Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder), c20c32f0eef80632c2d560a93dcfa9a5…
โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder)
ความหมาย
โรคหลงผิด (Delusion disorder) จัดเป็นโรคในกลุ่มโรคจิต (Psychotic disorders) โดยมีอาการเด่น คือ การมีความเชื่อที่ไม่เป็นจริงและไม่สามารถแก้ไขได้ จนนำมาซึ่งปัญหาและความเครียดต่อผู้ป่วยเองหรือคนในครอบครัว เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย โดยพบได้ประมาณร้อยละ 0.025 - 0.03 ในประชากรเท่านั้น น้อยกว่าโรคจิดแภทซึ่งเป็นโรคในกลุ่มโรคจิดด้วยกันมาก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าความซุกที่แท้จริงนำจะสูงกว่านี้ เพียงแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ไปพบเพทย์ และไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย
อาการของโรคจิตหลงผิด
เริ่มมีอาการในช่วงวัยผู้ใหญ่ (เฉลี่ยที่ 40 ปี)มักมีอาการ
ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักดูปกติ ไม่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาดหรือพูดจาที่สับสน ไม่มีอาการ
หูแว่ว แต่จะมีอาการหลงผิดที่เด่นชัด
สาเหตุของโรคจิตหลงผิด
ปัจจัยด้านจิตใจ พบว่าคนที่ป่วยเป็นโรคจิตหลงผิดเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูในช่วงวัยเด็ก ในลักษณะที่ทำให้ขาดความไว้วางใจต่อโลกภายนอก
ปัจจัยด้านสังคม มักพบโรคนี้ในกลุ่มผู้อพยพ หรือกลุ่มที่ต้องพบกับสภาวะต่าง ๆ ที่มีความเครียดสูง และชนชั้นที่มีเศรษฐฐานะต่ำ
. 3. ปัจจัยด้านชีวภาพ เกิดจากสารสื่อประสาทในสมอง คือสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน ได้ฟัง มีมากเกินไป ทำให้ไม่สมดุล ซึ่งจะเกิดอาการหูแว่า ตีความหมายผิด ๆ คิดว่าจะทำร้ายตนเอง
ชนิดของอาการหลงผิด
อาการหลงผิดว่าคู่ของตนนอกใจ (Jealous type) โดยผู้ป่วยจะมีความเชื่ออย่างรุนแรงว่าคู่ของตนนอกใจหรือมีคนอื่น และเชื่ออย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานสนับสนุน หรือแม้มีหลักฐานแย้งว่าไม่น่าจะเป็นจริง แต่ผู้ป่วยก็เชื่อไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นในผู้ป่วยหลายรายก็มักจับเอาเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ มาเป็นหลักฐานของความเชื่อนั้น เช่น ภรรยาออกไปซื้อของข้างนอกก็บอกว่าแอบไปพบชู้ทั้ง ๆ ที่ไปไม่นาน หรือบุรุษไปรษณีมาส่งของก็บอกว่าเป็นชู้มาหา
อาการหลงผิดว่ามีคนปองร้าย (Persecutory type) ผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองถูกผู้อื่นจ้องทำร้าย คอยติดตาม หรือถูกใส่ร้าย เช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งบอกว่าคนข้างบ้านจ้องจะแกลังตนเอง คอยแอบมองตัวเองอยู่ตลอดเวลา และวางแผนจะทำให้ตนเองถูกขับไส่ออกจากหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
อาการหลงผิดว่ามีคนอื่นหลงรักหรือเป็นคู่รักตนเอง
(Erotoranic type) ผู้ป่วยเชื่อว่าคนอื่นมาหลงรักตัวเอง หรือเชื่อว่าเป็นคู่รักของตัวเอง
อาการหลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือเป็นโรค
(Somatic type) ผู้ป่วยเชื่อว่าร่างกายตนเองผิดปกติหรือโรคบางอย่าง ตัวอย่างที่พบบ่อย เช่น เชื่อว่ามีพยาธิหรือแมลงบางอย่างอยู่ในผิวหนังตนเอง (Delusions of parasitosis)
อาการหลงผิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น (Grandiose type) มีความหยั่งรู้พิเศษ มีอำนาจ มีเงินทองมากมาย หรือหลงผิดว่าตนเองเกี่ยวข้องใกลัชิดกับบุคคลสำคัญ เชื้อพระวงศ์ พระอรหันด์
Mixed type มีอาการหลงผิดมากกว่าหนึ่งอาการข้างต้น และไม่มีอาการใดโดดเด่น
การรักษา
โรคจิตหลงผิดถือว่าเป็นโรคที่รักษาค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้ป่วยเชื่อว่าความเชื่อของตัวเองเป็นสิ่งที่เป็นจริง จึงไม่ไปพบแพทย์
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic) เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษา ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของ
อาการหลงผิดลงได้ โดยพบว่าเมื่อรักษาแล้ว ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งอาการหลงผิดหายไป และร้อยละ 20 อาการดี
ขึ้นแต่หลงเหลืออาการอยู่บ้าง ในผู้ป่วยที่อาการหลงผิดไม่หายไปหรือหายไปไม่หมด การทำจิตบำบัดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นและปรับตัวได้ แม้จะมีความคิดหลงผิดอยู่บ้าง
นางสาวศิรภัทร ตุดเอียด เลขที่81