Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรวยไตอักเสบ, นายอรรคเดช เพชรมีศรี UDA6380002 - Coggle Diagram
กรวยไตอักเสบ
การรักษา
3.แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับเชื้ออกทางปัสสาวะ บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารพวกโปรตีน พักผ่อนให้เพียงพอ
4.หลังจากอาการทุเลาจนหายเป็นปกติแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจปัสสาวะเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อหลงเหลืออยู่หรือกลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
2.ในรายที่มีการรุนแรง หรืออาเจียน กินอะไรไม่ได้ แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล จะให้น้ำเกลือ และฉีดยาปฏิชีวนะ
5.ภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายร้ายแรง ได้แก่ ภาวะไตวาย ทำให้ร่างกายขับน้ำและของเสียออกจาร่างกายไม่ได้ และภาวะโลหิตเป็นพิษ เชื้อแพร่เข้ากระแสโลหิต กระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
1.นอกจากให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ (กรณีที่ผู้ป่วยกินไม่ได้หรืออาเจียน) แล้ว แพทย์จะให้ยาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคนี้
6.ผู้ป่วยอาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ หลังจากหายจากาอาการกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะรู้สึกแข็งแรงเป็นปกติทุกอย่าง แต่ความจริงอาจมีการติดเชื้ออักเสบของไตอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง
โรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
-
4.การวินิจฉัยโรคที่สำคัญ อาศัยอาการดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันเลือดสูง หรือมีอาการแสดงโปรตีนในปัสสาวะโดยที่ไม่มีอาการ ควรคำนึงถึงโรคนี้และพยายามสืบค้นหาสาเหตุดังกล่าวเสมอ
2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะกรวยไตและไตอักเสบเรื้อรังอาจไปพบแพทย์ในหลายลักษณะด้วยกัน คืออาจจะไปพบแพทย์ด้วยโคความดันเลือดสูง และอาการแสดงถึงการมีโปรตีนในปัสสาวะ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่นใด การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะในปัสสาวะแต่เพียงอย่างเดียว
5.การรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาสาเหตุโดยการให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อเป็นเวลานานพอสมควรการรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง เช่น การรักษาภาวะไตวายเรื้อรัง
1.โรคกรวยไตและไตอักเสบเรื้อรัง เป็นโรคซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของภาวะไตวายเรื้อรัง และเป็นโรคซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการ
2.ผู้ป่วยมีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่นอย่างมาก ต้องห่มผ้าหนาๆ คล้ายอาการของไข้มาลาเรีย แต่จะจับไข้ไม่เป็นเวลาแน่นอน และมีอาการหนาวสั่นได้วันละหลายครั้ง
3.มักมีอาการปวดบริเวณบั้นเอวหรือสีข้างเพียงข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบริเวณที่ปวดจะมีความรู้สึกเจ็บจนสะดุ้งโหยง
1.ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย มักมีอาการปวดท้อง และปัสสาวะขุ่นบางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะแสบขัด และออกกะปริดกะปรอยร่วมด้วย
-
-
การป้องกัน
-
2.ไม่อั้นปัสสาวะ การอั้นปัสสาวะจะทำให้เชื้อที่แปดเปื้อนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะมีการบ่งตัวเพิ่มจำนวนและย้อนขึ้นไปถึงกรวยไตจนเกิดโรคได้
3.หลังถ่ายอุจจาระ ควรทำความสะอาดโดยการใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อลดโอกาสที่จะแปดเปื้อนเข้าท่อปัสสาวะ
4.เมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลามขึ้นไปที่กรวยไต
การดำเนินโรค
2.หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการไข้จะค่อยๆ ทุเลาภายใน 2-3 วัน แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะต่อจนครบ 14 วันเป็นอย่างน้อย จึงจะกำจัดเชื้อให้หมดไป
-
-
การวินิจฉัย
เบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากการตรวจพบอาการเคาะเจ็บตรงบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง โดยการใช้กำปั้นทุบเบาๆ ตรงบั้นเอว 2 ข้าง จะพบว่าบั้นเอวข้างที่ตรงกับไตปกติทุบไม่เจ็บ แต่ข้างที่มีกรวยไตอักเสบจะทุบเจ็บจนผู้ป่วยรู้สึกเสียวสะดุ้ง
-
สาเหตุ
กิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยได้แก่เชื้ออีโคไล ซึ่งเป็นเชื้อที่พบในอุจจาระของคนทั่วไปคำว่าไตอักเสบหมายถึง มีการอักเสบของเนื้อเยื่อของไต อาจเกิดจากการมีเชื้อโรคเข้าไปก่อเหตุหรือเกิดเนื่องมาจากปฏิกิรียาของร่างกายที่สร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อไตไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบโดยไม่มีเชื้อโรคเข้าไปเกี่ยวข้องก็ได้
-
-
-