Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้เลือดออก( Hemorrhagic fever) - Coggle Diagram
โรคไข้เลือดออก( Hemorrhagic fever)
โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อ Dengue virus หรือ Chikungunya virus โรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่ง
ไปยังอีกคนหนึ่งโดยตรงแต่มียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะ ยุงที่กัดคนเป็นยุงตัวเมีย โดยมากมักกัดเวลา
กลางวัน เมื่อยุงกัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าไปและเชื้อจะมีระยะฟักตัวในคนประมาณ 5-8 วัน โรคนี้พบในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่ในระยะหลังพบในเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
อาการทางคลินิก
Dengue hemorrhagic feverเป็นในผู้ที่ได้รับเชื้อแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้นเป็นแบบ Maculopapular บางรายมีจุดเลือดออกตามแขนขา ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และซึม
Dengue shock syndrome เป็นในพวกที่ได้รับเชื้อทุติยภูมิที่มีการช็อคร่วมด้วยภายหลังมีไข้ 2-3 วันผู้ป่วยจะซึม กระสับกระส่าย
ปวดท้องแบบเฉียบพลัน
Dengue fever เป็นในผู้ที่ได้รับเชื้อเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ 5-7 วัน ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัว อาจมีปวดข้อและมีผื่นขึ้นอาการแยกจากโรคไวรัสอื่นๆ ได้ยาก มีส่วนน้อยที่มีอาการช็อก
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อยุงกัดคนและปล่อยเชื้อไวรัสเข้าไปในผู้ป่วย
เชื้อจะไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นในเซลโมโนนิวเคลียร์ -มาโครฟาจ
(ในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะไข้ของโรค)เมื่อเซลโมโนนิวเคลียรที่มีเชื้อไวรัส อยู่ตายลง จะปล่อยสารบางอย่างออกมาซึ่งมีฤทธิ์ท าให้ผนังของหลอดเลือดฝอยไม่สามารถเก็บน้ำ และโปรตีนไว้ได้ตามปกติ
จึงรั่วออกสู่เนื้อเยื่อระหว่างเซลและช่องต่างๆ ทำให้ปริมาณของพลาสม่าที่อยู่ในกระแสเลือดลดลง นอกจากนี้เชื้อไวรัสจะถูกปลดปล่อยออกมาจากเซลล์ จะจับกับแอนติบอดีย์ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เกิดเป็น อิมมูนคอมเพล็กซ์เป็นจำนวนมาก
ทำให้มีการกระตุ้นคอมพลิเมนต์ เป็นผลให้มีการปล่อยสารต่างๆ (Mediator) ออกมาทำให้เกิดการรั่วของผนังหลอดเลือดฝอยเพิ่มขึ้นตลอดจนทำให้จำนวนเกล็ดเลือดต่ำลง และมีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดเป็นผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อก และมีเลือดออกอย่างมาก
โรคไข้เลือดออก
ระยะช็อกและ/หรือระยะเลือดออก
ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียน
โลหิตล้มเหลวเกิดขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่อาการเลวลง มีกระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็วและความดันเลือดลดลง อาการมักจะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 3-6 ของโรค ผู้ป่วยจะอาเจียนมากขึ้น ปวดท้อง ซึม เมื่อเข้าสู่ระยะช็อกจะพบว่าชีพจรเร็วและเบาลง Pulse pressure แคบจนในที่สุดวัดไม่ได้ ปัสสาวะน้อย กระสับกระส่ายมากขึ้น มือเท้าเย็น เหงื่อออก บางรายอาเจียนเป็นเลือด การเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญคือระดับHematocrit เพิ่มขึ้นและเกล็ดเลือดลดต่ำลงก่อนไข้ลดลงและก่อน เกิดภาวะช็อค 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมีอาการAcidosis และตายในระยะเวลาอันสั้น ระยะช็อกนี้จะอยู่ประมาณ 24-48 ชั่วโมง
ระยะฟื้น พ้นจากระยะช็อก
้ป่วยจะกลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน น้ำและโปรตีนที่รั่ว
ออกไป จะกลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น เริ่มอยากรับประทานอาหาร ในระยะนี้ถ้าทำ Tourniquet test อาจได้ผลบวกอาการตับโตจะค่อยลดลงเป็นปกติ 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะน้ำเกิน เนื่องจากการดูดกลับของพลาสม่าที่รั่วออกไปนอกหลอดเลือดกลับเข้าสู่หลอดเลือด
ระยะไข้สูง
นานประมาณ 3-9 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิน 40-41 องศาเซนติเกรด เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ในวันที่ 2-3 เด็กจะซึมลง หน้าแดง ผื่นนูนแดงหรือจุดเลือดออก บางรายมีเลือดกำเดาออกการท า tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ล าตัว รักแร้ อาจมีเลือดก าเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและ
ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดซึ่งมักจะเป็นสีด า (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับโต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับโต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วยในระยะที่ยังมีไข้อยู่
หลักการวินิจฉัยโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทำTourniquet test ได้ผลบวกในระยะไข้ และระยะพักฟื้น
จากอาการทางคลินิก
หลักการรักษา
ระยะช็อก
รายที่ไม่รุนแรง ให้น้ำและเกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ ถ้า Hct สูงตลอดเวลาเกิน 24 ชั่วโมง จะให้ Dextran หรือ plasma แทน
รายที่มีอาการช็อก ให้ 5% D/S solution 10-20 มล./กก./ชั่วโมง
จนกว่า vital signs ดีขึ้น หลังจากนั้นปรับอัตราของสารน้ำตาม
central venous pressure
ระยะฟื้นตัว
น้ำและโปรตีนจะกลับคืนเส้นเลือด ต้องลดอัตราการให้สารน้ำ ถ้าผู้ป่วยมี vital signs คงที่ และ Hct อยู่ในระดับปกติ ก็หยุดให้สารน้ำ
ระยะไข้สูง
ให้ยาลดไข้ (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) ให้ดื่มน้ำมาก ๆ
และในรายที่มี Hct สูง เริ่มให้น้ำทางหลอดเลือดดำ
ภาวะแทรกซ้อน
ในระยะฟื้นตัวอาจเกิด Volume overload จากการให้สารน้ำมากเกินจนเกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การป้องกัน
การควบคุมยุงลาย โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
ใช้ยาทำลายลูกน้ำยุงลายเช่น ทรายอะเบท
การฉีดยาฆ่ายุงเมื่อมีการระบาด
ระวังไม่ให้ยุงลายกัดเด็ก โดยเฉพาะเวลากลางวัน
โดยกางมุ้งหรือทายากันยุง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ระยะช็อก ระยะเลือดออก
ผู้ป่วยเด็กมีโอกาสเกิดภาวะช็อกจากการรั่วของพลาสม่าและมีเลือดออก
ระยะฟื้น
ู้ป่วยเด็กมีโอกาสเกิดภาวะ Blood volume overload จากการได้รับน้ำเกิน
ในระยะไข้สูง
ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับน้ำและเกลือแร่ไม่เพียงพอจากการอาเจียน
เบื่ออาหารและมีไข้สูง
ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากไข้