Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้เลือดออก( Hemorrhagic fever), นางสาวอัสวานา โต๊ะหลงหมาด เลขที่ 99 ปี…
โรคไข้เลือดออก( Hemorrhagic fever)
หลักการวินิจฉัยโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจฮีมาโตคริต มักจะสูงกว่าปกติ ยกเว้นรายที่มีเลือดออกมาก จำนวนเม็ดเลือดขาวมักปกติ จำนวนเกล็ดเลือดต่ำ การถ่ายภาพรังสีของปอดและช่องท้อง การตรวจอิเลคโทรลัยท์ การแยกเชื้อไวรัส และการตรวจพบทาง Serology
การทำ Tourniquet test ได้ผลบวกในระยะไข้ และระยะพักฟื้น
จากอาการทางคลินิก
พยาธิสรีรภาพ
นอกจากนี้เชื้อไวรัสจะถูกปลดปล่อยออกมาจากเซล จะจับกับแอนติบอดีย์ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นอิมมูนคอมเพล็กซ์เป็นจำนวนมาก ทำให้มีการกระตุ้นคอมพลิเมนต์ เป็นผลให้มีการปล่อยสารต่างๆ(Mediator) ออกมาทำให้เกิดการรั่วของผนังหลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้น ตลอดจนทำให้จำนวนเกล็ดเลือดต่ำลง และมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เป็นผลใหผู้ป่วยเกิดภาวะช็อก และมีเลือดออกอย่างมาก
เมื่อยุงกัดคน และปล่อยเชื้อไวรัสเข้าไปในผู้ป่วย เชื้อจะไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นในเซลโมโนนิวเคลียร์-มาโครฟาจ เมื่อเซลโมโนนิวเคลียรที่มีเชื้อไวรัสอยู่ตายลง จะปล่อยสารบางอย่างออกมา ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ผนังของหลอดเลือดฝอยไม่สามารถเก็บน้ำ และโปรตีนไว้ได้ตามปกติ จึงรั่วออกสู่เนื้อเยื่อระหว่างเซล และช่องต่างๆ ทำให้ปริมาณของพลาสม่าที่อยู่ในกระแสเลือดลดลง
ภาวะแทรกซ้อน
ในระยะฟื้นตัวอาจเกิด Volume overload จากการให้สารน้ำมากเกินจนเกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
โรคไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะไข้สูง
ไข้สูงเกิน 40-41 องศาเซนติเกรด ประมาณ 2-7วัน
หน้าแดง ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก
อาเจียน กินได้น้อย ซึม
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก
อาจพบผื่นแบบ Maculopapular rash ได้
มีอาการเลือดออก เช่น Petichiae, Epitaxis, Hematemiasis, Melena
Hepatomegaly (พบวันที่ 3-4)
TT-test + ve
ระยะช็อกและ/หรือระยะเลือดออก
ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วย จะมีอาการ Chock ได้
มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่อาการเลวลง มีกระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว และความดันเลือดลดลง
เมื่อเข้าสู่ระยะช็อก ชีพจรเร็ว และเบาลง Pulse pressure แคบจนในที่สุดวัดไม่ได้ ปัสสาวะน้อย กระสับกระส่ายมากขึ้น มือเท้าเย็น เหงื่อออก
การเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญคือ ระดับ Hematocrit เพิ่มขึ้น และเกล็ดเลือดลดต่ำลงก่อนไข้ลดลง
ระยะช็อกนี้จะอยู่ประมาณ 24-48 ชั่วโมง
ระยะฟื้นพ้นจากระยะช็อก
ผู้ป่วยจะกลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน น้ำ และโปรตีนที่รั่วออกไป จะกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด
ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น เริ่มอยากรับประทานอาหาร
ถ้าทำ Tourniquet test อาจได้ผลบวก
อาการตับโตจะค่อยลดลงเป็นปกติ 1-2 สัปดาห์ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะน้ำเกิน เนื่องจากการดูดกลับของพลาสม่าที่รั่วออกไปนอกหลอดเลือดกลับเข้าสู่หลอดเลือด
อาการทางคลินิก
Dengue hemorrhagic fever เป็นในผู้รับเชื้อแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้นเป็นแบบ Maculopapular บางรายมีจุดเลือดออกตามแขนขา ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และซึม
Dengue shock syndrome เป็นในพวกที่ได้รับเชื้อทุติยภูมิที่มีการช็อคร่วมด้วย ภายหลังมีไข้ 2-3 วันผู้ป่วยจะซึม กระสับกระส่าย ปวดท้องแบบเฉียบพลัน
Dengue fever เป็นในผู้รับเชื้อเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ 5-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีปวดข้อ และมีผื่นขึ้น อาการแยกจากโรคไวรัสอื่นๆ ได้ยาก มีส่วนน้อยที่มีอาการช็อก
หลักการรักษา
ระยะไข้สูง
ให้ยาลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) ให้ดื่มน้ำมาก ๆ และในรายที่มี Hct สูง เริ่มให้นน้ำทางหลอดเลือดดำ
ระยะช็อก
2.1 รายที่ไม่รุนแรง ให้น้ำและเกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ ถ้า Hct สูงตลอดเวลาเกิน 24 ชั่วโมงจะให้ Dextran หรือ plasma แทน
2.2 รายที่มีอาการช็อก ให้ 5% D/S solution 10-20 มล./กก./ชั่วโมง จนกว่า vital signs ดีขึ้น หลังจากนั้นปรับอัตราของสารน้ำ ตาม central venous pressure ถ้าให้สารน้ำ 2 ชั่วโมง แล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้ Plasma หรือ Dextran ขนาด 20 มล./กก./ชั่วโมง ในรายที่ Hct ลดลง แต่อาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นแสดงว่า เลือดออกภายในมาก ต้องให้เลือด (Fresh whole blood) ทดแทนอย่างรีบด่วน ควรมีการบันทึก I/O อย่างละเอียด และตรวจ Hct ทุก 2-4 ชั่วโมง
ระยะฟื้นตัว
น้ำ และโปรตีน จะกลับคืนเส้นเลือด ต้องลดอัตราการให้สารน้ำ ถ้าผู้ป่วยมี vital signs คงที่และ Hct อยู่ในระดับปกติ ก็หยุดให้สารน้ำ
การป้องกัน
ระวังไม่ให้ยุงลายกัดเด็ก โดยเฉพาะเวลากลางวัน โดยกางมุ้ง หรือทายากันยุง
การควบคุมยุงลาย โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงใช้ยาทำลายลูกน้ำยุงลาย เช่น ทรายอะเบท การฉีดยาฆ่ายุงเมื่อมีการระบาด
โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อ Dengue virus หรือ Chikungunya virus โรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งโดยตรง แต่มียุงลายเป็นพาหะ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ระยะฟื้น
ผู้ป่วยเด็กมีโอกาสเกิดภาวะ Blood volume overload จากการได้รับน้ำเกิน
ในระยะไข้สูง
1.1 ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับน้ำ และเกลือแร่ไม่เพียงพอจากการอาเจียน เบื่ออาหาร และมีไข้สูง
1.2 ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากไข้
ระยะช็อก ระยะเลือดออก
ผู้ป่วยเด็กมีโอกาสเกิดภาวะช็อกจากการรั่วของพลาสม่า และมีเลือดออก
นางสาวอัสวานา โต๊ะหลงหมาด เลขที่ 99 ปี 3