Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Strategic Leadership and Change Managerment, นายวีรศักดิ์ กรมแสนพิมพ์…
Strategic Leadership and Change Managerment
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership)
1 ความหมาย
Roger ได้กล่าวว่า กลยุทธ์ หมายถึง กลวิธีแบบแผนปฎิบัติแบบที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อให้เกิดเป็นผลดีที่เป็นข้อได้เปรียบและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้
William F.Glueck กล่าวว่า กลยุทธ์ เป็นแผนหลักขององค์การที่วางไวเพื่อให้แน่ใจว่าจะเป็นแนวทางทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายหลักที่ต้องการได้
Samuelให้ความหมายของกลยุทธ์ว่าคือชุดของทางเลือกระยะยาวเกี่ยวกับ เป้าประสงค์เชิงปฏิบัติการและนโยบาย รวมทั้งแผนปฏิบัติการของแผนงานของรัฐบาลซึ่งองค์กร ภาครัฐบาลกำหนดโดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญสองประการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของแผนงานที่รัฐบาลกำหนดไว้ และสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของแผนงาน
ธงชัย สันติวงษ์ ได้ให้ความหมายของกลยุทธ์ว่าเป็นรูปแบบของการกระทำซึ่งผู้จัดการใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เข้ากันได้ที่จะช่วยให้องค์การมีข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ที่จะเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
เนตร์พัณณา ยาวิราช กล่าวว่า ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ หมายถึง รูปแบบของผู้นําเชิงกลยุทธ์ เริ่มจากการเป็นผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ หมายถึง ผู้นําที่มองการณ์ไกลในอนาคตถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในระยะยาวข้างหน้า เช่น 5-10 ปี ข้างหน้าวางแผนกลยุทธ์เพื่อไปสู่จุดหมาย ปลายทางที่ตั้งใจไว้ ผู้นําเชิงกลยุทธ์มีความสนใจต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการกำหนดกลยุทธ์
รังสรรค์ ประเสริฐศรี กล่าวว่า ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การเป็นผู้ที่มี ความสามารถในการคาดการณ์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยืดหยุ่น และสามารถนําวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
ดูบริน ได้ให้ความหมายไว้ว่า ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การกำหนดทิศทางองค์การกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ
2 ความสำคัญของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
1)ช่วยให้ผู้บริหาร สามารถมองเห็นภาพรวมและขอบเขตได้กว้างขวางและชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะการดำเนินงาน เชิงกลยุทธ์จะมีความลึกซึ้งในการวิเคราะห์ปัญหาในระดับที่มีนัยสำคัญต่ออนาคตขององค์การซึ่งสามารถ
2)ภาวะผู้นำกลยุทธ์ช่วยจะส่งเสริมและสนับสนุนการกำหนดและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์การตามทิศทางที่ชัดเจนและเป็นเครื่องนำทางที่เป็นรูปธรรมสำหรับสมาชิก โดยช่วยให้สมาชิก เข้าใจในวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และทิศทางที่แน่นอนขององค์การ ไม่ก่อให้เกิดความสับสนหรือความ ขัดแย้งในการทำงาน
3)ทำให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ต้องการอย่างมี ประสิทธิภาพ
4)เป็นประโยชน์ต่อองค์การในการสร้างความเข้าใจระหว่างการทำงานและบุคคลทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น บุคลากร ชุมชน กลุ่มผลประโยชน์และหน่วยงานราชการที่สามารถติดตามตรวจสอบการดำเนินงานและความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายขององค์การ
5)ช่วยให้องค์การสามารถดำเนินงานและใช้ทรัพยากรในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสำเร็จดีกว่าการบริหารงานตามปกติ เนื่องจากการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์จะมีการศึกษา วิเคราะห์ และจัดระบบความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ขององค์การอย่างรัดกุมและชัดเจน ทำให้การดำเนินงานและการจัดสรร ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับ บริบทของสังคม มีเทคนิคหรือกลยุทธ์การดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจและดูแลผู้รับบริการอย่างใกล้ชิด
3 ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
เดวิส์และเดวีส์ (Davies and Davies)
1) ด้านความสามารถในการจัดการ
(1) ความสามารถในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์การ มีความสามารถในการ มองไปในอนาคตเข้าใจในบริบทขององค์การในปัจจุบัน กำหนดแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และรูปแบบการดำเนินงานในภาวะปัจจุบัน
(2) ความสามารถในการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
(3) ความสามารถในการปรับสมาชิกในองค์การให้เข้ากับองค์การ สร้างค่านิยมใน องค์การที่สนับสนุนให้สมาชิกเกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การปรับปรุงพัฒนาองค์การไปสู่เป้าหมายของ องค์การ
(4) ความสามารถในการกำหนดเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ สามารถสร้างพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก มีการตัดสินใจที่ถูกต้องทันต่อเวลาและ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
2) ด้านคุณลักษณะเฉพาะ
(1) เป็นผู้ที่ไม่พึงพอใจกับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ปรับปรุง พัฒนาองค์การอยู่ตลอดเวลา
(2) มีความสามารถในการดูดซับความรู้ใหม่ ๆ สามารถนำความรู้มาวิเคราะห์ ประยุกต์ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ต่อองค์การ มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
(3) มีความสามารถในการปรับตัว เป็นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและมีความยืดหยุ่น สูง
(4) มีภาวะผู้นำฉลาดและมีสติปัญญา มีการตัดสินใจที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สามารถวิเคราะห์ตัดสินใจได้ว่า สิ่งไหนคือความคิดที่ดีหรือไม่ดี ทำให้ผู้อื่นยอมรับในคุณค่าและความคิดของตนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
เดส และมิลเลอร์ (Dess and Miller)
การกำหนดทิศทางขององค์การ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ที่ง่ายแก่การเข้าใจและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่มีความหมายต่อธุรกิจ เทคโนโลยีหรือวัฒนธรรมองค์การในแง่ที่ว่าสิ่งที่กล่าวมานี้จะมีรูปแบบอย่างไรต่อไป ในอนาคต เป็นการมีวิสัยทัศน์ทางกลยุทธ์นั่นเอง
การออกแบบองค์การ เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินองค์การที่จำเป็นต่อการก่อให้เกิด ผลลัพธ์ และสามารถนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้อย่างประสบความสำเร็จ
การปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์การซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นเลิศและคุณธรรมของ องค์การบุคลากรทั่วทั้งองค์การต้องได้รับการสนับสนุนให้มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน รวมทั้งเข้าใจถึงกลยุทธ์ ต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความสามารถสูงสุดและพฤติกรรมที่มีคุณธรรมอย่างเต็มที่
ดูบริน (DuBrin)
ผู้นำที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง
ความสามารถในการนำปัจจัยเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์
การมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต
วิธีการคิดเชิงปฏิบัติ
การกำหนดวิสัยทัศน์
เซงเก (Senge)
1.นักออกแบบ
2.ผู้ให้บริการหรือผู้คอยช่วยเหลือ
3.เป็นครูสอน
4 คุณลักษณะของการเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์
เป็นคนที่มีทักษะการสื่อสารที่ดีมาก
เป็นผู้ฟังอย่างตั้งใจจริง
มีความมุ่งมั่นและให้คำมั่นสัญญา
คิดบวกเสมอ
ความร่วมมือ
ความสามารถด้านการเจรจา
5 บทบาทของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
กำหนดทิศทาง
คิดเชิงกลยุทธ์
มองโอกาสมากกว่าปัญหา
สื่อสาร
สร้างแรงบันดาลใจ
สร้างความเชื่อมันและจริงใจ
6 องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
ผู้นําที่มีความคิดความเข้าใจระดับสูง
ความสามารถในการนําปัจจัยนําเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์
การมีความคาดหวังและการสร้างโอกาสสําหรับอนาคต
วิธีการคิดเชิงปฏิวัติ
การกำหนดวิสัยทัศน์
การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Managerment)
1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำและอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน โดยผ่านการตัดสินใจและการประเมินแล้วว่าเหมาะสมกับองค์การและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงอันจะนำความสำเร็จมาสู่องค์การได้
2 ความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์
ช่วยให้องค์การมีกรอบและทิศทางที่ชัดเจน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและ วัตถุประสงค์ขององค์การอย่างเป็นระบบ
ช่วยให้ผู้บริหารคิดอย่างเป็นระบบ โดยการพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ช่วยสร้างความพร้อมให้องค์การในการกำหนดวิธิีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ
ช่วยสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขัน
ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่
ช่วยให้องค์การมีมุมมองที่ครอบคลุม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการจัดการเชิงกล ยุทธ์เป็นวิธีการบริหารที่คำนึงถึงปัจจัยภายในและภายนอก
3 การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
4 การกำหนดกลยุทธ์
แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์
1) กลยุทธ์ ต้องตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก
2) กลยุทธ์ที่ดีต้องคำนึงถึงการรักษาสถานภาพ และความไดเ้ปรียบในการแข่งขัน
3) กลยุทธ์แต่ละด้านต้องมีความสอดคล้องกัน
4) กลยุทธ์ที่ดีต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น
5) กลยุทธ์ต้องสอดคล้องกับพันธกิจและเป้าประสงค์
6) กลยุทธ์ที่ดีต้องมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน
เทคนิคที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์
1 เทคนิคที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์การ
2 เทคนิคที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
3 เทคนิคที่ใช้
5 แนวคิดเกี่ยวกับการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
ใครเป็นผู้นำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
อะไรเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ
ผู้ปฎิบัติจะต้องดำเนินการอย่างไร
6 การประเมินและควบคุมกลยุทธ์
1 การกำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องทำการควบคุม
2 การกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน
3 การวัดผลการปฏิบัติงาน
4 การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน
5 การปรับปรุงแกไข้
การบริหารการเปลี่ยนแปลง
(The Change Managerment)
1 แรงขับเคลื่อนของการเปลี่ยนแปลงองค์การ
ความล้าสมัยของรูปแบบองค์การแบบเก่า
อิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรุนแรงและเข้มข้นของการแข่งขัน
ความคาดหวังของสังคม
โลกาภิวัตน์ กระแสโลกาภิวัตน์
ความรุนแรงและเข้มข้นของการแข่งขัน
ความคาดหวังของสังคม
ความคาดหวังของลูกค้า
2 ขอบเขตและระดับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์การ
1) ระดับประสิทธิผล (effectiveness) : การเปลี่ยนแปลงที่เน้นให้องค์การทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือสิ่งที่ควรทำ
2) ระดับประสิทธิภาพ (efficiency) : การเปลี่ยนแปลงที่เน้นให้องค์การทำสิ่งที่เป็นอยู่ให้ถูกต้อง 3) ระดับการปรับปรุง (improvement) : การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งต่างๆที่เป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม
4) ระดับตัดลด (cutting) : การเปลี่ยนแปลงเน้นการเลิกทำบางสิ่งที่ไม่ควรทำต่อไป
5) ระดับลอกเลียน (copying) : การเปลี่ยนแปลงเน้นสิ่งที่คนอื่นเขาทำกัน
6) ระดับสร้างความแตกต่าง (different) : การเปลี่ยนแปลงโดยทำสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น
7) ระดับเป็นไม่ได้ (impossible) : การเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถทำให้เกิดจริงหรือสำเร็จได้
3 ข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวแบบการเปลี่ยนแปลงองค์การ
นักวิชาการในยุคหลัง Lewin ได้ทำการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างต่อเนื่องและได้นำเสนอหลายรูปแบบ ทางเลือกเกี่ยวกับตัวแบบการเปลี่ยนแปลงองค์การ แต่หลักคิดส่วนใหญ่ยังเน้นและผูกติดกับการเปลี่ยนแปลงตามแผน ( a planned approach ) ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์การ หลายข้อเสนอพยายามสร้างความแตกต่างเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวน ขั้นและลักษณะธรรมชาติของแต่ละขั้นการเปลี่ยนแปลง รูปแบบในลักษณะเส้นตรงน้อยลง ให้ความสำคัญกับด้านปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันมากขึ้น รวมถึงการชี้ให้เห็นความจำเป็นสำหรับการปรับใช้ ( adapt ) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เฉพาะมากขึ้น
6 การริเริ่มการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีสนทนาโน้มน้าว
ทฤษฎีไฟกำลังไหม้บ้าน
ทฤษฎีกดดันจากผู้นำ
ทฤษฎีความไม่พอใจระดับปฏิบัติการ
7 สาเหตุของพฤติกรรมต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
1) ความหวาดกลัวส่วนบุคคลต่อการเปลี่ยนแปลง (personal fears)
2) ผลกระทบต่อสถานภาพส่วนตัว (status)
3) หลักการความถูกต้องส่วนตัว (personal virtue)
4) ค่านิยมที่ได้รับการปลูกฝัง (socialized values)
5) ความคิด/ความเข้าใจผิดๆ (misconception)
นายวีรศักดิ์ กรมแสนพิมพ์ รหัสนักศึกษา 63632233103