Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) - Coggle Diagram
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
แบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย คือ
1.1 Acute Myeloid Leukemia (AML)
1.2 Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL)
1.3 Chronic Myeloid Leukemia (CML)
1.4 Chronic Lymphoblastic Leukemia (CLL)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยง
ได้สัมผัสสารเคมี เช่น เบนซีน (benzene) การได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด
(Chlorambucil, Cyclophosphamid, Melphalan)
การได้รับรังสี การสูบบุหรี่
โรคทางพันธุกรรมบางชนิด (Down's syndrome) รวมถึงการมีความผิดปกติ
ของไขกระดูกในอดีตมาก่อน (myelodysplastic syndrome) เป็นต้น
พยาธิสรีรภาพ
AML เป็นการกลายพันธุ์ของยีน ในระดับเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด โดยพบว่ามีเชลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว ในสาย Myeloid เพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย
ประเภท
Acute Lymphoblastic Leukemia (ALL)
Acute Myeloid Leukemia (AML)
อาการของเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
กลุ่มอาการของไขกระดูกล้มเหลว
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากในไขกระดูก ทำให้พื้นที่ในการสร้างเม็ดเลือดต่างๆ ลดลง จึงไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทั้งสามชนิดได้อย่างเต็มที่เหมือนภาวะปกติ ทำให้มีอาการเนื่องจากเม็ดเลือดเหล่านี้ลดลง
โลหิตจาง
เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง
ทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
เม็ดเลือดขาวปกติต่ำลง
เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อ
เมื่อมีปริมาณลดลงมาก จะทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่าย และมักเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงและมีไข้สูง
เกล็ดเลือดต่ำ
เนื่องจากเกล็ดเลือดทำหน้าที่ในการป้องกันเลือดออก เมื่อมีปริมาณลดลงทำให้เลือดออกง่าย
มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เช่น เลือดออกตามไรฟันหรือเลือดกำเดาไหล
กลุ่มอาการจากการแทรกซึมของมะเร็งเม็ดเลือดขาวไปที่อวัยวะอื่น
เช่น ตรวจพบตุ่มตามผิวหนัง เหงือกบวม ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองโตได้เล็กน้อย
กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารเพื่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง
ได้แก่ มีน้ำหนักลดลง มีเหงื่อออกตอนกลางคืน หรือมีไข้ต่ำๆ ได้
อาการ
อาการหอบเหนื่อยจากการที่เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติจนไปอุดตันเส้นเลือดในปอด (Hyperleukocytosis)
การวินิจฉัย
ตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ตรวจย้อมการติดสีจำเพาะเพื่อจำแนกชนิดของมะเร็ง ตรวจโครโมโซมเพื่อประเมินระยะความเสี่ยงของโรค
ตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด รวมไปถึงค่าทางชีวเคมีเพื่อประเมินการทำงานของตับ ไต เกลือแร่ และกรดยูริก
ตรวจค่าการแข็งตัวของเลือดในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันบางชนิดที่มักมีความเสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย เช่น AML-M3
ตรวจน้ำไขสันหลังในกรณีที่สงสัยภาวะลุกลามเข้าระบบประสาท
การรักษา
ยาเคมีบำบัด ซึ่งอาจให้ในรูปยาฉีดหรือยากิน หรือทั้งสองแบบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องได้รับเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดระหว่างรักษา รวมไปถึงยาปฏิชีวนะหากมีอาการติดเชื้อ
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์ผู้อื่น (Allogeneic Stem Cell Transplantation) เป็นการรักษาที่สามารถทำให้โรคหายขาดได้ การรักษาแบบนี้ต้องทำในระยะที่โรคสงบหลังได้รับยาเคมีบำบัดแล้ว
การเปลี่ยนถ่ายพลาสมาเพื่อลดจำนวนเม็ดเลือดขาวอย่างรวดเร็ว (Leukapheresis) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงมาก หรือมีอาการของเม็ดเลือดขาวอุดตันตามหลอดเลือด (Hyperleukocytosis) เช่น หอบเหนื่อย ซึม สับสน
การให้ยาเคมีบำบัดทางน้ำไขสันหลัง (Intrathecal Chemotherapy) เฉพาะในรายที่มีภาวะการลุกลามเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลัง
การฉายแสง (Radiation) จะพิจารณาให้ในผู้ป่วยบางรายที่มีมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันที่มีความเสี่ยงในการลุกลามเข้าสมอง เช่น ALL
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
อาการและอาการแสดง
อาการเนื่องจากการแทรกซึมของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ม้าม ทำให้ม้ามโต โดยสามารถมีขนาดใหญ่มาก จนคลำได้ก้อนบริเวณท้องด้านซ้ายบน ผู้ป่วยมักมีอาการอิ่มเร็ว อืดแน่นท้อง บางรายคลำพบก้อน
กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง ทำให้อ่อนเพลีย น้ำหนักลดได้
กลุ่มอาการเนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือด เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดขาวที่สูงขึ้นในกระแสเลือด อาการขึ้นกับตำแหน่งหลอดเลือดที่อุดตัน ได้แก่ตามัว จากหลอดเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน หรือปวดมึนศีรษะจากหลอดเลือดไหลเวียนไปสมองผิดปกติ
ระยะของCML
แบ่งเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
chronic phase
ไม่พบการแทรกซึมของเซลล์นอกไขกระดกู ยกเว้นตับและม้าม
จำนวนเกล็ดเลือดเท่ากับ หรือมากกว่า 100x109 /L ยกเว้นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่ เกิดจากการรักษา
มี blast และpromyelocyte ในเลือดและไขกระดูกน้อยกว่าร้อยละ 30
มี basophil ในเลือดน้อยกว่าร้อยละ20
blast ในเลือดและไขกระดกู น้อยกว่าร้อยละ15
อาการ
อาการไข้ เหงื่ออกตอนกลางคืน อ่อนเพลีย มีจุดจ้ำเลือด ปวดท้องแน่นท้อง ม้ามโต น้ำหนักลด ผู้ป่วยจะอยู่ได้ 3-5 ปี
เซลล์เม็ดเลือดขาวมีลักษณะเซลล์ใกล้เคียงกับปกติ
accelerated phase
blast ในเลือดและไขกระดกู มากกว่าร้อยละ15 แต่ไม่เกินร้อยละ 30
มี basophil ในเลือด มากกว่าร้อยละ20
มี blast และpromyelocyte ในเลือดและไขกระดูก มากกว่าร้อยละ 30
4.จำนวนเกล็ดเลือดเท่ากับหรือมากกว่า 100x109 /L ยกเว้นภาวะเกล็ดเลือดต่ำที่ เกิดจากการรักษา
. มี clonal evolution
อาการ
มีไข้ เหงื่ออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด ติดเชื้อได้ง่าย เลือดออกง่าย
เม็ดเลือดขาวจะแบ่งเป็นเซลล์ตัวอ่อนและเกิดภาวะเม็ดเลือดทั้งหมด ปกติ
เสียชีวิตภายใน 1-1.5 ปี
blastic phase
Blast (myeloid หรือ lymphoid) ในเลือดหรือไขกระดูก เท่ากับ หรือมากกว่า ร้อยละ 30
มีการแทรกซึมของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวนอกไขกระดูก (นอกเหนือจาก ตับและม้าม) ที่มีรูปร่างและลักษณะของ blast ในกระแสเลือด
อาการ
ซีด มีเลือดออก คัน มีผื่นขึ้น
พบเม็ดเลือดขาวชนิดตัวอ่อนจำนวนมากในเลือดและไขกระดูก
หากเม็ดเลือดขาวมากกว่า 100,000 จะทำให้เกิดการอุดกั้นในหลอดเลือด
ในเนื้อเยื่อทำให้สูญเสียการทำงานในสมอง ไต
เสียชีวิตภายใน 3-6 เดือน
การวินิจฉัย
Myeloblast ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปในกระแสเลือดหรือในไขกระดูก
ตรวจพบ myeloid sarcoma
ตรวจพบ chromosome ที่มีความจำเพาะต่อ AML โดยจะอาจพบ
myeloblast ในกระแสเลือดหรือในไขกระดูกตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป
การรักษา
ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงจากตัวโรคและตัวยาเคมีบำบัดคือ เม็ดเลือดแดงต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ และเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า ภาวะ Pancytopenia หลังได้รับยาเคมีบำบัด 7 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เรียกภาวะนี้ว่า Neutropenia ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะไข้เนื่องจากเม็ดเลือดขาวต่ำ (Febrile Neutropenia)
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Hematopoietic stem cell transplantation)
Febrile Neutropenia (การเกิดไข้ร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำ)