู้เรียน
8) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผลโดยใช้ผลการประเมินของตนเองเเละของผุ้เรียนประกอบกัน
เเบบเน้นความรู้ ความสามารถ
2.1 การจัดการเรียนรู้เเบบรู้จริง
(Mastery Learning)
หลักการ
การเรียนรู้นี้ได้มาจากเเนวคิดของ จอห์น คาร์รอล
การเรียนรู้ของคาร์รอล เชื่อว่าผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ อย่างเพียงพอตามความต้องการของตน
บลูม เพิ่มเเนวคิดว่า การเรียนรู้เรื่องใด ๆ ก็ตามผู้เรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาหรือความถนัดเเตกต่างกันสามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้เช่นเดียวกันทุกคน
นิยาม
การจัดการเรียนรู้เเบบรู้จริง หมายถึง กระบวนการในการดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถเเละสติปัญญาเเตกต่างกัน สามารถเกิดการเรียนรู้อย่างเเท้จริง
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างละเอียดในการเรียนรู้
2) ผู้สอนมีการวางเเผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเเต่ละคน หรือเเต่ละกลุ่มให้สามารถสนองต่อความถนัดที่เเตกต่างกันของผู้เรียน
3) ผู้สอนมีการชี้เเจงให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย วิธีการในการเรียนรู้ เเละระเบียบ กติกาข้อตกลกต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงาน
4) ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามเเผนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดไว้เเละมีการประเมินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์เเต่ละข้อ
5) หากผู้เรียนบรรลลุวัตถุประสงค์หนึ่งที่กำหนดไว้เเล้ว จึงจะมีการดำเนินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อถัดไปได้
6) หากผู้เรียนยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้สอนจะต้องทีการวินิจฉัยปัญหาเเละความต้องการของผู้เรียน
7) ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับของวัตถุประสงค์ที่กำหนด
8) ผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน
2.2 การจัดการเรียนการสอนเเบบรับประกันผล (Verification Teaching)
หลักการ
1) ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้เเละสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้หากได้รับความช่วยเหลือตามปัญหาเเละความต้องการของเขา
2) การที่ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถที่จะพิสูจน์ทดสอบได้ เเละเเจ้งให้ผู้เรียนได้รับรู้ความคาดหวังของตน
3) การทดสอบช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน การช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามปัญหาความต้องการของเขา
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนเเบบรับประกันผล หมายถึง การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนกำหนดวัตถถุประสงค์ ที่สามารถพิสูจน์ทดสอบได้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนที่ชัดเจน เเละเป็นวัตถุประสงค์ที่สามารถทำการทดสอบได้
2) ผู้เรียนมีการได้รับรู้วัตถุประสงค์ดังกล่าวทั้งก่อนการเรียนเเละก่อนรับการทดสอบ
3) ผู้สอนมีการทดสอบผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อประเมินว่าเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือไม่
4) ผู้สอนมีการดำเนินการสอนซ้ำหรือสอนใหม่อีกครั้งหนึ่งให้เเก่ผู้เรียนที่ไม่ผ่านวัตถุประสงค์ เเละดำเนินการสอบใหม่ จนกระทั่งผู้เรียนทุกคนสอบผ่านตามวัตถุประสงค์
2.3 การจัดการเรียนการสอบเเบบเน้นมโนทัศน์ (Concept - Based Instruction)
หลักการ
1) เป็นการเน้นการเรียนรู้เชิงนามธรรม ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายโอนความรู้ได้มาก
2) ช่วยให้ทั้งผู้สอนเเละผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
3) ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เเบบองค์รวม เเละมองเห็นความสำพันธ์ของข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ
4) จำเป็นต้องใช้วิธีการเเละกระบวนการในการเรียนการสอนที่ซับซ้อนมากกว่าการเรียนข้อมูล
นิยาม
การจัดการเรียนการสอบเเบบเน้นมโนทัศน์ หมายถึง การวางเเผนการจัดการการสอนโดยการระบุมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับเเละดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้วิธีเเละกระบวนการต่าง ๆ ที่จะช่าวยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมโนทัศน์
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีการคิดวิเคราะห์เนื้อหาสาระเเละระบุมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการสอนอย่างละเอียดเเละชัดเจน
2) ผู้สอนมีการคิดเเละเขียนรายการคำถามที่สำคัญ ๆ ที่จะช่วยนำผู้เรียนไปสู่ความคิดเชิงนามธรรม
3) ผู้สอนมีการระบุกระบวนการเเละทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้
4) ผู้เรียนมีการสร้างความรู็ความเข้าใจในมโนทัศน์ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการ เทคนิค ทักษะต่าง ๆ ที่หลากหลาย
5) ผู้เรียนมีการสรุปมโนทัศน์ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
6) ผู้เรียนมีการนำมโนทัศน์ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ
เเบบเน้นประสบการณ์
3.2 การจัดการเรียนรู้เเบบรับใช้สังคม (Service Learning)
นิยาม
การจัดการเรียนรู้เเบบรับใช้สังคม หมายถึง การดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคม
ตัวบ่งชี้
1) ผู้เรียนมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาชุมชน เพื่อเรียนรู้เรื่องที่กำหนด
2) ผู้เรียนมีการศึกษาความต้องการของชุมชน เเละเลลือกกิจกรรมที่จะรับใช้ชุมชน
3) ผู้เรียนมีการวางเเผนการรับใช้สังคมในกิจกรรมที่เลือก
4) ผุ้เรียนมีการจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการรับใช้สังคม
5) ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์เหตุการณ์เเละสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะรับใช้สังคม
8) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้ผลการประเมินการเรียนรู้ของตนเองของผุ้เรียน
6) ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด หลักการ สมมติฐานที่ได้ไปทดลองใช้
7) ผู้สอนมีการติดตามผลการนำความรู้ ความคิด หลักการ สมมติฐาน ไปใช้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเเลกเปลี่ยนผลการนำไปใช้ เเละอภิปรายหาข้อสรุป
หลักการ
การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิด ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง เเละยังสามารถสร้างเเรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม
3.1 การจัดการเรียนรู้เเบบเน้นประสบการณ์
( Experiential Learning)
หลักการ
ประสบการณ์เป็นเเหล่งที่มาของการเรียนรู้เเละเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดความคิด ความรู้ เเละประสบการณ์ต่าง ๆ
โคล์ป ได้เสนอวัฏจักรของกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ 4 ขั้นตอน
1) ขั้นการรับประสบการณ์รูปธรรม (Concrete Experience - CE)
2) ขั้นการสังเกตอย่างไตร่ตรอง (Reflective Obesrvation - RO)
3) ขั้นการสร้างเเนวคิดเชิงนามธรรม (Abstract Conceptualiztion - AC)
4) ขั้นการทดลองประยุกต์หลักการไปใช้ในสภาพการณ์ใหม่ (Active Experimentation - AE )
นิยาม
การจัดการเรียนรู้เเบบเน้นประสบการณ์ หมายถึง การดำเนินการอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning experience) ที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ลงไปประสบด้วยตนเอง
2) ผู้เรียนมีการสะท้อนความคิด (Reflect) เเละอธิบายร่วมกัน เกี่ยวกับสิ่งที่ประสบมา
3) ผู้เรียนมีการสร้างความคิดรวบยอด หลักการ สมมติฐานจากประสบการณ์ที่ได้รับ
4) ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด ไปทดลองหรือประยุกต์ใช้สถานการณ์ใหม่ ๆ
5) ผู้สอนมีการติดตามผล เเละเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเเลกเปลี่ยนผลการทดลอง
6) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผล โดยใช้การประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองของผู้เรียน
3.3 การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning)
นิยาม
การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง หมายถึง การดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปเผชิญสภาพการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง
ตัวบ่งชี้
3) ผู้เรียนมีการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเเก้ไขปัญหาร่วมกัน
4) ผู้เรียนได้รับผลการตัดสินใจเเละการกระทำของตนจากสังคม
2) ผู้เรียนมีการร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหา เเสวงหาความรู้ ข้อมูลเเละวิธีการต่าง ๆ
5) ผู้เรียนมีการอภิปราย เเลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตน
1) ผู้สอนมีการนำผู้เรียนเข้าไปเผชิญสถานการณ์จริง ปัญหาจริงในบริบทจริง
6) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผล ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะเจตคติ
หลักการ
1) การเรียนรู้เรื่องใด ๆ ก็ตามย่อมมีความสัมพันธ์กับบริบทของเรื่องนั้น ๆ
2) สภาพการณืจริง ปัญหาจริง เป็นโลกเเห่งความเป็นจริง ซึ่งทุกคนจะต้องเผชิญ
3) การเรียนรู้ความเป็นจริง ของจริง เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย เพราะสามารถนำไปใช้ได้ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
4) การให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาเเละเเก้ปัญหา จะช่วยให้ผุ้เรียนพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
เเบบเน้นปัญหา
4.1 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)
หลักการ
ปัญหาสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดภาวะงุนงงสงสัยเเละความต้องการที่จะเเสวงหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว การให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาจริงหรือปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ เเละร่วมกันคิดหาทางเเก้ไขปัญหานั้น ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีการร่วมกันเลือกปัญหาที่ตรงกับความสนใจหรือความต้องการของผู้เรียน
2) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีการออกไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง
3) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา เเละหาสาเหตุของปัญหา
4) ผู้เรียนมีการวางเเผนการเเก้ปัญหาร่วมกัน
6) ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้า เเละเเสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5) ผู้สอนมีการให้คำปรึกษาเเนะนำ เเละช่วยอำนวยความสะดวกเเก่ผู้เรียน
8) ผู้เรียนมีการลงมือเเก้ปัญหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สุปเเละอภิปรายผล
9) ผู้สอนมีการติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียน เเละให้คำปรึกษา
7) ผู้สอนมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนเเสวงหาทางเลือกในการเเก้ปัญหาที่หลากหลาย
10) ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งด้านผลงานเเละกระบวนการ
4.2 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project- Based Instruction)
หลักการ
1) โครงการหรือโครงงาน เป็นกิจกรรมที่มีบริบทจริงเชื่อมโยงอยู่ ดังนั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงสัมพันธ์กับความเป็นจริง
2) การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสอบ
3) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา
4) การเเสดงผลงานต่อสาธารณชน สามารถสร้างเเรงจูงใจในการเรียนรู้เเละการทำงานให้เเก่ผู้เรียนได้
5) การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงาน ช่วยดึงศักยภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ได้
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก คือ การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการร่วมกัน ศึกษาข้อมูลความรู้ที่จำเป็น เเละลงมือปฏิบัติงานตามเเผนงานที่วางไว้จนได้ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน :
2) ผู้สอนมีการชี้เเจงหรือทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์ในการทำโครงการ
3) ผู้เรียนมีการร่วมกันศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะทำ
11) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผล
10) ผู้สอนมีการจัดให้ผู้เรียนนำผลงานมาอภิปรายเเลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
4) ผู้เรียนมีการร่วมกันวางเเผนในการจัดทำโครงการ
5) ผู้เรียนมีการเขียนโครงการเเละนำเสนอผู้สอน
6) ผู้เรียนมีการดำเนินงานตามเเผนงานที่กำหนดไว้
9) ผู้เรียนมีการนำผลงานออกเเสดงต่อสาธารณชน
7) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีการนำเอาผลงานของผู้เรียนออกมาเเสดง ชี้เเจงเเละร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน
8) ผู้เรียนมีการปรับปรุงผลงานเเละเขียนรายงาน
เเบบเน้นทักษะกระบวนการ
5.1 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ (Inquiry-Based Instruction)
หลักการ
การสืบสอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific inquiry) เป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อการเเสวงหาเเละศึกษาความรู้ต่าง ๆ
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ หมายถึง การดำเนินการเรียนการสอน โดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิด เเละลงือเสาะเเสวงหาความรู้ เพื่อนำมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีกระบวนการสอน กิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์ในเรื่องที่เรียน
2) ผู้สอนมีสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้ประกอบการคิด วิเคราะห์ ค้นคว้าหาความรู้
3) ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ คำตอบ
4) ผู้สอนมีการช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในการศึกษา วิเคราะห์ เเละสรุปข้อมูล
5) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผลการเรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระเเละกระบวนการสืบสอบหาความรู้
5.2 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด (Thinking-Based Instruction)
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด คือ การดำเนินการ เรียนการสอนโดยผู้สอนใช้รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนต่าง ๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดขยายต่อเนื่องจากความคิดเดิมที่มีอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน
2) ผู้สอนมีการใช้รูปเเบบ วิธีการ หรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดขยายจากความคิดเดิม
3) ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการคิด เเละกระบวนการคิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน
4) ผู้สอนมีการให้โอกาส เเละเวลาเเก่ผู้เรียน ในการใช้ความคิดเเละเเสดงความคิดเห็น
5) ผู้สอนเเละผู้เรียน มีการอภิปรายโต้ตอบกันเกี่ยวกับความคิดที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน
6) ผู้สอนเเละผู้เรียนมีการร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน
7) ผู้สอนมีการวัดเเละประเมินผลการเรียนทั้งทางด้านเนื้อหาสาระเเละกระบวนการคิด
หลักการ
กระบวนการคิดเป็นกระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งอาศัยสิ่งเร้าและ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การฝึกทักษะการคิด การใช้ลักษณะการคิดแบบต่าง ๆ รวมทั้ง กระบวนการคิดที่หลากหลายจะช่วยให้การคิดอย่างจงใจและอย่างมีเป้าหมายของผู้เรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
5.3 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process-Based Instruction)
หลักการ
กระบวนการกลุ่ม เป็นกระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคค ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัดถุประสงค์ร่วมกัน และมีการดำเนินงานร่วมกัน โดยผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มต่างก็ทำหน้าที่ของคนอย่างเหมาะสม และมีกระบวนการทำงานที่ดี เพื่อนำกลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม คือ การคำเนินการ เรียนการสอนโดยที่ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงาน/กิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม พร้อมทั้งสอน/ฝึก แนะนำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกลุ่มที่ดี
ตัวบ่งชี้
1) ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม
2) ผู้สอนมีการชี้เเนะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกลุ่ม
3) ผู้เรียนมีการวิเคราะห์การเรียนรู้ของตนเอง
4) ผู้สอนมีการวิเคราะห์เเละประเมินผลการเรียน
5.4 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย (Research - Based Instruction)
หลักการ
กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้ที่เชื่อถือได้การให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการวิจัยในการศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยหรือผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยอาจใช้การประมวลผลงานวิจัย (research review) มาประกอบการสอนเนื้อหาสาระ
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอนมีการนำผลการวิจัยมาใช้ประกอบการสอนเนื้อหาสาระของตน
2) ผู้สอนมีการให้ผู้เรียนประมวลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่เรียนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ในเรื่องนั้น
3) ผู้สอนมีการใช้กระบวนการวิจัยในการสอน
4) ผู้สอนมีการฝึกฝนทักษะการวิจัยที่จำเป็นหรือที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนให้แก่ผู้เรียนตามความเหมาะสมกับเนื้อหา
5) ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและผลการวิจัย
6) ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการวิจัย
5.5 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
(Instruction Emphasizing Self-Learning Process)
หลักการ
ผู้เรียนทุกคนมีความสนใจใฝ่รู้อยู่เป็นธรรมชาติ หากได้รับการส่งเสริมให้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนและได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจได้ตลอดชีวิต
นิยาม
หมายถึง การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
ตัวบ่งชี้
1) ผู้เรียนมีการเลือกหัวข้อเนื้อหาวิธีการและสื่อการเรียนการสอนได้ตามความสนใจหรือความถนัด
2) ผู้สอนมีการจัดเตรียม หรือออกแบบเนื้อหา ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
6) ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนทั้งทางด้านเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3)ผู้สอนมีการพูดคุยกับผู้เรียนเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยให้คำแนะนำ
4) ผู้เรียนมีการดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
5) ผู้สอบมีการพบปะพูดคุยกับผู้เรียนเป็นระยะ ๆ
เเบบเน้นการบูรณาการ
หลักการ
1) ในธรรมชาติและชีวิตจริงทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์กันการเรียนรู้ที่ดีจึงควรมีลักษณะเช่นเดียวกันควรมีลักษณะเป็นองค์รวมไม่ใช่แบ่งเป็นแท่งหรือเป็นท่อนที่แยกจากกันซึ่งทำให้การเรียนรู้ไม่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับชีวิตจริง
2) การบูรณาการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านประกอบกันและช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการทั้งทางด้านความรู้ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กัน
3) การบูรณาการช่วยเปิดโลกทัศน์ของทั้งผู้สอนและผู้เรียนให้กว้างขึ้นไม่ จำกัด อยู่ แต่เฉพาะด้านเฉพาะทางช่วยให้การเรียนรู้น่าสนใจน่าตื่นเต้นผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้และมีความคิดและมุมมองที่กว้างขึ้น
นิยาม
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการบูรณาการหมายถึงการนำเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกันและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นองค์รวมและสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวบ่งชี้
1) ผู้สอน หรือผู้สอนและผู้เรียนมีการจัดเตรียมหน่วยบูรณาการโดยมีการวิเคราะห์อภิปรายเกี่ยวกับหลักสูตรเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์และนำเนื้อหาสาระภายในวิชาระหว่างวิชามาสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกันโดยใช้วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
) ผู้สอนหรือผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถสนองวัตถุประสงค์ที่กำหนดทั้งนี้กิจกรรมควรมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
2.2) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้ความรู้เนื้อหาสาระที่นำมาบูรณาการ
2.3) เป็นกิจกรรมที่เน้นความเข้าใจมิใช่เพียงความจำเนื้อหาสาระ
2.1) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้หรือสร้างความรู้ในเนื้อหาสาระที่นำมาบูรณาการครบทุกเรื่อง
2.4) เป็นกิจกรรมที่เน้นความสัมพันธ์เป็นภาพรวม
4) ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันอภิปราย สะท้อนความคิด และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
3) ผู้เรียนมีการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้คำปรึกษาแนะนำของผู้สอน
5) ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครบถ้วนทุกด้านตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด