Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรอบรู้สุขภาพ, วัชราพร เชยสุวรรณ.(2560).ความรอบรู้ด้านสุขภาพ :…
ความรอบรู้สุขภาพ
ตามเเนวคิดของ ดอน นัทบีม (Nutbeam,2008)ได้จำเเนกองค์ประกอบของความรอยรู้ทางด้านสุขภาพไว้ 6 องค์ประกอบ
1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเเละบริการสุขภาพ หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ หมายถึง ความสามารถและทักษะในการเลือก
แหล่งข้อมูลสุขภาพ รู้วิธีค้นหาและการใช้อุปกรณ์ในการค้นหา การค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง ตลอดจน
ความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งได้ เพื่อยืนยันความเข้าใจของตนเองและได้ข้อมูล
ที่น่าเชื่อถือ
4) ทักษะการตัดสินใจ หมายถึง ความสามารถในการกำหนด ทางเลือกและปฏิเสธ/หลีกเลี่ยง หรือเลือกวิธีการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพดี รวมทั้งการใช้เหตุผล หรือ วิเคราะห์ผลดี-ผลเสีย เพื่อการปฏิเสธ/หลีกเลี่ยง/วิธีการปฏิบัติ อีกทั้งยังหมายถึงความสามารถในการ แสดงทางเลือกที่เกิดผลกระทบน้อยต่อตนเองและผู้อื่น หรือแสดงข้อมูลหักล้างความเข้าใจผิดได้อย่าง เหมาะสม
3) ทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารเพื่อให้ได้รับข้อมูลสุขภาพ และสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีพูด อ่าน เขียน ให้บุคคลอื่นเข้าใจ รวมทั้งสามารถโน้ม น้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลสุขภาพ
2) ความรู้ ความเข้าใจ หมายถึง การมีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพความสามารถในการอธิบายถึงความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาสาระด้านสุขภาพ ในการที่นำไปปฏิบัติตลอดจนการมีความสามารถในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบเนื้อหา หรือแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพได้อย่างมีเหตุผล
5) ทักษะการจัดการตนเอง หมายถึง ความสามารถในการกำหนดเป้าหมายและวางแผน การปฏิบัติ ตลอดจนปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้ รวมถึงมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนวิธีการ ปฏิบัติ ตน เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
6) การรู้เท่าทันสื่อ หมายถึง ความสามารถในการตรวจสอบ ความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่สื่อนำเสนอและเปรียบเทียบวิธีการเลือกรับสื่อ เพื่อ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถประเมินข้อความสื่อเพื่อชี้แนะ แนวทางให้กับชุมชนและสังคม
ความหมาย
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ เป็นความสามารถของบุคคลในทางความรู้ ความคิด และทักษะการใช้ชีวิต รวมถึงการ แสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะนําตนเองไปสู่การมี ความสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญา มี ความรู้เท่า รู้ทัน ต่อสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อ สุขภาพทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ซึ่งจะนํามาสู่ การมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการจัดการดูแล สุขภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกนั โรคและภัยอันตรายต่าง ๆ ตลอดจนถึงการเข้าถึง บริการสุขภาพในทุกด้าน(ชาตรี เเมตสี่เเละศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร,2560)
ทักษะต่างๆ ทางการรับรู้ และทางสังคม ซึ่ง เป็นตัว กำ หนดแรงจูงใจและความสามารถของ บุคคล ในการเข้าถึงเข้าใจและใช้
ข้อมูลในวิธีการ ต่างๆ เพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ (WHO,1998)
หมายถึง ความรู้ ความรู้ความเข้าใจ เเละทักษะทางสังคมที่กำหนดเเรงจูงใจและคสามสามารถเฉพาะบุคคลในการเข้าถึง ทำความเข้าใจ เเละใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี (Nutbeam, 2000)
สรุปได้ว่า ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ คือ ทักษะ(skill)ความสามารถ(ability) ขอบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจข้อมูลเเละบริการสุขภาพ ตัดสินใจนำข้อมูลไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถดูเเล และจัดการสุขภาพตนเอง(self management) ให้ดีอย่างต่อเนื่อง
หมายถึงความสามารถเเละทักษะในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถชี้เเนะเรื่องสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพื่อสุขภาพที่ดี (กองสุขศึกษา(2558))
ระดับของความรอบรู้
2) ระดับปฏิสัมพันธ์ (Interactive health literacy) ได้แก่ ทักษะพื้นฐานและการมีพุทธิปัญญา รวมทั้งทักษะทางสังคมที่ใช้ในการเข้าร่วมกิจกรรม รู้จักเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร แยกแยะลักษณะการสื่อสาร ที่แตกต่างกัน รวมทั้งประยุกต์ใช้ข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
3) ระดับวิจารณญาณ (Critical health literacy) ได้แก่ ทักษะทางปัญญาและสังคมที่สูงขึ้น สามารถประยุกต์ ใช้ข้อมูลข่าวสารในเชิงเปรียบเทียบ และควบคุมจัดการสถานการณ์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ ความรอบรู้ ด้านสุขภาพระดับวิจารณญาณเน้นการกระทำของปัจเจกบุคคล และการมีส่วนร่วมผลักดันสังคม การเมือง ไปพร้อมกัน จึงเป็นการเชื่อมประโยชน์ของบุคคลกับสังคมและสุขภาพของประชาชนทั่วไป
1) ระดับพื้นฐาน (Functional health literacy) ได้แก่ ทักษะพื้นฐานด้านการฟัง พูด อ่าน และ เขียนที่จำ เป็นต่อความเข้าใจและการปฏิบัติในชีวิตประจำ วัน โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นความสามารถ ในการประยุกต์ทักษะด้านการอ่านและความเข้าใจเกี่ยวกับจำ นวนตัวเลข อาทิ การอ่านใบยินยอม ฉลากยา การเขียนข้อมูลการดูแลสุขภาพ ความเข้าใจต่อรูปแบบการให้ข้อมูล การให้ข้อมูลทั้งข้อความเขียนและ วาจาจากแพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมทั้งการปฏิบัติตัวตามคำ แนะนำ ได้แก่ การรับประทานยา
กำ หนด การนัดหมาย
-
-
-
วัชราพร เชยสุวรรณ.(2560).ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่
การปฏิบัติการพยาบา. วารสารแพทย์นาว.44(3).183-195