Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะซีดจากการเสียเลือด - Coggle Diagram
ภาวะซีดจากการเสียเลือด
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.ชนิดเฉียบพลัน เช่น อุบัติเหตุที่มีผลกับหลอดเลือดอย่างรุนแรง หลอดเลือดโป่งพองแตกโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการฉีกขาดของหลอดเลือดจากมะเร็งหรือบาดแผล การบาดเจ็บที่รุนแรงของหลอดเลือดหรืออวัยวะของร่างกาย ไอเป็นเลือด เสียเลือดจากการคลอด แผลลำไส้ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
- ชนิดเรื้อรัง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคริดสีดวงทวาร เป็นต้น ทำให้มีเลือดออกจากทางเดินอาหารซึ่งผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระมีเลือดปนหรือถ่ายดำ (Melena)
พยาธิสภาพ
การเสียเลือดออกนอกหลอดเลือดหรือภายนอกร่างกาย จะทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง ทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายพร่อง (Hypovolemia) ซึ่งชดเชยสำหรับปริมาณเลือดที่ลดลงจากการเสียเลือดโดยน้ำจะเคลื่อนที่จาก ช่องว่างระหว่างเซลล์ไปยังหลอดเลือดและปริมาณพลาสมาจะเพิ่มมากขึ้นความหนืดของเลือดจะลดลงเนื่อง
จากปริมาณของเม็ดเลือดแดงต่ำร่วมกับการเพิ่มขึ้นของน้ำในหลอดเลือด ทำให้มีไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือดเร็วขึ้น เกิดการไหลวน (turbulent) เนื่องจากการไหลเวียนที่ผิดปกตินี้ทำให้เพิ่มแรงดันในหัวใจห้องล่างเพิ่ม workload ของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ทำให้หัวใจห้องล่างขยายใหญ่ขึ้น (heart dilatation) ทำงานไม่เป็นปกติ (valve dysfunction) เกิดภาวะพร่องออกชิเจน จะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการทำงานของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนในภาวะซีด โดยทำให้หลอดเลือดขยาย หัวใจบีบตัวแรงขึ้นเพิ่มความต้องการใช้ออกซิเจน เพิ่มอัตราการลึกของการหายใจเพื่อเพิ่มออกซีฮีโมโกลบิน ที่จะปล่อยออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อมากขึ้น
ร่างกายจะปรับตัวโดยยังส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองเท่าเดิม แต่จะส่งเลือดไปที่ไตลดลง ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของ Renin-angiotensin ทำให้มีการคั่งของโซเดียมและน้ำมากขึ้น กระบวนการเพิ่มปริมาตรของเลือดเป็นการปรับตัวของร่างกายเพื่อเพิ่มการทำหน้าที่ของไตให้ดีขึ้น โดยที่ไม่ทำให้เกิดการพร่องออกซิเจนในเนื้อเยื่อของอวัยวะอื่นๆการลดลงของฮีโมโกลบินในช่วงที่ปริมาณพลาสม่าต่ำลง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ผิวหนัง เยื่อบุริมฝีปาก โคนเล็บ และตาขาวซีด ซึ่งในช่วงนี้การตรวจดูความเข้มข้นของเลือดจะได้ค่าที่ไม่แน่นอน เช่น ผลการตรวจจะพบ ค่าฮีมาโตคริตสูง ซึ่งแท้จริงเป็นค่าสูงเทียม เกิดขึ้นจากปริมาณของพลาสม่าในร่างกายต่ำ
อาการและอาการแสดง
- มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด กระหายน้ำ ชีพจรเร็ว ซีด ความดันโลหิตลดลง ออกซิเจนเลี้ยงสมองน้อยลง
- มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด เช่น กระหายน้ำ ชีพจรเร็ว ซีด ความดันโลหิตลดลง ตะคริว สับสนจากออกซิเจนเลี้ยงสมองน้อยลง
- อ่อนเพลีย ซึม ผิวหนังจะเย็นชื้น
- ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
- เวลาเปลี่ยนท่าจะพบอาการเป็นลม มึนงง
การพยาบาล
- รักษาภาวะช็อก ให้สารน้ำทดแทนเพื่อเพิ่มอิเล็กโทรไลต์
- ให้พลาสมา Packed red cell ให้ออกซิเจนทางจมูกหรือหน้ากาก (Oxygen cannula หรือ Mask)
- ควรอยู่ในท่านอนราบและให้ความอบอุ่น ให้พักผ่อน
- ควบคุมภาวะเลือดออกในกรณีเลือดออกมากๆ
-
- หากภาวะสับสนให้ยานอนหลับเพื่อป้องกันอันตรายให้อาหารและน้ำให้เพียงพอ
- ให้ยาเพิ่มธาตุเหล็กโดยการรับประทานหรือฉีดทางกล้ามเนื้อจนกระทั่งค่าฮีโมโกลบินเข้าสู่ปกติ
- ติดตามการตรวจทางปฏิบัติการ และการถ่ายภาพรังสี เพื่อดูระดับของภาวะซีด บางรายอาจต้องผ่าตัดเพื่อควบคุมบริเวณที่เป็นสาเหตุของการเสียเลือด