Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด
(Congenital Megacolon, Hirschsprung 's Disease)…
ลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด
(Congenital Megacolon, Hirschsprung 's Disease)
-
-
-
-
การรักษา
-
การผ่าตัด
ระยะแรก การทำ Colostomy
วิธีของ สเวนสัน (Swenson Operation) ทำการผ่าตัดทางหน้าท้อง เพื่อตัดลำไส้ที่โป่งพอง และบริเวณที่ไม่มีเซลล์ประสาทออก พร้อมกับผ่าตัด rectum ส่วนต้นและนำลำไส้ส่วนต้นที่เหลือกับมาเย็บเชื่อมกับ rectum ที่เหลือซึ่งทำข้างนอกแล้วดันกลับเข้าไป หลังจากนั้นประมาณ 2 wk จึงผ่าตัด Colostomy
วิธีของ ดูฮาเมล (duhamel Operation) การตัดลำไส้ที่โป่งพองออกและนำลำไส้ส่วนต้นที่มีเซลล์ประสาทมาเลี้ยงข้างล่างผ่านผนังด้านหลังของ rectum และออกมานอกทวารหนักใช้คีมหนีมผนังด้านหลังของ rectum และผนังด้านหน้าของลำไส้ส่วนต้นที่มีเซลล์ประสาทมาเลี้ยง ประมาณ 7-10 วัน ผนังทั้ง 2 จะเน่าและขาดออกจากกัน
วิธีของโซพ (Soave Operation) การตัดเยื่อบุของ rectum และนำลำไส้โป่งพองออก และนำลำไส้ส่วนที่มีเซลล์ประสาทมาเลี้ยง เย็บต่อกับรูทวารหนักอาจมีปัญหาเกิดการตีบ
แคบของรอยต่อ และการถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น
ระยะที่สอง การผ่าตัดเพื่อการรักษาเมื่ออายุ 1 ปี หรือเมื่อน้ำหนัก 8-10 kg โดยตัดลำไส้ส่วนต้นที่มีเซลล์ประสาทมาเลี้ยง มาต่อคร่อมใกล้กับrectumส่วนปลายหรือช่องเปิดทวาร เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถถ่ายอุจจาระหรือกลั้นอุจจาระได้
-
การพยาบาล
ระยะก่อนผ่าตัด
-
กิจกรรมการพยาบาล
- จัดให้ทารกนอนศีรษะสูง เพื่อช่วยให้ลมและอาหารไหลลงสู่ลำไส้ได้สะดวกและช่วยไม่ให้กระบังลมไปดันช่องทรวงอก
- ทารกที่มีท้องอืดมากๆ ใส่สายยางทางจมูกและดูดลมออกเป็นระยะๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์
- อุ้มและจับทารกให้เรอเอาลมออกจากกระเพาะหลังให้นมทุกครั้ง
- สังเกตและบันทึกลักษณะของอุจจาระ และปัสสาวะ ในทารกที่มีรูทวารหนักตีบ หรือทารกที่มีความผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะร่วมด้วย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล : บิดามารดาอาจเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความผิดปกติของบุตร การทำผ่าตัดแก้ไขและผลการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
- ปลอบโยนให้กำลังใจและให้คำแนะนำบิดามารดาเกี่ยวกับสาเหตุของความผิดปกติและการรักษาการดูแลบุตรทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัด เช่น การถ่างขยายรูทวารหนัก การดูแลแผลผ่าตัด เป็นต้น
- แนะนำบิดามารดา ให้มาเยี่ยม อุ้ม สัมผัส และให้การดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความวิตกกังวลของบิดามารดา และสนองความต้องการพื้นฐานของทารก
- เปิดโอกาสให้บิดามารดาได้ซักถามปัญหา และพูดคุยเกี่ยวกับความวิตกกังวลของตน
ระยะหลังผ่าตัด
-
กิจกรรมการพยาบาล
- จัดให้ทารกนอนตะแคงหรือคว่ำ เพื่อช่วยลดความตึงของแผลผ่าตัด และป้องกันการปนเปื้อนของอุจจาระ และปัสสาวะ
- ดูแลรักษาความสะอาดแผลผ่าตัดอยู่เสมอ ในทารกที่ทำผ่าตัดบริเวณฝีเย็บจะต้องทำความสะอาดฝีเย็บทุกครั้ง หลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
- ส่องไฟที่ก้นหรือบริเวณแผลผ่าตัดเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้แผลแห้งและติดดีขึ้น
- ไม่วัดอุณหภูมิทางทวารหนัก แต่จะวัดอุณหภูมิทางรักแร้แทน เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบและแผลแยกได้
- ทารกที่ทำผ่าตัด เปิดปลายลำไส้ทางหน้าท้อง (colostomy) จะต้องดูแลความสะอาดผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ทุกครั้งที่มีอุจจาระ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนบริเวณแผลผ่าตัด
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ใช้นิ้วมือถ่างขยายรูทวารหนักให้ทารกบ่อยๆ
2.สอนและแนะนำบิดามารดาให้ช่วยถ่างขยายรูทวารหนักให้ทารก ขณะมาเยี่ยมและเมื่อทารกกลับบ้านอ่จจะใช้เทียนไขในการช่วยถ่างขยาย 1-2 สัปดาห์/ครั้ง โดยการเปลี่ยนขนาดเทียนไขไปเรื่อยๆ
- สังเกตลักษณะการถ่ายอุจจาระของทารกเพื่อช่วยประเมินภ่วะรูทวารหนักตีบ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล : บิดามารดาอาจเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ความก้าวหน้าของการรักษาและการดูแลบุตรหลังผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
- เปิดโอกาสให้บิดา มารดา ได้ซักถามปัญหา และพูดคุยเกี่ยวกับความวิตกกังวลของตน
- ปลอบโยน ให้กำลังใจ ตอบคำถาม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลบุตรการถ่างขยายรูทวารหนัก การทำความสะอาดแผลผ่าตัด การดูแลผิวหนังรอบรูเปิดของลำไส้ในทารกที่ทำการผ่าตัดเปิดลำไส้ออกทางหน้าท้อง (colostomy) การสังเกตอาการตีบตันของรูทวารหนัก และการมาตรวจตามแพทย์นัด