Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
David McClelland
(นักทฤษฎีทางจิตวิทยา)
78 , 789 , timthumb , ห , …
David McClelland
(นักทฤษฎีทางจิตวิทยา)
ประวัติ
เป็นนักทฤษฎีทางจิตวิทยาอเมริกัน
- เกิดวันที่ 20 พฤษภาคม 1917
ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
- เสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1998
ใน Lexington, Massachusetts, ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาตรีศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวสลียันในปี 1938
- ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยมิสซูรีในปี 1939
- ปริญญาเอกด้านจิตวิทยาการทดลองจากมหาวิทยาลัยเยลในปี 1941
David McClelland สอนที่วิทยาลัยคอนเนตทิกัตและมหาวิทยาลัยเวสลียันก่อนเข้าร่วมคณะที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดใน ปี 1956 ซึ่งเขาทำงานเป็นเวลา 30 ปี โดยดำรงตำแหน่งประธานภาควิชาจิตวิทยาและความสัมพันธ์ทางสังคม ในปี1987 เขาย้ายไปที่มหาวิทยาลัยบอสตันซึ่งเขาได้รับรางวัล American Psychological Association Award สำหรับผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่น
ผลงาน David McClelland
ผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับทฤษฎีความต้องการ จากปี 1950 จนถึงปี 1990 ได้แก่
- The Achievement Motive (1953) : แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
- The Achieving Society (1961) : สังคมบรรลุ หรือสังคมแห่งความสำเร็จ
- The Roots of Consciousness (1964) : รากฐานของสติ
- Toward A Theory Of Motivation Acquisition (1965) : สู่ทฤษฎีการได้มาซึ่งแรงจูงใจ
- Power: The Inner Experience (1975) : พลัง: ประสบการณ์ภายใน
- Managing Motivation to Expand Human Freedom (1978) : การจัดการแรงจูงใจเพื่อขยายเสรีภาพของมนุษย์
- Human Motivation (1987) : แรงจูงใจของมนุษย์
แนวคิด David McClelland
1. ทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์
จากการศึกษาพบว่าพนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมักต้องการจะทํางานในลักษณะ 3 ประการดังนี้
- 1.งานที่เปิดโอกาสให้เขารับผิดชอบเฉพาะส่วนของเขา และเขามีอิสระที่จะตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- 2.ต้องการงานที่มีระดับยากง่ายพอดี ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไปกว่าความสามารถของเขา
- 3.ต้องการงานที่มีความแน่นอนและต่อเนื่องซึ่งสร้างผลงานได้และทําให้เขามีความก้าวหน้าในงานเพื่อจะ พิสูจน์ตนเองถึงความสามารถของเขาได้
2. การเปลี่ยนแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมแรงจูงใจ
แรงจูงใจที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ถ้าคุณรู้ว่าคนที่มีแรงจูงใจบางอย่าง คิดและกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากเรา ต้องการเปลี่ยนแรงจูงใจของพวกเขา ก็สามารถทําได้โดยการเปลี่ยนวิธีการคิดและการกระทํา หลังจากที่ได้ ทดลองในหลายประเทศทั่วโลก สังเกตได้ว่า หลายคนสามารถทําให้คนหนึ่งเปลี่ยนแรงจูงใจได้ คนจะแสดง การกระทําที่เปลี่ยนไป หากพวกเขามีความต้องการที่เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หาก ไม่มีการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมของบุคคลและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ฉะนั้นหากเราสร้างแรงจูงใจที่เปลี่ยนไป พวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
3.การทดสอบมาตรการและวิธีการทดสอบผลของการกระทํา
เช่น การทดสอบสติสัมปชัญญะ, ทดสอบใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการสัมภาษณ์งาน และการทดสอบจากการวิเคราะห์เฉพาะเรื่องจากการวิจัยและ การประยุกต์ใช้
4. การพัฒนาจากการศึกษางานสมรรถภาพ
สมรรถนะ Competency คือ ความรู้ ทักษะ และพฤตินิสัยที่จําเป็นต่อการทํางานของบุคคล ให้ประสบ ผลสําเร็จสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการดังนี้
1.ความรู้ (Knowledge) คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “รู้”
- ทักษะ (Skill) คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “ทํา”
- พฤตินิสัยที่พึงปรารถนา (Attiributes) คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “เป็น
-
David McCleland เป็นผู้เสนอทฤษฎีความต้องการจากการเรียนรู้ขึ้น โดยสรุปว่าคนเราเรียนรู้ความ ต้องการจากสังคมที่เกี่ยวข้อง ความต้องการจึงถูกก่อตัวและพัฒนามาตลอดช่วงชีวิตของแต่ละคน และเรียนรู้ว่า ในทางสังคมแล้ว เรามีความต้องการที่สําคัญ 3 ประการ คือ
ความต้องการความสําเร็จ (need for achievement)
เป็นความต้องการที่จะทํางานได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีมาตรฐานสูงขึ้นในชีวิต มีผู้ความต้องการความสําเร็จสูงจะมีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้
- มีเป้าหมายในการทํางานสูง ชัดเจนและท้าทายความสามารถ
- มุ่งที่ความสําเร็จของงานมากกว่ารางวัล หรือผลตอบแทนที่เป็นเงินทอง
- ต้องการข้อมูลย้อนกลับในความก้าวหน้าสู่ความสําเร็จทุกระดับ
- รับผิดชอบงานส่วนตัวมากกว่าการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น
ความต้องการความผูกพัน(need for affiliation)
เป็นความต้องการที่จะรักษามิตรภาพและ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไว้อย่างใกล้ชิด ผู้มีความต้อง
การความผูกพันมีลักษณะ ดังนี้
- พยายามสร้างและรักษาสัมพันธภาพและมิตรภาพให้ยั่งยืน
- อยากให้บุคคลอื่นชื่นชอบตัวเอง
- สนุกสนานกับงานเลี้ยง กิจกรรมทางสังคม และการพบปะสังสรรค์
- แสวงหาการมีส่วนร่วมด้วยการร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม หรือองค์กรต่างๆ
ความต้องการอํานาจ (need for power)
เป็นความต้องการที่จะมีส่วนควบคุม สร้างอิทธิพล หรือ รับผิดชอบในกิจกรรของผู้อื่น ผู้มีความต้องการอํานาจ จะมีลักษณะพฤติกรรม ดังนี้
- แสวงหาโอกาสในการควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น
- ชอบการแข่งขันในสถานการณ์ที่มีโอกาสให้ตนเองครอบงําคนอื่นได้
- สนุกสนานในการเชิญหน้าหรือ โต้แย้ง ต่อสู่กับผู้อื่น
ความต้องการอํานาจมีสองลักษณะ คือ อํานาจบุคคล และอํานาจสถาบัน อํานาจบุคคลมุ่งเพื่อประโยชน์ ส่วนตัวมากกว่าองค์กร แต่อํานาจสถาบันมุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยทํางานร่วมกับคนอื่น
-
-
-
-
-
-