Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคคปลายประสาทอักเสบ :warning: :<3: :
(Peripheral Neuropathy)
…
โรคคปลายประสาทอักเสบ :warning: :<3: :
(Peripheral Neuropathy)
ภูมิคุ้มกันตํ่า
Link Title
ในร่างกายของคนเรา ระบบประสาทส่วนปลายจะทำหน้าที่รับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลาง แล้วส่งต่อคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและรับความรู้สึกได้ ระบบประสาทส่วนปลายจะมีเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นสายไฟฟ้าในการนำคำสั่งไปตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งเส้นประสาทส่วนปลายที่ออกจากสมองมี 12 คู่ซ้ายและขวา แต่ละคู่ควบคุมการทำงานในแต่ละส่วนของร่างกายที่เฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไป :pencil2:
โรคปลายประสาทอักเสบ พบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ได้แก่
-
-
-
-
-
-
-
-
-
หากพบอาการผิดปกติ :warning: แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาให้ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการอักเสบของเส้นประสาทบางตำแหน่งมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบางชนิด เมื่อได้รับการแก้ไข ได้รับวิตามินเสริมให้เพียงพอ ก็ทำให้หายจากอาการได้ บางกรณีต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซึ่งการรักษาที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้หายจากอาการที่สร้างความเจ็บปวดและรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นไปอย่างปกติขึ้น
-
-
-
ผู้ป่วยที่เป็นโรคปลายประสาทอักเสบ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ! :<3:
กลุ่มแรก :star: มีการอักเสบจริงๆ ที่ระบบประสาทส่วนปลาย อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
เช่น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรืออาจพบในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรง ชา แต่ยังสามารถไปไหนมาไหนได้ ทำงานได้ หรือในผู้ป่วยที่เป็นรุนแรงไปจนถึงกล้ามเนื้อสำคัญๆ เช่น กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจใช้ท่อช่วยหายใจ หรือเป็นการอักเสบที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ตัวเองของร่างกายต้องใช้ระยะเวลาจึงจะสามารถฟื้นตัวได้ โดยการให้ยาบางชนิด เป็นยากลุ่มเซรั่มแก้อาการแพ้เข้าไปช่วย ซึ่งค่อนข้างมีราคาแพงหรือหากติดเชื้อรุนแรงบริเวณกล้ามเนื้อสำคัญที่แขน ขา อาจมีอาการอ่อนแรง บางรายจะต้องทำกายภาพบำบัด
กลุ่มที่สอง :star: เป็นกลุ่มที่ขาดวิตามิน หรือสารบางชนิด เช่น วิตามินบี ซึ่งพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย เนื่องจากปัจจุบันมีการบริโภคอาหารที่ดีขึ้น
กลุ่มที่สาม :star: เป็นผลมาจากสารพิษต่างๆ เช่น พิษจากตะกั่ว โลหะหนัก พิษเหล่านี้จะทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเสียไป มักจะเป็นที่ปลายมือ ปลายเท้า เพราะมีเส้นประสาทจำนวนมาก ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผลที่ปลายมีปลายเท้า หากพบว่ามีบาดแผล หรือฟกช้ำที่ปลายมือปลายเท้า ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้แผลอาจลุกลามและรักษายาก
นอกจากนี้ :!: ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งคล้ายจะเป็นที่ระบบประสาทส่วนปลาย แต่เป็นความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับไขสันหลัง เช่น มีเนื้องอก หรือมีอะไรไปกดทับที่เส้นประสาท อย่างหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทบริเวณบั้นเอวซึ่งพบได้บ่อย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการชา อ่อนแรง ร่วมกับมีอาการปวด และเสียการทรงตัวเนื่องจากขาอ่อนแรง ผู้ป่วยที่มีปัญหาหมอนรองกระดูก จะมีท่าเดินลักษณะเฉพาะ หรืออ่อนแรงบางครั้ง รวมทั้งในกรณีผู้เป็นเบาหวาน สามารถทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบได้เช่นกัน
การตรวจเส้นประสาท
ตรวจการทำงานของเส้นประสาท (Nerve Conduction Test: NCS) ตรวจโดยการกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า นำขั้วไฟฟ้า (Electrode) ติดไว้ที่ผิวหนัง ซึ่งจะทำให้วัดค่าสัญญาณความเร็วและความแข็งแรงของเส้นประสาทได้
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) เป็นการตรวจกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้าโดยการสอดเข็มเข้าไปทางผิวหนังและวัดค่าคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ซึ่งโดยปกติจะทำควบคู่ไปกับการตรวจการทำงานของเส้นประสาท (Nerve Conduction Test: NCS)
การตรวจอย่างละเอียด เช่น เอกซ์เรย์ (X-Ray) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (Computerized Tomography: CT-Scan) และเอกซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเอ็มอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI) จะช่วยให้ทราบสาเหตุได้ง่ายขึ้น
-
การรักษาปลายประสาทอักเสบ
ยาบรรเทาอาการปวด ยาที่ซื้อใช้เอง เช่น ยาลดการอักเสบ (NSAIDs) ใช้บรรเทาอาการที่ไม่รุนแรง แต่หากมีอาการรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวด นอกจากนั้น ยารักษาโรคที่มีส่วนประกอบของโอปิออยด์ (Opioid) เช่น ยาทรามาดอล (Tramadol) ยาออกซิโคโดน (Oxycodone) อาจทำให้ผู้ป่วยติดใช้ยาได้ โดยยาประเภทนี้จะสั่งโดยแพทย์เท่านั้นและจะใช้เมื่อการรักษาชนิดอื่นไม่ได้ผล
ยาต้านชัก เช่น ยากาบาเพนติน (Gabapentin) และยาพรีกาบาลิน (Pregabalin) ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการรักษาโรคลมชักหรือโรคลมบ้าหมู โดยอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม เป็นต้น
ยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาครีมแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งจะช่วยลดอาการที่เกิดจากประสาทส่วนปลายอักเสบ ซึ่งการใช้ยาครีมอาจทำให้ผิวหนังแสบและเกิดการระคายเคือง แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หรือยาลิโดเคน (Lidocaine) แบบแผ่นแปะ เป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่ช่วยลดอาการปวดโดยแปะแผ่นแปะลงบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการ แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม เวียนศีรษะ ชา เป็นต้น
ยาแก้ซึมเศร้า ยากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic) เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ยาด็อกเซปิน (Doxepin) ยานอร์ทริปไทลีน (Nortriptyline) นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของสารเคมีในสมองและไขสันหลังที่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด นอกจากนั้น ยังมียาที่นำมาใช้รักษาอาการเจ็บปวดของปลายประสาทอักเสบที่มีสาเหตุมากจากโรคเบาหวาน เช่น ยาเอสเอ็นอาร์ไอ (Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitor: SNRI) และยาเวนลาฟาซีน (Venlafaxine) แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คลื่นไส้ ง่วงซึม เวียนศีรษะ เบื่ออาหารและท้องผูก
การบำบัด
การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาทผ่านทางผิวหนังเพื่อลดความเจ็บปวด (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation: TENS) นำขั้วไฟฟ้าติดไว้บนผิวหนัง และส่งกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ความถี่หลายรูปแบบ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้วิธีนี้เป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน
การเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง (Plasma Exchange) และการบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous Immune Globulin) เป็นขั้นตอนที่จะช่วยยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะมีประโยชน์กับผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะการอักเสบบางชนิด การเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง จะเป็นการนำเลือดออก นำแอนติบอดี้และโปรตีนออกจากเลือด และนำเลือดที่ถูกกรองแล้วกลับเข้าไปในร่างกาย ส่วนการบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน ผู้ป่วยจะได้รับโปรตีนในระดับสูงที่ทำหน้าที่เหมือนกับแอนติบอดี้
กายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ การกายภาพบำบัดจะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ นอกจากนั้น ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยพยุง ไม้เท้า นั่งรถเข็นคนพิการ หรือเครื่องช่วยเดิน
การผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการกดทับที่เส้นประสาท เช่น การกดทับจากเนื้องอก อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดทับ
-
-
ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) :star:
หมายถึง เป็นภาวะหนึ่งของเส้นประสาทซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหายหรือเกิดโรคบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนแรง ปวดและชาตามมือและเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยอาการปวดและชาที่เกิดขึ้นจากโรคบางชนิดบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยา
-