Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 การป้องกันโรคและความผิดปกติของระบบภูมคุ้มกัน โรคแอดดิสันAddison…
บทที่3 การป้องกันโรคและความผิดปกติของระบบภูมคุ้มกัน
โรคแอดดิสันAddison's disease
การรักษาโรคแอดดิสัน
โรค Addison's Disease รักษาได้โดยการรับประทานฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตไม่ได้ เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน เพรดนิโซน คอร์ติโซนสำหรับทดแทนฮอร์โมนคอร์ติซอล ฟลูโดคอร์ติโซนสำหรับทดแทนฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน เป็นต้น แต่หากผู้ป่วยอาเจียนหรือไม่สามารถรับประทานยาได้ แพทย์อาจฉีดยาเข้าหลอดเลือดแทน
ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะหากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาการของโรคอาจเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำ โพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะร้ายแรงจะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยแพทย์จะให้ยาไฮโดรคอร์ติโซน สารละลายน้ำเกลือ และน้ำตาลเดกซ์โทรสแก่ผู้ป่วยผ่านทางหลอดเลือด เพื่อช่วยให้ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และระดับโพแทสเซียมกลับมาเป็นปกติ
สาเหตุของโรคแอดดิสัน
ภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่องแบบปฐมภูมิ
เกิดขึ้นเมื่อต่อมหมวกไตได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้อีก โดยมักมีสาเหตุมาจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและหันมาทำลายต่อมหมวกไต รวมทั้งอาจเกิดจากอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น วัณโรค การติดเชื้อที่ต่อมหมวกไต มะเร็งต่อมหมวกไต ภาวะมีเลือดออกที่ต่อมหมวกไต
ภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่องแบบทุติยภูมิ
เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่ทำให้ไม่สามารถผลิตแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกฮอร์โมน (Adrenocorticotropic Hormone: ACTH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่คอยกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนออกมา เมื่อมีแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกฮอร์โมนไม่เพียงพอ ต่อมหมวกไตจึงผลิตฮอร์โมนได้ไม่เพียงพอตามไปด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อรักษาโรคเรื้อรังเป็นประจำ เช่น โรคหืด หรือโรคข้ออักเสบ เป็นต้น ก็อาจเสี่ยงต่อภาวะต่อมหมวกไตบกพร่องแบบทุติยภูมิได้หากหยุดใช้ยาอย่างฉับพลัน
อาการของโรคแอดดิสัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
สีผิวเข้มขึ้น
ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า
เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
คลื่นไส้ อาเจียน
รู้สึกอยากอาหารรสเค็ม
ท้องเสีย ปวดท้อง
วิงเวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ
หงุดหงิด หรือซึมเศร้า
ขนร่วง
ผู้ป่วยเพศหญิงอาจมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย
การวินิจฉัยโรคแอดดิสัน
การตรวจภาวะทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต
(ACTH Stimulation Test) โดยวัดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดก่อนและหลังฉีดแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกฮอร์โมน หากต่อมหมวกไตเกิดความเสียหาย ระดับคอร์ติซอลของผู้ป่วยจะไม่เพิ่มขึ้นหลังฉีดฮอร์โมน
การตรวจเลือด
เป็นวิธีวัดระดับโซเดียม โพแทสเซียม ฮอร์โมนคอร์ติซอล และแอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกฮอร์โมน เพื่อดูว่าเข้าข่ายภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่องหรือไม่ รวมทั้งวัดปริมาณสารภูมิต้านทานที่บ่งบอกถึงการป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
การทดสอบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดยฉีดอินซูลิน
ในกรณีที่คาดว่าผู้ป่วยมีภาวะต่อมหมวกไตทำงานบกพร่องเนื่องจากโรคต่อมใต้สมอง แพทย์อาจตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในหลายช่วงเวลาหลังฉีดอินซูลิน ซึ่งหากระดับน้ำตาลลดต่ำลงและคอร์ติซอลเพิ่มสูงขึ้นจะถือว่าเป็นปกติ
การตรวจด้วยภาพถ่าย
การทำซีทีสแกน การทำเอ็มอาร์ไอสแกน หรือการเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูขนาด ความผิดปกติของต่อมหมวกไตและต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจช่วยให้ทราบสาเหตุที่ต่อมหมวกไตทำงานบกพร่องด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคแอดดิสัน
ผู้ป่วย Addison's Disease บางคนอาจมีโรคหรือภาวะเจ็บป่วยอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น เบาหวาน หรือภาวะไฮโปไทรอยด์ เป็นต้น และอาจมีตารางกิจวัตรประจำวันที่จำกัดมากขึ้น เนื่องจากต้องมีวินัยในการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากไม่รับประทานยาหรือรับประทานยาช้ากว่าเวลาที่กำหนด อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าหรือนอนไม่หลับได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการแย่ลงอย่างฉับพลันหรือที่เรียกว่าภาวะวิกฤติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเจ็บป่วยอื่น ๆ การผ่าตัด ภาวะขาดน้ำ การหยุดใช้ยาหรือลดปริมาณยาที่ใช้รักษาอย่างกะทันหัน เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจนำไปสู่ภาวะช็อก ชัก และโคม่าได้
การป้องกันโรคแอดดิสัน
Addison's Disease เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ ส่วนผู้ป่วยโรคนี้ควรป้องกันอาการของโรคกำเริบโดยรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหากต้องการหยุดใช้ยา รวมทั้งพกป้ายแสดงประวัติสุขภาพและอุปกรณ์สำหรับฉีดฮอร์โมนคอร์ติซอลเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินเสมอ นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอด หากมีอาการแย่ลงก็ควรรีบไปพบแพทย์
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน : ภาวะไวเกิน โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่มีกระบวนการต่างๆของร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อการมีสิ่ง
แปลกปลอมต่างๆเข้าสู่ร่างกายหรือเกิดขึ้นในร่างกายเองอาการอันไม่พึงปรารถนาซึ่งก่อให้เกิดขึ้นโดยระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคภูมิแพ้ หรือ ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง โดยอาการเหล่านี้อาจสร้างความไม่สบายตัว, การป่วยไข้ หรือในบางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการเหล่านี้มักจะต้องถูกกระตุ้นไปยังระบบภูมิคุ้มกันก่อนเสมอ