Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia; IDA) - Coggle Diagram
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia; IDA)
สาเหตุ
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ได้แก่ เสียเลือดจากอุบัติเหตุ การเสียเลือดในทางเดินอาหาร (เนื่องจากยา เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แอสไพริน สเตียรอยด์ ยาต้านอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น แผลในกระเพาะอาหาร เนื้องอกในลำไส้ตรง มะเร็งในช่องท้องหรือลำไส้ใหญ่ เส้นเลือดขอดแตก พยาธิปากขอ ริดสีดวงทวาร) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การเสียเลือดเพียง 2-4 มิลลิลิตร/วัน ทำให้เกิดภาวะซีดชนิดนี้ได้
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ กลุ่มที่ได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ ได้แก่
รับประทานอาหารที่มีธาตุเหลกไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย พบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรือในผู้ป่วยที่ต้องการมากขึ้นเช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด วัยรุ่นหญิงเมื่อเริ่มมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์
ได้รับสารที่มีคุณสมบัติต่อต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น Carbonate, Phytate Tannte เป็นต้น
มีพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กลดลง
ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้ส่วนต้นอักเสบ และหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
อาการและอาการแสดง
ภาวะ ซีด เช่น มีอาการซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด หากรุนแรงจะมีอาการมึนงง สับสน หัวใจ ล้มเหลว
ลิ้นเลี่ยนแดงหรืออักเสบ (Glossitis)
เล็บเปราะแบนคล้ายช้อนหรือเว้าลงเป็นรูปช้อน (Koilonychia)
มุมปากอักเสบ (Angular stomatitis) อาจมีการอักเสบของหลอดคอและหลอดอาหารทำให้กลืนอาหาร ลำบาก ติดเชื้อง่าย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
มีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดง เช่น ขนาดเล็กลง ระดับฮีโมโกลบินลดลง เม็ดเลือดแดงติดสีจางลง ตรวจพบ Mean corpuscular volume (MCV), Mean corpuscular hemoglobin (MCH) และ Mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) ลดลง สเมียร์เลือดจะพบเม็ดเลือดแดงมีลักษณะเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กและติดสีจาง (Hypochromic-microcytic)
ผลของการขาดธาตุเหล็กต่อการทำงานของร่างกาย
ระบบโลหิตวิทยา
เมื่อผู้ป่วยซีดมากขึ้นจะเริ่มเกิดอาการซึ่งเป็นผลจากภาวะซีด เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นต้น หากซีดมาก ๆ อาจมีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย ผู้ป่วยที่ซีดมากอาจมีอาการมึนงง สับสน
ผลต่อเซลล์ผิวภายนอกและภายในร่างกาย (Epithelial cells)
เช่น เล็กอ่อนแบนหรือเป็นรูปซ้อน (Koilonychia) มุมปากอักเสบ (Angular stomatitis) ลิ้นเลี่ยน (Glossitis) อาจมีอาการกลืนลำบาก หากมีอาการซีดรุนแรงมากอาจพบการอักเสบของกระเพาะอาหารเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง
ผลต่อภูมิต้านทานของร่างกาย
จากการศึกษาพบว่าการขาดธาตุเหล็กทำให้จำนวน T-lymphocyte ลดลง Lymphocyte transformation ถูกกด Myeloperoxidase ในเม็ดเลือดขาว และ Lactoferrin ลดลง ทำให้ความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียลดลง
ผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ร่างกายจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้เมื่ออยู่ในภาวะที่มีอุณหภูมิต่ำ ๆ เนื่องจากความผิดปกติของเมตาบอลิสมของไทรอยด์ฮอร์โมนที่ต้องอาศัยเอนไซม์ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาย การดูอาจเห็นว่าลิ้นแดง บวม เรียบ และเจ็บ (Glossitis) มุมปากอาจจะบวมแดง และเจ็บ (Angular stomatitis) จากการดูอาจพบเล็บเป็นรูปช้อนและเปราะ หากขาดธาตุเหล็กมาก ๆ อาจตรวจพบหัวใจเต้นเร็วเพราะมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนต่ำเนื่องจากหัวใจจะชดเชยด้วยการเพิ่มเลือดที่ออกจากหัวใจ
ระดับฮีโมโกลบินต่ำ ฮีมาโตคริตต่ำ ระดับธาตุเหล็กให้ซีรั่ม (Serum iron) ต่ำ ระดับเฟอริตินในซีรั่ม (Serum ferriti) ต่ำ (หาก Serum ferritin <30 ไมโครกรัม/ลิตร) จำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำและเป็นเซลล์ชนิด Microcytic และ Hypochromic (ในระยะแรกจำนวนเม็ดเลือดแดงอาจปกติ) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะซีดอย่างรุนแรง จะมี Mean corpuscular hemoglobin ต่ำ
การตรวจไขกระดูก โดยการย้อมธาตุเหล็กจากไขกระดูก (Gold standard) จะไม่พบธาตุเหล็ก
การตรวจระบบทางเดินอาหาร เช่น Guaiac stool tests, Barium swallow, Barium enema, Endoscopy และ Sigmoidoscopy เป็นต้น เพื่อดูสาเหตุการเสียเลือดในทางเดินอาหาร
การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Occult blood)
การรักษา/การพยาบาล
กำจัดและรักษาสาเหตุร่วมกับการใช้ธาตุเหล็กทดแทน ในกรณีซีดมากจนเกิดภาวะหัวใจวาย พิจารณาให้เลือดในรูปของ Packed red cell (PRC) ด้วยความระมัดระวังร่วมกับให้ยาขับปัสสาวะ
หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด
ให้เหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น เช่น Ferrous sulfate, Ferrous gluconate, Ferrous fumarate < 30 ไมโครกรัม/ลิตร
ยืนยันการขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น โดยการฉีด Iron dextran ให้ติดต่อเป็นเวลาหลายเดือน
3.ระมัดระวังผลข้างเคียงของยา เช่น สีอุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือดำ ท้องผูก ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น
4.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพิ่มเหล็กพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที จะช่วยลดการรบกวนกระเพาะอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานพร้อมยา Tetracyclines, Methyldopa, Guinolone, Levodopa
แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ ชา กาแฟ ยาลดกรดในกระเพาะ นม แคลเซียมเสริมในปริมาณที่มากเกินไป
ให้รับประทานร่วมกับวิตามินซีสูงในมื้อเดียวกันเพราะวิตามินซีจะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้นโดยรับประทานผักและผลไม้ให้มาก ๆ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง ลูกเกด เป็นต้น