Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 6 การสร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 6 การสร้างเสริมสุขภาพ
ผู้สูงอายุ
การจัดการต่อความเครียด
การจัดการกับความเครียดโดยมุ่งแก้ไขปัญหา (problem-focused coping)
เป็นการเผชิญสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดตามความเป็นจริง โดยใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ มีการตั้งเป้าหมายและวางแผนในการแก้ปัญหา วิธีการได้แก่
การเผชิญกับปัญหา (Confrontive Coping) คือการที่บุคคลยอมรับและ ตระหนัก ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่หลีกหนี ถอยหนี พยายามทําความเข้าใจกับสภาพและเปิดใจให้ ยอมรับสภาพปัญหา
วางแผนแก้ไขปัญหา (planful problem solving) คือการที่บุคคล พยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
การปรับแก้โดยมุ่งปรับอารมณ์ (emotion-focused coping)
เป็นการใช้กลวิธี ต่างๆ ช่วยปรับอารมณ์ ที่เป็นทุกข์ให้ลดลง ได้แก่ การทําสมาธิ (meditation) การจินตนาการไปใน ทางบวก (positive reappraisal) การนอนหลับ การออกกําลังกาย การฝึกการหายใจ การฝึกเกร็ง และคลายกล้ามเนื้อ การนันทนาการ (recreation) การปล่อยวาง
การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะเครียด
ประเมินปัญหาทางการพยาบาล (Assessment)
1) การซักประวัติ เพื่อสอบถามรูปแบบพฤติกรรม ด้านการรับรู้ต่อความเครียด สาเหตุ ผลกระทบ การปรับตัว
2) การสังเกต ดูการเปลี่ยนแปลงทาง ร่างกายจิตใจสังคม เช่นการนอนไม่หลับ การรับประทานอาหารไม่ได้ การขับถ่าย อารมณ์หงุดหงิด ไม่ มีสมาธิ
3) ใช้แบบประเมินความเครียดและพฤติกรรมเผชิญความเครียด
การวินิจฉัยการพยาบาล
(nursing diagnosis)
กําหนดวัตถุประสงค์ (objective) และเป้าหมายการพยาบาล (Goal) โดย อาจเขียนข้อวินิจฉัยได้ดังนี้
1) มีภาวะเครียดเนื่องจากป่วย รุนแรง สูญเสียความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
2) มีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากมี ความเครียด ความวิตกกังวล
3) เบื่อหน่ายท้อแท้ เนื่องจากป่วยเรื้อรังหรือถูกจํากัดการเคลื่อนไหว สมรรถนะทางกายลดลง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือต้องพึ่งพาผู้อื่น
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ สามารถจัดการกับความเครียดได้ ดังนี้
พยาบาลช่วยดึงเอาแหล่งประโยชน์ทั้งภายในและภายนอก(resource) ของ บุคคลที่ประสบภาวะ เครียดมาใช้ให้เป็นประโยชน์เรียกกระบวนการนี้ว่า mobilize internalหรือ external resource
ความเครียดของบางคนเกิดขึ้นจากการรับรู้ที่ผิดจากความเป็นจริง แปล หรือ ตีความหมายเหตุการณ์ไปในทางที่ไม่ดีแล้วตนเองเกิดรู้สึกไม่สบายใจ พยาบาลควรช่วยบุคคลให้ มองเหตุการณ์ใหม่มองหลายๆแง่หลายๆมุม หรือความเครียดเกิดจากสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่นเสียงที่ ดังมาก ภาวะแวดล้อมที่อึดอัดไม่สบายให้งดเยี่ยมหรือจัดสิ่งแวดล้อมใหม่
ความเครียดเกิดจากปัจจัยในตัวบุคคลเอง เช่น การตีค่าตนเองต่ํา นิสัยการ รับประทานอาหารที่ไม่ดีการดําเนินชีวิตประจําวันผิดทาง พยาบาลช่วยบุคคลให้มีความรู้ในเรื่อง บุคลิกภาพ สอนให้ใช้เทคนิคผ่อนคลาย
ความเครียดเกิดจากกลไกการแก้ไขภาวะเครียด หรือ Coping Mechanism พยาบาลช่วยบุคคลให้ตระหนักถึงกลไกการแก้ไขปัญหาที่เขากําลังใช้อยู่และช่วยให้เขา มีความรู้ในกลไกอื่นๆ ที่เขาอาจจะ ใช้ได้
การส่งเสริมให้บุคคลมีทักษะในการเผชิญการแก้ไข โดยใช้ทักษะการจัดการกับ ความเครียดโดยมุ่งแก้ไขปัญหา (problem-focused coping) หรือการปรับแก้โดยมุ่งปรับอารมณ์ (emotion-focused coping)
การประเมินผลทางการพยาบาล (Evaluation) ซึ่งอาจใช้เทคนิคเดียวกับการเก็บ รวบรวมข้อมูลในการประเมินผล
การนันทนาการในผู้สูงอายุกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ความหมายนันทนาการ
หมายถึง กิจกรรมที่ทําตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด
กิจกรรม (Activities) มีรูปแบบกิจกรรม ที่หลากหลาย บุคคลหรือชุมชนที่ได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมตามความสนใจของตนจะก่อให้เกิดการ พัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนาน และสุขสงบ
คุณลักษณะของนันทนาการ
ต้องมีการกระทํา (Activity) คือ มีการแสดงออกถึงการ กระทํา หรือกระทํา ปฏิบัติเช่น ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นรูปแบบการปฏิบัติ
ต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ (Voluntary)
กิจกรรมนั้นต้องกระทําในเวลาว่าง (Free Time) คือเวลานอกเหนือจากกิจวัตรประจําวัน
เป็นกิจกรรมที่ให้การศึกษา (Education Activities) คือ ไม่เป็นอบายมุขและก่อให้เกิด ประโยชน์ทางด้าน การศึกษา
กิจกรรมนั้นต้องสร้างความพึงพอใจ ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยตรงและทันที (Immediate and Direct Satisfaction)
กิจกรรมที่กระทําต้องไม่เป็นอาชีพ (Amateurism)
กิจกรรมนันทนาการต้องมีจุดหมาย (Objectives) เพื่อให้มีทิศทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามความต้องการ
กิจกรรมมีความยืดหยุ่น สามารถดัดแปลงปรับให้เข้ากับสภาพที่เป็นอยู่ได้ (Flexibility)
นันทนาการมีผลพลอยได้อีก (Byproduct) การจัดกิจกรรมเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง อาจจะ ได้ผลด้านอื่นด้วย เช่น การทําสิ่งประดิษฐ์ เป็นการฝึกการใช้ฝีมือด้านศิลปะสร้างสรรค์ที่อาจ ส่งผล ด้านการสร้างความสามัคคีหรือการร่วมมือร่วม ใจกันได้
ประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการต่อผู้สูงอายุ
ด้านร่างกาย เมื่อปฏิบัติกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางกายอย่าง สม่ําเสมอจะทําให้ ร่างกายแข็งแรง
ด้านจิตใจ นําไปสู่การมองโลกในแง่ดี ความรู้สึกมีอิสระที่จะเลือกหรือ กระทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ลดความรู้สึกว้าเหว่และการแยกตัวจากสังคม
ด้านสติปัญญา ฝึกให้สมองได้คิดวางแผน เช่น เกมใบ้คํา การเขียนกลอน
ด้านสังคมเปิดโอกาสแก่ผู้สูงอายุในการมีบทบาทในสังคม ได้ช่วยเหลือสังคมของตน เกิด ความภาคภูมิใจและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมนันทนาการ
กิจกรรมนันทนาการที่
เหมาะสําหรับผู้สูงอายุ
กิจกรรมนันทนาการเกม กีฬา และ การละเล่น เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและ สมรรถภาพของผู้สูงอายุ และเพื่อสุขภาพที่ดี และ เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยกิจกรรม ดังกล่าวต้องไม่หนักจนเกินไป และคํานึงถึงความ ปลอดภัยเป็นสําคัญ เช่น กิจกรรมแอโรบิก โยคะ ไท เก็ก ไม้พลอง มวยจีน ชี่กง แอโรบิกในน้ํา เป็นต้น
กิจกรรมนันทนาการศิลปะหัตถกรรม และงานฝีมือเป็นกิจกรรมที่มีทําให้เกิดความสุขใจ เกิด สุนทรีย์ เกิดความภูมิใจ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการฝึก สภาพจิตใจบุคคลในด้านต่าง ๆ ได้ดีเช่น การวาดรูป การเย็บปักถักร้อย ฯลฯ
กิจกรรมนันทนาการการร้องเพลง และดนตรี เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถร่วมได้ ง่าย เป็นได้ทั้งผู้ปฏิบัติหรือผู้ชม สามารถทํากิจกรรม เดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเช่น การร้องเพลง ฟังเพลง แต่ง เพลง เล่นดนตรี เป็นต้น
กิจกรรมนันทนาการเข้าจังหวะและ การเต้นรํา เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ ดนตรีเสียงเพลง หรือเสียงที่กําหนดขึ้น เช่น กิจกรรม นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สากล
กิจกรรมนันทนาการด้านภาษาและ วรรณกรรมเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมปัญญาความคิด ให้ ความรู้สึกสุนทรีย์ทางอารมณ์เช่นการอ่านหนังสือ ต่างๆ การเขียนบันทึก ร้อยกรอง
กิจกรรมนันทนาการการแสดงและ การละครเป็นการแสดงที่เกิดจากการนําภาพ ประสบการณ์จริงและจินตนาการของมนุษย์มาผูก เป็นเรื่องราว ลักษณะกิจกรรมการแสดง ได้แก่ ภาพยนตร์ ละคร รวมถึงการแสดงการเล่นต่างๆที่ นํามาเสนอให้ชม
กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้งนอก สถานที่หรือนอกเมือง เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการ ค้นหาสิ่งแปลกใหม่
กิจกรรมนันทนาการพิเศษ เป็น กิจกรรมที่จัดขึ้นในโอกาสพิเศษ เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ อันดีของบุคคลในสังคมเช่น กิจกรรม วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์
กิจกรรมนันทนาการอาสาสมัครและบริการ เป็นกิจกรรมที่หน่วยงานสามารถ รวมกลุ่ม ผู้สูงอายุที่มีความต้องการบําเพ็ญประโยชน์ ต่อสังคม หรือช่วยเหลือหน่วยงานต่างๆ โดยไม่หวังสิ่ง ตอบแทน เป็นการเสริมสร้างคุณค่าให้กับตนเอง เช่น กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน วัด โรงเรียน อาสาสมัครหรือวิทยากรให้ความรู้หรือถ่ายทอดภูมิ ปัญญาที่สั่งสมมาแก่บุคคล หน่วยงานต่างๆ เป็น
แนวทางการจัดกิจกรรมนันทนาการสําหรับผู้สูงอายุ
ประเมินผู้สูงอายุ
ควรคํานึงถึงความต้องการความถนัด ความสนใจ และความสามารถของผู้สูงอายุเป็น
คํานึงถึงข้อจํากัดทางด้านร่างกาย
บุคลากรที่จัดกิจกรรม
การเลือกกิจกรรมนันทนาการ
การเตรียมการ เตรียมสถานที่ อุปกรณ์ กระบวนการ การดําเนินกิจกรรม เคารพในสิทธิ ระมัดระวังอุบัติเหตุ
การสิ้นสุดกิจกรรม กล่าวคําชมเชย ให้กําลังใจ และประเมินผลการจัดกิจกรรม นันทนาการ
การพยาบาลเพื่อการจัดสิ่งแวดล้อมสําหรับผู้สูงอายุ (Environment)
กระบวนการเปลี่ยนแปลงร่างกายที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากการมีสภาพแวดล้อมไม่ เหมาะสมในผู้สูงอายุ
ลานสายตาแคบลง การมองเห็นไม่ชัดเจน จากโรคต้อกระจก
การเสื่อมถอยทางการได้ยิน เช่น หูตึง ได้ยินไม่ชัด
ความเสื่อมถอยของกล้ามเนื้อ ได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จากมวลของกล้ามเนื้อลดลง
ความเสื่อมถอยของกระดูก ได้แก่ กระดูกพรุนส่งผลให้หลังโค้งงอ และ ข้อเข่าเสื่อม
ประสาทรับความรู้สึก ทั้งความเจ็บปวด ผิวหนัง กลิ่น รสชาติ ลดน้อยลง
ความเสื่อมถอยของระบบประสาทและสมอง ได้แก่ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน
ตัวบ้าน ควรเป็นบ้านชั้นเดียว ไม่มีขั้นที่สูง มีชานพักหรือบันไดที่กว้างลึก
พื้น ควรปรับให้มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระและไม่ขัดมันจนลื่น พื้นห้องที่ต้องให้ ความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ คือ ห้องน้ํา/ห้องส้วม เพราะการเปียกลื่นทําให้เกิด อุบัติเหตุได้ง่าย
บันได ควรติดตั้งราวจับที่มั่นคงเพื่อให้สะดวกในการยึดเกาะเดินขึ้นลง
ประตู ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะเป็นสาเหตุของการสะดุดหกล้ม ประตูควรเป็นบานเลื่อน หรือประตูแบบเปิดออก เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม มีราวจับให้ ผู้สูงอายุเกาะเดิน5. ห้องนอนควรจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป รวมทั้ง มีแสงสว่างเพียงพอ ข้างเตียงควรมีราวจับ เพื่อป้องกันการหกล้มจากเตียงโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอน
ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่กล่าวถึง บทบาททางสังคม และกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ
ทฤษฎีบทบาททางสังคม (Role Theory)
อายุเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ อย่างหนึ่ง ในการที่จะกําหนดบทบาทของแต่ละบุคคล บุคคลจะปรับตัวต่อการเป็นผู้สูงอายุได้ดี เพียงใด ย่อมน่าจะขึ้นอยู่กับการยอมรับบทบาทของตนเอง ในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งบทบาทดังกล่าว จะ ส่งผลไปถึงการยอมรับบทบาททางสังคม ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตด้วย
ทฤษฎีกิจกรรมทางสังคม
(Activity Theory)
ถ้าบุคคลใดมีกิจกรรมมากอย่าง จะ สามารถปรับตัวได้มากขึ้นเท่านั้น และมีความพึงพอใจในชีวิตสูง ที่ทําให้เกิดคงวามสุขในการดําเนิน ชีวิตต่อไป แนวคิดนี้จะเห็นว่ากิจกรรมเป็นสิ่งสําคัญ สําหรับผู้สูงอายุมากกว่าการลดบทบาท (Role Loss) ทางสังคมลง และจะพบว่าผู้สูงอายุมีทัศนะเกี่ยวกับตนเอง ในทางบวก และมองโลกในแง่ดี
ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรมบริการผู้อื่น
การได้เสียสละ
การช่วยเหลือผู้อื่นในการแก้ปัญหาของเขาจะทําให้ปัญหาที่เกิดกับท่านน้อยลงโดยอัตโนมัติ
ติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งมีสภาพเลวร้ายกว่าท่านในบางเรื่อง
การเสียสละต่อสังคม
การเสียสละหรือบริการผู้อื่น จะทําให้มีสุขภาพจิตดีและทําให้สุขภาพกายดีด้วย
ประเภทของการมีส่วนร่วมในสังคม
กิจกรรมที่ไม่มีรูปแบบ (Informal activity) เช่น การช่วยเหลืองานของสมาชิกใน ครอบครัว
กิจกรรมที่มีรูปแบบ (Formal activity) เช่น เข้าร่วมในสมาคมต่าง ๆ การเข้ากลุ่มทาง ศาสนา การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม ซึ่งเป็นกิจกรรมภายนอกครอบครัว เป็นต้น
กิจกรรมที่ทําคนเดียว (Solitary activity) เช่น การทํางานในยามว่าง กิจกรรมเพื่อการ พักผ่อนหย่อนใจส่วนตัว และกิจกรรมภายในบ้าน เป็นต้น
การป้องกันภาวะพลัดตกหกล้ม (Prevention of Fall)
หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลเสียหลักล้มลงไปที่พื้น หรือ พื้นที่มีระดับต่ํากว่า ซึ่งไม่ได้เกิดจากการถูกทําร้ายหรือการหมดสติ หรือการเป็นอัมพาตฉับพลันทันทีหรือ เกิดจากการชัก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายในบุคคล (Intrinsic factor)
1.1) ปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการชราภาพ
สายตา การเสื่อมทางจอรับภาพเกิดจากการการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมลงของสายตา
กล้ามเนื้ออ่อนแรงในวัยชรา (Age-related sacropenia)
ท่าเดินและการทรงตัวผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท และสมอง
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะ พบว่าเมื่ออายุมากขึ้นทําให้การทําหน้าที่ของระบบทางเดิน ปัสสาวะลดลง โดยพบว่าความสามารถการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะและความจุใน กระเพาะ ปัสสาวะลดลง
1.2) ปัจจัยที่เกิดจากการเจ็บป่วยหรือพยาธิสภาพของโรค
ความผิดปกติของโรคระบบการไหลเวียนโลหิตและหัวใจ
ความผิดปกติของระบบประสาท
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก
ความผิดปกติของเท้า ได้แก่ตาปลา หูดขนาดใหญ่ นิ้วคด หรือมีโครงสร้าง ของเท้าที่ผิดปกติ
การได้รับยา
ปัจจัยภายนอกบุคคล (Extrinsic factor)
สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน
พื้นบ้านเป็นมันลื่น
พื้นบ้านต่างระดับที่สังเกตยาก
ประตูบ้านมีขอบธรณีประตู
แสงสว่างภายในบ้านไม่เพียงพอ
บันไดบ้านไม่มีราวบันไดจับยึด
ห้องน้ําห้องส้วมที่ไม่เหมาะสําหรับผู้สูงอายุ
การจัดบ้านเปลี่ยนที่วางเฟอร์นิเจอร์บ่อย ๆ
พรมเช็ดเท้าหรือผ้าเช็ดเท้าลื่น/ขาดรุ่งริ่ง/ขอบสูงเกินไป
ภายในบ้านมีสิ่งของวางเกะกะทางเดิน
การเลี้ยงสัตว์เช่น สุนัข หรือแมวไว้ภายในบ้าน
สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน
ถนนในชุมชน ไม่มีบาทวิถีไม่มีสะพานลอยหรือทางม้าลาย
วัด รอบเจดีย์เป็นพื้นขัดมัน บันไดปู ด้วยหินอ่อนซึ่งทําให้ลื่นหกล้มได้
ตลาด แผงขายของที่จัดวางไม่เป็นระเบียบและทางเดินแคบ
ทุ่งนา มีคันนา คูคลอง ซึ่งพื้นไม่สม่ําเสมอ เปียกลื่น เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย
ผลกระทบของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
ผลกระทบทางด้านร่างกาย
อากรฟกช้ํา
เคล็ดขัดยอก
มีแผลฉีกขาด
กระดูกหัก หรือสมองได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทําให้ พิการและเสียชีวิตได้
ผลกระทบทางด้านจิตใจ
เกิดความกลัว
วิตกกังวล ตลอดจนสูญเสียความมั่นใจ ในการปฏิบัติ กิจวัตรประจําวัน
บางรายรู้สึกอับอาย เสียใจ และรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระให้กับบุตรหลาน และทําให้ ต้องพึ่งพาผู้อื่น
ผลกระทบทางด้านสังคม
ส่วนใหญ่ลดการติดต่อกับสังคมหรือลดการทำกิจกรรมทางสังคม เช่นลดการออกไปพบเพื่อน หรือ ครอบครัว นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจของครอบครัว และสังคมส่วนรวม
การประเมินความเสี่ยง
ในการพลัดตกหกล้ม
การประเมินความสามารถในการเดินและการทรงตัว
1.1 Get up & Go
1.2 Timed up & Go
1.3 One leg stance test
1.4 Berg Balance Scale (BBS)
ประเมินความสามารถ
ในการทํากิจวัตรประจําวัน
แบบประเมินของ Barthel Activities of Daily Living : ADL เป็นแบบประเมิน การทํากิจวัตรประจําวันขั้นพื้นฐาน 10 กิจกรรม มี คะแนนเต็ม 20 คะแนน
การแปลผล
0-4 คะแนน ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
5-11 คะแนน ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
12-20 คะแนน ช่วยเหลือตัวเองได้
แบบประเมิน Instrumental activities of daily Living Scale (Lawton)
แบบประเมินการทํากิจกรรมในระดับปานกลางในชีวิตประจําวัน ที่ต้องอาศัย เครื่องมือ มี 7 กิจกรรม
การแปลผล
เพศชายคะแนนเต็ม 10 คะแนน
เพศหญิงคะแนนเต็ม 16 คะแนน เป็นต้น
แบบประเมินสิ่งแวดล้อม
ที่ปลอดภัยภายในบ้าน
รายการการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมที่ ปลอดภัยภายในบ้านของ CDC Foundation (2005) ให้ผู้ประเมินตรวจสอบสิ่งแวดล้อมตามรายการ และ ให้คําแนะนําการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มได้ เป็นต้น 8.5 หลักการพยาบาลเพื่อการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ