Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กาพย์เห่เรือ, คุณค่าด้านเนื้อหา, คุณค่าด้านวรรณศิลป์, คุณค่าด้านสังคมและวั…
กาพย์เห่เรือ
ข้อคิดนำชีวิต
ควรเข้าใจชีวิต ว่ามีทั้งทุกข์และสุข และการพลัดพรากจากที่รักเป็นทุกข์ แต่ธรรมชาติ เช่น ปลา นก ดอกไม้ ช่วยให้คลายทุกข์ได้
-
ควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลา นก ดอกไม้ โดยเฉพาะสัตว์ที่หายาก เพื่อจะได้ไม่สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย
-
-
-
-
คุณค่าด้านเนื้อหา
เนื้อหาในบทเห่ครวญถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของกวีได้อย่างลึกซึ้ง
ทั้งความรัก ความทุกข์ การรอคอย เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป
เนื้อหาในบทชมปลามีชื่อปลาแปลก ๆ เช่น ปลาหางไก่ ปลาหวีเกศ ปลาแมลงภู่ เนื้อหานอกจากรู้จักลักษณะของปลาต่าง ๆ แล้วยังกล่าวถึงการพลัดพรากจากนาง ความทุกข์เพราะรักนาง ความเศร้าเพราะไม่ได้เห็นนาง
เนื้อหาในบทชมนก ซึ่งให้อารมณ์สะเทือนใจในการรอคอยนางอันเป็นที่รัก กล่าวถึงนกสวยงามต่าง ๆ เช่น นกโนรี นกสัตวา เปรียบเทียบกับเสียงดุเหว่ากับเสียงไพเราะของนาง นกนางนวลเปรียบเหมือนกับหน้านวลของนาง แต่ผู้แต่งก็ยังอดคิดถึงนางไม่ได้ว่า "เรียมคะนึงถึงเอวบาง"
เนื้อหาในบทชมกระบวนเรือกล่าวถึง เรือพระที่นั่งและเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ที่มีอำนาจตามความเชื่อ เช่น เรือสิงห์ เรือครุฑ เรือคชสีห์ แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมไทยในการตกแต่งโขนเรือ เช่น เรือครุทยุดนาค เรือสุวรรณหงส์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการใช้ไม้เส้าสำหรับกระทุ้งให้จังหวะในการพายด้วย
เนื้อหาในบทชมไม้ ดอกไม้มีหลายชนิด เช่น ดอกจำปา สีเหลืองเหมือนผิวเหลืองของนาง ดอกเต็ง แต้ว แก้ว หอมเหมือนกลิ่นผ้าของนาง และบุหงารำไป ซึ่งเป็นดอกไม้อบแห้งปรุงด้วยเครื่องหอมห่อด้วยผ้าโปร่ง
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
-
สัมผัสพยัญชนะ
"เรือชายชมมิ่งไม้ มีพรรณ
ริมท่าสาครคันธ์ กลิ่นเกลี้ยง
เพล็ดดอกออกแกมกัน ชูช่อ
หอมที่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนาง”
-
-
มีการเล่นคำและช้ำคำเพื่อเน้นความหมายให้ผู้อ่านรู้สึกสะเทือนอารมณ์
"แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
ปลาทุกทุกข์อกกรม เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง"
-
-
-
ลักษณะการประพันธ์ คือ มีโคลงสี่สุภาพ 3 บท เป็นบทนำกระบวนความแต่ละตอนตามด้วย
กาพย์ยานี ๑ พรรณนาเนื้อหาในเนื้อเรื่อง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็นกวีที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างยิ่ง ทรงคิดประดิษฐ์กาพย์และโคลงคู่กันเรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยทรงเริ่มโคลง ๑ บท จากนั้นตามด้วยกาพย์ ทั้งนี้เนื้อหาในโคลงและกาพย์นั้นมีความเหมือนกัน
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็นต้นแบบของกาพย์เห่เรือในสมัยต่อมา
-
-
-
เป็นรูปแบบของกาพย์เห่ คือ โคลงสี่สุภาพ ที่แต่งให้มีเนื้อความนำ ตามด้วยกาพย์ยานี 11 ที่แต่งให้มีเนื้อความตามโคลงสี่สุภาพ และอาจขยายความออกไปตามความต้องการของกวี และไม่จำกัดจำนวนบท
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือที่รู้จักกันว่า
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง
ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๘ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรมนั้น ทรงพระนิพนธ์วรรณกรรมพุทธศาสนาไว้หลายเรื่อง เช่น กาพย์เห่เรือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง ส่วนวรรณคดีทางโลก เช่น กาพย์เห่เรือ บทเห่เรื่องกากี
กาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง
เนื้อเรื่องของกาพย์เห่เรือนี้ ผูกเรื่องให้สัมพันธ์กันภายในเวลา ๑ วัน คือ ตอนเช้าชมเรือ ตอนสายชมปลา ตอนบ่ายชมไม้
ตอนเย็นชมนก และตอนค่ำเห่ครวญถึงนางอันเป็นที่รัก เนื้อเรื่องทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ ตอนแรกเป็นบทเห่ชมกระบวนเรือต่าง ๆ เช่น เรือสุวรรณหงส์ เรือครุฑยุดนาค เรือสมรรถชัย และเรือที่เปนรูปหัวสัตว์ตาง ๆ เชน เรือสิงห์ เรือม้า
-
ชมไม้ ชมนก และเห่ครวญถึงนางทำนองนิราศที่ให้อารมณ์สะเทือนใจ ตอนที่ ๒ เป็นบทเห่เรื่องกากี กล่าวถึงพญาครุฑที่ลักพานางกากีไปจากวิมานฉิมพลี
ต่อจากนั้นเป็นบทเห่สังวาส และเป็นบทเห่ครวญ อาลัยอาวรณถึงนางอันเป็นที่รัก
และแสดงความรักที่มีต่อนาง
การเลือกสรรถ้อยคำมาใช้ในกระบวนการชมเรือ พรรณนารูปลักษณ์สวยงามของเรือและลักษณะพิเศษของเรือแต่ละลำ
ทำให้เห็นภาพโดยรวมของกระบวนเรือและความสวยงามโดดเด่นของเรือทุก ๆ ลำ ทำให้เกิดสุนทรียภาพในการใช้ถ้อยคำทั้งทางด้าน แสง สี เสียง งดงามบริบูรณ์
เช่น แสง "สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน"
อุปมา การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง
"เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม"
อุปลักษณ์ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
"น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสำอาง
ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี”
"เรียมทนทุกข์แต่เช้า ถึงเย็น
มาสู่สุขคืนเข็ญ หม่นไหม้
ชายใดจากสมรเป็น ทุกข์เท่า เรียมเลย
จากคู่วันเดียวได้ ทุกข์ปิ้มปานปี"