Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล…
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2564
หมวดที่ 1
บททั่วไป (ข้อ4)
“การรักษาโรคเบื้องต้น”
กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพทั้งการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัย แยกโรค การรักษาโรคและการบาดเจ็บ การป้องกันโรค รวมถึงการปฐมพยาบาล เพื่อการแก้ปัญหาความเจ็บป่วยให้ผู้ป่วยพ้นภาวะการเจ็บป่วยหรือภาวะวิกฤต
ภาวะผู้ป่วยฉุกเฉิน
Hypoglycemia
Diabetic ketoacidocis
“การเจ็บป่วยฉุกเฉิน”
การได้รับบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยกะทันหัน
ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่พบบ่อย
Heat Stroke
ชัก
เป็นลมแดด
ลมบ้าหมู
เป็นลม
หอบหืด
“การเจ็บป่วยวิกฤต”
การเจ็บป่วยที่รุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้
“การปฐมพยาบาล”
การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย โดยดูแลเพื่อบรรเทาอาการหรือป้องกันไม่ให้ภาวะนั้นเลวลง
“การให้ภูมิคุ้มกัน”
กระบวนการที่ทำให้ร่างกายสร้างหรือเกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ต้องการให้วัคซีน
หมวดที่ 2
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ส่วนที่ 1 การพยาบาล (ข้อ 5-8)
ข้อที่ 7
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ให้กระทำการพยาบาลที่
ไม่ยุ่งยากซบัซอ้นตามแผนการพยาบาล ใรกรณีที่เป็นปัญหา ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือวิกฤตจะทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลได้จะต้องกระทำร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
ข้อที่ 6
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะผู้ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู้บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษา
6.1 ห้ามให้ยาหรือสารละลายในช่องรอบเยื่อบุไขสันหลังหรือช่องไขสันหลัง หรือสายสวนทางหลอดเลือดดำส่วนกลางและช่องทางอื่นตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
6.2 ห้ามให้ยาหรือสารละลาย หรือสารที่เกี่ยวข้องกับรังสีวินิจฉัยและยาอื่นตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ประกาศสภาพยาบาลห้ามไม่ให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ
กลุ่มสารละลายทึบรังสี (Contrast media) ทุกชนิด
กลุ่มยาระงับความรู้สึกที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Intravenous anesthetic agents)
พรอโพฟอล (Propofol)
เอโทมีเดท (Etomidate)
คีตามีนไฮโดรคลอไรด์ (Ketamine hydrochloride)
ยกเว้น ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมวิสัญญีพยาบาลและปฎิบัติงานในห้องผ่าตัดของสถานพยาบาลที่มิใช่สถานพยาบาลตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล
ไธโอเพ็นทัลโซเดียม (Thiopental sodium)
เคมีบำบัดต้องเข้าอบรมก่อน
1.3 กลุ่มยาเคมีบำบัดเว้นแต่ได้ปฏิบัติตามข้อ2
2.1 ต้องผ่านการรอบรมการให้ยาเคมีบำบัดตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนดและได้รับใบรับรองจากสภาการพยาบาล
2.2 ต้องเป็นกลุ่มยาเคมีบำบัดที่ได้มีการเตรียม หรือผสมเรียบร้อยแล้วจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
2.3 ต้องให้กลุ่มยาบำบัดได้เฉพาะทางหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือทางหลอดเลือดดำที่เปิดไว้แล้วโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ข้อ 8
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นสอง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นสอง จะให้ยาผู้รับบริการได้เฉพาะการให้ยาทางปากและยาภายนอก ตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งเป็นผู็บำบัดโรคได้ระบุไว้ในแผนการรักษาหรือเมื่อเป็นการปฐมพยาบาล และห้ามใช้ยาในชนิดและช่องทางตามที่สภาการพยาบาลประกาศตามข้อ 6.1 และ 6.2
ให้ยากิน ยาทา ยาพ่น
ข้อที่ 5
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
5.3 การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การควบคุม และการแก้ปัญหาความเจ็บป่วยหรือวิกฤต
5.2 การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
5.4 การปฏิบัติการพยาบาลตามแผนการพยาบาล และ/หรือแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.1 การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล การตรวจประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ การควบคุมการแพร่กระจายโรค การปฐมพยาบาล การบำบัดโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งรายทั่วไป รายที่ยุ่งยาก หรือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือวิกฤต
5.5 การให้การพยาบาลที่บ้านและการส่งเสริมความสามาถของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ส่วนที่ 2 การทำหัตถการ (ข้อ 9)
ข้อ 9
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง กระทำการพยาบาลโดยการทำหัตถการตามขอบเขตที่กำหนด ดังนี้
9.1 การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous tissue) และไม่อยู่ในตำแหน่งซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย โดยใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ หรือการตัดไหมในตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตราย การดูแลรักษาบาดแผลไหม้ แผลน้ำร้อนลวก หรือสารเคมีไม่เกินระดับ 2 ของแผลไหม้
9.2 การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอม การผ่าฝี การผ่าตัดตาปลา การเลาะก้อนใต้ผิวหนังในบริเวณที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่ในการเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากอวัยวะ
9.3 การถอดเล็บ การจี้หูดหรือจี้ตาปลาโดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนังหรือฉีดยาชาเฉพาะที่
9.4 การให้ออกซิเจน
9.5 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต ภาวะสูญเสียสมดุลของสารน้ำในร่างกาย ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะช็อค การปฐมพยาบาลหรือตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
9.6 การให้ยาทางปาก ทางผิวหนัง ทางหลอดเลือดดำ หรือช่องทางอื่นๆ ตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
9.6 การให้ยาทางปาก ทางผิวหนัง ทางหลอดเลือดดำ หรือช่องทางอื่นๆ ตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
9.8 การเปิดทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการดูดเสมหะ การเคาะปอด
9.9 การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio pulmonary resuscitation) เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตของผู้ป่วย
9.10 การเช็ดตา ล้างตา (Eye irrigation) หยอดตา ป้ายตา ปิดตาหรือการล้างจมูก
9.11 การสอดใส่สายยางลงไปในกระเพาะอาหาร (Nasogastric tube) เพื่อให้อาหาร ให้ยาหรือล้างกระเพาะอาหารในรายที่กินสารพิษหรือตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
9.12 การสวนปัสสาวะหรือการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะในรายที่ไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
9.13 การสวนทางทวารหนักในรายที่ไม่มีข้อบ่งชี้อันตราย
9.14 การดามหรือการใส่เฝงือกชั่วคราว
9.15 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
9.16 การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือปลายนิ้ว หรือสารคัดหลั่งเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามข้อบังคับหรือประกาศที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
9.17 หัตถการอื่นๆตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
หมวดที่ 3
การรักษาโรคเบื้องต้น (ข้อ 10-15)
ข้อ 11
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
11.1 สาขาที่ศึกษาเฉพาะทาง
11.1.1 สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
11.1.2 สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา
11.1.3 สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน
11.1.4 สาขาเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การล้างไตทางช่องท้อง)
11.1.5 สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต (การฟอกเลือดด้วย
เครืองไตเทียม)
11.1.6 สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ
11.1.7 สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
11.1.8 สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ
11.1.9 สาขาการพยาบาลผู้ป่ วยมะเร็ง
11.1.10 สาขาการพยาบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด
11.1.11 สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
11.1.12 สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
11.1.13 สาขาการจัดการโรคเรื้อรัง
11.1.14 สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
11.1.15 การพยาบาลสาขาอื่่นที่
สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
11.2 ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร และได้รับหนังสืออนุมัติหรือวัฒิบัตรที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด ในสาขาต่อไปนี้
11.2.1 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
11.2.2 การพยาบาลเด็ก
11.2.3 การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
11.2.4 การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ
11.2.5 การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
11.2.6 การผดุงครรภ์
11.2.7 การพยาบาลมารดาและทารก
11.2.8 การพยาบาลสาขาอื่นที่
สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
11.3 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบการวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ตามข้อ11.1 และข้อ 11.2 นอกจากปฏิบัติตามข้อ 9 และข้อ 10 ได้แล้ว สามารถทำการพยาบาล การรักษาโรคเบื้องต้นและหัตถการในสาขาที่ผ่านการศึกษาฝึกอบรมตามข้อบังคับหรือประกาศที่สภาการพยาบาลกำหนด
ข้อ 10
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้กระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคดังต่อไปนี้
10.6 ปวดเมื่อย
10.7 ปวดหลัง
10.5 ปวดศีรษะ
10.8 ปวดเอว
10.4 ไอ
10.9 ปวดท้อง
10.3 ไข้จับสั่น
10.10 ท้องผูก
10.2 ไข้หรือมีผื่นหรือจุด
10.11 ท้องเดิน
10.12 คลื่นไส้อาเจียน
10.1 ไข้ตัวร้อน
10.13 การอักเสบต่างๆ
10.14 โลหิตจาง
10.15 ดีซ่าน
10.16 โรคขาดสารอาหาร
10.17 อาหารเป็นพิษ
10.18 โรคพยาธิลำไส้
10.19 โรคบิด
10.20 โรคไข้หวัด
10.21 โรคหัด
10.22 โรคคางทูม
10.24 โรคไอกรน
10.25 โรคผิวหนังเหน็บชา
10.26 ปวดฟัน
10.27 เหงือกอักเสบ
10.28 เจ็บตา
10.29 เจ็บหู
10.30 โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
10.31 ภาวะแท้งคุกคามหรือหลังแท้งแล้ว
10.32 การให้ภูมิคุ้มกันแก่บุคคลทั่วไป หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด ทารกและเด็ฏ
10.33 ความเจ็บป่วยอื่ืนๆตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ข้อ 12
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบการวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ต้องกระทำการรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคโดย
12.1 ตรวจวินิจฉัยและบำบัดโรคตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
12.2 ให้ส่งผู้ป่วยไปรับการบำบัดรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เมื่อปรากฎตรวจพบหรือพิจารณาแล้วเห็นว่าอาการไม่บรรเทา อาการรุนแรงเพิ่มขึ้น มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อน เป็นโรคติดต่อหรือมีเหตุอันควรอื่นๆ เกี่ยวกับการบำบัดรักษา
ข้อ 13
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ขั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาให้ใช้ยาได้ตามคู่มือการใช้ยาที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
ข้อ 14
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ในการให้ภูมิคุ้มกันโรค ต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ 15
ต้องมีบันทึกรายงานเกี่ยวกับประวัติของผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ อาการและอาการเจ็บป่วย โรค การพยาบาล การให้การรักษาหรือการให้บริการ วันเวลาในการให้บริการ ชื่อประกอบวิชาชีพตวามความเป็นจริง ตามแบบของสภาการพยาบาล เก็บบันทึกและรายงานไว้เป็นหลักฐานเป็นเวลา 5 ปี
หมวดที่ 4
การประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์
ส่วนที่ 1 การพยาบาลก่อนการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์
ข้อ 16
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ใหการผดุงครรภ์แก่หญิงและครอบครัวเมื่อต้องการมีบุตร ระยะตั้งครรภ์ด้วยกระบวนการดังนี้
16.1 การตรวจประเมินภาวะสุขภาพของหญิงและคู่สมรสเพื่อวางแผนการมีบุตร
16.2 การตรวจประเมินภาวะการตั้งครรภ์ด้วยเวชภัณฑ์ทดสอบการตั้งครรภ์
16.3 การรับฝากครรภ์
16.3.1 การประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์ การสอนการปฏิบัติตนของบิดาและมารดาในตั้งครรภ์ การคลอดและหลังคลอดเพื่อเตรียมการคลอด
16.3.2 การประเมินการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ที่อาจมีผลกระทบกับการตั้งครรภ์ การคลอด การผ่าตัดอื่นที่นอกเหนือไปจากการผ่าตัดคลอด การใช้ยา การแพ้ยาและอาหาร
16.3.3 การประเมินประวัติทางสูติกรรม จำนวนครั้งที่เคยตั้งครรภ์ ผลการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง รายละเอียดการคลอด ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อน
16.3.4 การตรวจร่างกายทั่วไปและการประเมินภาวะโภชนาการของหญิงมีครรภ์
16.3.5 การตรวจครรภ์และทารกในครรภ์เพื่อประเมินภวะการตั้งครรภ์และตรวจเต้านมและหัวนม เพื่อเตรียมพร้อมให้มารดา
16.3.6 ให้ยาเสริมธาตุเหล็กและโฟเลตแก่หญิงมีครรภ์
16.3.7 การให้วัคซีนีป้องกันบาดทะยักและวัคซีนอื่นตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 17
แนะนำและส่งต่อหญิงมีครรภ์ให้ได้รับการตรวจและรักษากับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามเกณฑ์การฝากครรภ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ 18
ส่งต่อหญิงมีครรภ์กลุ่มเสี่ยงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขหรือการตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษให้ได้รับการรักษาพยาบาลจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ส่วนที่ 2 การพยาบาลระยะคลอด
ข้อ 19
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะทำการผดุงคครภืได้เฉพาะรายที่ตั้งครรภ์และคลอดปกติ
ข้อ 20
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงคครภ์ชั้นหนึ่งให้การผดุงครรภ์หญิงมีครรภ์ระยะก่อนคลอด ดังนี้
20.1 การประเมินหญิงมีครรภ์
20.2 การตรวจกระประเมินทารกในครรภ์
20.3 การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ข้อ 21
การพยาบาลระยะคลอด (Intrapartum)
21.1 การพยาบาลหญิงมีครรภ์ที่ได้รับการชักนำคลอด
21.2 การทำคลอดในรายปกติเตรียมทำคลอดเมื่อปากมดลูกเปิดสมบูรณ์แล้ว
21.3 ทำคลอดรกและเยื่อหุ้มรกโดยวิธี Modified Crede Maneuver
21.4 การเย็บซ่อมแซมฝีเย็บ ไม่เกินระดับ2
21.5 การประเมินการเสียเลือด
21.6 การประเมินสัญญาณชีพหลังคลอดและก่อนออกจากห้องคลอด
ข้อ 22
การรช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำคลอดในรายที่มีการคลอดผิดปกติ
ข้อ 23
ห้ามผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งทำการเกี่ยวกับการคลอด ดังนี้
23.1 การเจาะน้ำคร่ำ
23.2 การทำคลอดที่มีความผิดปกติ เช่น คลอดแฝด
23.3 การล้วงรก
23.4 การกลับท่าของทารกในครรภ์ทั้งภายในและนอกครรภ์
23.5 การใช้มือกดท้องในขณะช่วยทำคลอด
23.6 การเย็บซ่อมฝีเย็บที่มีการแีกระดับ 3
23.7 การทำแท้ง
ข้อ 24
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะทำการช่วยการคลอดฉุกเฉินในรายที่มีการคลอดผิดปกติที่ไม่สามารถตรวจพบก่อนการคลอดและไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทำการคลอดได้ภายในเวลาอันสมควร
ข้อ 25 ในรายที่มีการตกเลือดหลังคลอด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอันตรายต่อมารดา ให้รักษาอาการเบื้องต้นตามความจำเป็นแล้วส่งต่อทันที
ส่วนที่ 3 การพยาบาลมารดาและทารก
ข้อ 26
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งให้การพยาบาลกับมารดาหลังคลอดอย่างใกล้ชิด
ข้อ 27
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ต้องให้ยาทำลายและป้องกันการติดเชื้อสำหรับหยอดตาทารกแรกเกิดทันที
ข้อ 28
การพยาบาลทารกแรกเกิดโดยการประเมินสัญญษณชีพ ความผิดปก/ความพิการ และให้มารดาได้โอบกอดทารก ให้ดูดนมภายในชม.แรกหลังคลอด
ข้อ 29
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ต้องบันทึกรายงานเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ เก็บบันทึกเป็นเวลา 5 ปี
ข้อ 30
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นสอง ให้ทำการพยาบาลระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอดในรายที่คลอดปกติ
ส่วนที่ 4 วางแผนแผนครอบครัวและการคัดกรองมารดาและทารก
ข้อ 31
ผู้ประกอบการวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สามารถกระทำการพยาบาล และการวางแผนครอบครัว ดังนี้
31.1 การให้คำปรึกษากับคู่สมรสในการวางแผนครอบครัวแบบวิธีธรรมชาติ/คุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ
31.2 การให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยา/อุปกรณ์
ข้อ 32
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งสามารถคัดกรองมารดาและทารก
32.1 การทำ Pap smear
32.2 การประเมินภาวะสุขภาพ ความผิดปกติ/พิการของทารก
ข้อ 33
ผู้ประกอบการวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นสอง การให้บริการวางแผนครอบครัวแบบใช้ยา/อุปกรณ์
33.1 ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptive pills)
33.2 ถุงยางอนามัย
33.3 วงแหวนคุมกำเนิด
33.4 แผ่นแปะคุมกำเนิด/ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง
ส่วนที่ 5 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่มารดา ทารก และเด็ก
ข้อ 35
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นสอง ให้คำแนะนำเรื่องการเข้ารับภูมิคุ้มกันโรคและติดตามให้มารับภูมิคุ้มกัน
ข้อ 34
ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
นางสาวประกายลักษณ์ ธาราพุฒิ ห้อง2B เลขที่40 รหัส63123301077