Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณธรรม-จริยธรรม-และ จิตวิญญาณความเป็นครู - Coggle Diagram
คุณธรรม-จริยธรรม-และ
จิตวิญญาณความเป็นครู
คุณธรรม
คุณธรรมของวิชาชีพครูตามหลักพุทธธรรม
อิทธิบาท 4
4 ข้อ
1.ฉันทะ (ความพอใจ)
2.วิริยะ (ความเพียร)
3.จิตตะ (ความคิด)
4.วิมังสา(ไตร่ตรอง)
พละ 5
ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย ความวิตก
วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท ความงมงาย
สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุม การทำเกินพอดี
พรหมวิหาร 4
เมตตา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย ทำใจเป็นกลาง
สังคหวัตถุ 4
ทาน ในสังคหวัตถุ 4 คือ การให้ การสงเคราะห์หรือช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการให้สิ่งของที่ตนมีให้แก่ผู้ที่ต้องการผู้ขาดแคลนหรือผู้เดือดร้อน
ปิยวาจา ในสังคหวัตถุ 4 คือ การใช้วาจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพ และถ้อยคำที่มีประโยชน์ พูดด้วยถ้อยคำที่เป็นจริง
อัตถจริยา ในสังคหวัตถุ 4 คือ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งตนเอง และผู้อื่น รู้จักการเสียสละไม่เห็นแก่ตัว
สมานัตตตา ในสังคหวัตถุ 4 คือ การวางตัวให้เหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย รู้จักวางตนให้เหมาะสมกับฐานะ
เบญจศีลเเละเบญจธรรม
เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่
เมตตากรุณา
สัมมาอาชีพ
ความสำรวม
ความซื่อสัตย์
สติ
คุณลักษณะของครูที่ดีตาม
พระบรมราโชวาท
10 ข้อ
1.ทาน
2.ศีล
3.บริจาคะ
4.อาชชวะ
5.มัทวะ
6.ตบะ
7.อักโกธะ
8.อวิหิงสา
9.ขันติ
10.อวิโรธนะ
จรรยาบรรณของวิชา ชีพครู พ.ศ. 2556
1.จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อที่ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อที่ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อที่ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ข้อที่ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ข้อที่ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ข้อที่ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อที่ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
5.จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผล ประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จิตวิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ
1.ช่วยพัฒนาหรือยกระดับความคิดเเละทักษะในการสอน
2.มีคุณธรรมจริยธรรม ศีลธรรม มีความรับผิดชอบ
3.มีการยืดหยุ่นเเละเข้าใจในความเปลี่ยนเเปลงของสังคม
4.มองนักเรียนว่ามีความเป็นมนุษย์เเละมีศักยภาพ
5.มีความสุขเเละมีความภาคภูมิใจในอาชีพ
6.ได้รับการยอมรับจากสังคมเเละศิษย์