Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis), นางสาวศศิประภา ช่วยรักษา…
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
หมายถึง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นๆหายๆมีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Atopic dermatitis สำหรับชื่อภาษาไทยมีหลายชื่อ เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบไวเกิน โรคผิวไว เป็นต้น
โรคนี้พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน ผู้ป่วยมักมีประวัติแพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดหรือเยื่อบุตาอักเสบ โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง
นอกจากพันธุกรรมแล้วปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมเช่น อาหาร ไรฝุ่น สารก่อการระคาย หรือสารก่อภูมิแพ้ผิวหนังของผู้ป่วยจะไว (sensitive) ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวทั้งสภาพทางกายภาพ เช่น ภาวะอากาศร้อนเกินไป เย็นเกินไป แห้ง ชื้น สารเคมีที่ระคายผิวหนังและสิ่งมีีชีวิตต่างๆ เช่น แมลง เชื้อโรค เป็นต้น
อาการแสดงของโรค
วัยทารก พบระหว่างอายุ 2 เดือนถึง 2 ปี ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยมักจะเริ่มพบผื่นแดงคัน มีตุ่มแดงและตุ่มน้ำเล็กๆอยู่ในผื่นแดงนั้น ที่แก้มถ้าตุ่มน้ำแตกออกจะมีน้ำเหลืองเยิ่มหรือตกสะเก็ด อาจพบร่องรอยจากการเกาหรือขัดถู โดยเฉพาะบริเวณที่ทารกคืบ ถูไถ สัมผัสกับพื้นหรือที่นอน ผื่นอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณอื่นๆของร่างกาย เช่น ลำตัว ข้อศอก เข่า ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้
วัยเด็ก อายุระหว่าง 2-12 ปี ตำแหน่งรอยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณรอบคอ ข้อพับด้านในของแขนและขา เมื่อโรครุนแรงอาจลุกลามไปยังผิวหนังส่วนอื่นๆได้ ผื่นมักประกอบด้วยตุ่มนูนแดงแห้งๆ มีขุยเล็กน้อย มักไม่พบตุ่มน้ำแตกแฉะเหมือนวัยทารก มีอาการคัน ผู้ป่วยมักเกาจนเกิดรอยถลอกหรืออาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในรอยโรคได้
วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ มักพบผื่นบริเวณรอบคอ ข้อพับแขน ขา คล้ายที่พบในเด็กโต ในรายที่เป็นมากๆผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือได้ง่าย
ปัจจัยที่ทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบกำเริบ
1.สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร แมลง ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น
เชื้อโรคชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรีย เขื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื่อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกำเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
ฤดูกาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้นในฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศที่แห้งและเย็นจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและอักเสบมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เหงื่อออกมากทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันและเกิดผื่นผิว หนังอักเสบมากขึ้นได้เช่นเดียวกับฤดูหนาว
เสื้อผ้า ไม่ควรใช้เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์เพราะจะทำให้เกิดการค้นเพิ่มมากขึ้น
สบู่ ผงซักฟอก ที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะละลายไขมัน ทำให้ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากขึ้นได้
อาหาร ผู้ป่วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 10 พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้
หลักการดูแลและรักษา
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น เช่น
หลีกเลี่ยงการใช้หรือสัมผัสกับสารระคายเคือง
สบู่ควรใช้สบู่อ่อนๆ ไม่ควรใช้สบู่บ่อยเกินไป
ผงซักฟอกเลือกชนิดที่ระคายเคืองน้อยควรซักล้างออกให้หมด
เสื้อผ้าเลือกใช้เสื้อผ้านุ่มโปร่งสบาย เช่น ผ้าแพร ผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงผ้าขนสัตว์
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมากๆ
ลดความเครียด ความวิตกกังวล
แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยเกา เนื่องจากการเกาจะทำให้ผื่นผิวหนังที่อักเสบกำเริบเห่อมากขึ้น อาจรับประทานยาต้านฮีสตามีนเพื่อช่วยลดอาการคัน
ป้องกันและรักษาผิวแห้งโดยการทามอยซ์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่น ควรทาหลังอาบน้ำทันที ถ้าผิวหนังยังแห้งมากควรทาเพิ่ม สามารถทาได้วันละหลายครั้ง
ยาทากลุ่มสเตียรอยด์มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง ควรใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะโรคกลุ่มนี้ต้องใช้ยาเป็นเวลานาน อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง ปัจจุบันมียาทากลุ่มใหม่ ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ซึ่งควบคุมอาการของโรคได้ดีพอควรแต่มีราคาแพง การใช้ยากลุ่มนี้ควรปรึกษาแพทย์
กรณีที่มีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์เพราะผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย
การรักษาอื่นๆเช่น การฉายแสงอาทิตย์เทียม การรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ใช้ในรายที่เป็นรุนแรงมากและเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถรักษาได้ผลด้วยวิธีต่างๆข้างต้นได้แล้ว ควรปรึกษาแพทย์
นางสาวศศิประภา ช่วยรักษา UDA6380055