Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งท่อน้ำดี - Coggle Diagram
มะเร็งท่อน้ำดี
ถ้ามะเร็งเกิดในท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินน้ำดี จากตับไปลำไส้เล็ก ส่งผลให้น้ำดีย้อนกลับเข้ากระแสเลือดและเนื้อเยื่อ ก่อให้เกิดอาการ
-
-
-
-
-
-
-
ระยะของมะเร็ง
-
ขั้น 1 บี (Stage 1B) มะเร็งลุกลามออกจากท่อน้ำดี แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะใกล้เคียง
ขั้น 2 เอ (Stage 2A) มะเร็งลุกลามไปที่ตับ ตับอ่อน หรือถุงน้ำดี หรือหลอดเลือดใกล้เคียง แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
-
ขั้น 3 (Stage 3) มะเร็งลุกลามไปที่หลอดเลือดหลักที่นำเลือดเข้าและออกจากตับหรือลุกลามไปที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร หรือผนังช่องท้อง และแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
-
การรักษา
การผ่าตัด
การผ่าตัดมักใช้ในกรณีที่มะเร็งไม่ลุกลามไปนอกท่อน้ำดี ซึ่งอาจทำได้ยาก ระหว่างการผ่าตัดท่อน้ำดีในส่วนที่เป็นมะเร็งจะถูกตัดออกและเชื่อมต่อส่วนที่เหลือระหว่างตับและลำไส้เล็กเพื่อให้น้ำดีกลับมาไหลอีกครั้ง
ถ้ามะเร็งลุกลามไปเนื้อเยื่อรอบ ๆ อาจจำเป็นต้องตัดบางส่วนของตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อน และเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก
การผ่าตัดเพื่อสร้างทางเดินน้ำดีใหม่ใช้ในกรณีถ้าก้อนมะเร็งอุดกั้นท่อน้ำดีและเกิดภาวะตัวตาเหลือง แต่ไม่สามารถตัดก้อนออกได้ การผ่าตัดใช้ถุงน้ำดี เรียกว่า Cholecysto – Jejunostomy หรือ Cholecystoduodenostomy ถ้าใช้ท่อน้ำดี เรียกว่า Hepatico – Jejunostomy
การผ่าตัดที่เรียกว่า Gastrojejunostomy ถ้ามีการอุดกั้นของลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการผ่าตัดเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กส่วนกลาง ซึ่งช่วยลดอาการอาเจียน ซึ่งเกิดจากมะเร็งอุดกั้นลำไส้เล็กส่วนต้น
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
ERCP เป็นวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารแล้วใส่ขดลวดที่ยาวประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร หรือ 2 – 4 นิ้ว เข้าไปในท่อน้ำดีที่อุดตัน
PTBD เป็นการรักษาผ่านผิวหนัง โดยใส่ท่อระบายเล็ก ๆ ผ่านเข้าไปในตับ และทำการระบายน้ำดีออกเป็นการชั่วคราว บางครั้งอาจมีการใส่ขดลวด (Stent) เพื่อแก้ไขภาวะอุดตัน
พยาธิสภาพที่พบทั้งชนิดที่เกิดในท่อทางเดินน้ำดีภายในตับและภายนอกตับนั้นอาจจะพบหลายๆที่(multifocal)ในมะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับอาจจะพบว่าเป็นอยู่หลายระดับ (skip lesions) พบร้อยละ 10 นอกจากนี้ยังพบว่ามีตับข้างใดข้างหนึ่งมีขนาดเล็กลงกว่าปกติ หรือมีการฝ่อของตับข้างที่มีพยาธิสภาพ ทั้งนี้อาจจะเกิดจากการอุดตันท่อทางเดินน้ำดีเป็นเวลานานหรือมีการลุกลามของมะเร็งเข้าไปในเส้นเลือดที่มาเลี้ยงตับส่วนนั้นแล้วทำให้เส้นเลือดอุดตันและทำให้ตับข้างนั้นฝ่อ
การกระจายแตกต่างกันคือ papillary และ nodular type กระจายไปตาม mucosa ส่วน nodular-infiltrating และ diffusely infiltrating type จะกระจายไปตาม submucosa ซึ่งทำให้สามารถกระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียงและไปต่อมน้ำเหลืองได้รวดเร็วกว่าสองแบบแรก การพยากรณ์โรคจึงไม่ดีนัก เนื้องอกที่มีการพยากรณ์โรคที่ดีที่สุดในที่นี้คือ papillary type
เนื่องจากโรคนี้ไม่ค่อยมีอาการและอาการแสดงให้เห็นมากนักจนกว่าโรคจะลุกลามเป็นระยะท้ายๆแล้ว ไม่เหมือนมะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ ECC ที่มีดีซ่านหรือไข้นำมาก่อน ผู้ป่วยอึดอัด แน่นท้องและเบื่ออาหารร่วมกับน้ำหนักลด อาจต้องพิจารณาตรวจอัลตร้าซาวด์ตับและช่องท้องส่วนบน
ภาวะภูมิคู้มกันบกพร่อง
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องทุติยภูมิ Secondary immunodeficiency) คิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลงอาทิเช่นอาคารเรียน
- เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือผู้สูงอายุ-มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกส่งผลให้มีการสูญเสียการทำงานของ skin barrier
- การติดเชื้อเอดส์หรือวัณโรคซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวทำให้การทำงานในการกำจัดเชื้อของเม็ดเลือดขาวลดลง
- ได้รับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกัน
- มีภาวะขาดสารอาหารส่งผลให้การพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
กลไกการเกิดโรคมะเร็งอันเนื่องจากภาวะติดเชื้อหรือภาวะอักเสบเรื้อรังว่าสาร nitric oxide (NO) และ อนุมูลอิสระของธาตุออกซิเจน (reactive oxygen species, ROS) ที่ถูกสร้างขึ้นเนื่องจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดพึ่งเซลล์นั้นสามารถไปทำลาย DNA ได้ (โปรดดูบท กลไกการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีที่สัมพันธ์กับการติดพยาธิใบไม้ตับโดยผ่านทางอนุมูลอิสระ) นอกจากนี้เมแทบอไลท์อันเกิดจากสาร NO ตัวสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากปฏิกิริยา nitrosation ในเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการอักเสบหรือติดเชื้อในเวลาต่อมาคือสาร N-nitrosodimethylamine (NDMA) ก็จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งตัวสำคัญที่มีบทบาทเป็นอย่างสูงในการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี ทั้งนี้มีหลักฐานที่ชัดเจนแสดงไว้ในสัตว์ทดลอง