Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลิวคีเมีย (leukemia), นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47…
มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลิวคีเมีย (leukemia)
เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกําเนิดเม็ดเลือด
(hematopoietic stem cell) ในไขกระดูก ทําให้มีการเพิ่มจํานวนของเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกอย่างผิดปกติเป็นจํานวนมากและควบคุมไม่ได้ ทําให้เกิดการสะสมของเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนซึ่งทําหน้าที่ไม่ได้ (“blast” cell) จนเต็มไขกระดูกแล้ว
ปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ทําให้มีปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงขึ้นผิดปกติการแบ่งชนิดของ leukemia อาจแบ่งได้ตามชนิดของเซลล์เช่น โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามการดําเนินโรค
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน (acute leukemia)
เป็นโรคที่มีการเพิ่มจํานวนของเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนที่ไม่
สามารถเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ปกติได้ ทําให้มีการเพิ่มจํานวนเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนอย่างรวดเร็วในไขกระดูกส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลง ผู้ป่วยจึงมีอาการผิดปกติในระยะเวลาอันสั้น
อาการและอาการแสดงของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
กลุ่มอาการของไขกระดูกล้มเหลว เมื่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพิ่มจํานวนเป็นอย่างมากในไขกระดูก ทําให้พื้นที่ในการสร้างเม็ดเลือดต่างๆ ลดลง จึงไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดทั้งสามชนิดได้ทําให้มีอาการเนื่องจากเม็ดเลือดแดงลดลง ทําให้มีอาการซีด อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย เม็ดเลือดเมื่อมีปริมาณลดลงมาก จะทําให้ผู้ป่วยติดเชื้อง่าย
กลุ่มอาการจากการแทรกซึมของมะเร็งเม็ดเลือดขาวไปที่อวัยวะอื่น เช่น ตุ่มตามผิวหนัง เหงือกบวม ตับ ม้าม ต่อมน้ําเหลืองโต
ได้เล็กน้อย ปวดข้อ ข้อบวม
กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารเพื่อการเพิ่มจํานวนของ
เซลล์มะเร็งได้แก่ น้ำหนักลด มีเหงื่อออกตอนกลางคืน หรือมีไข้ต่ำๆ ได้
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง
เป็นโรคที่มีการเพิ่มจํานวนของเม็ดเลือดขาวอย่างผิดปกติ แต่ยังสามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ได้ ทําให้อาการของโรคค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงขึ้นมาก จนทําให้อ่อนเพลียหรือโลหิตจาง หรือไปสะสมในม้ามทําให้ม้ามโตจําแนกตามชนิดของเซลล์ที่ผิดปกติได้ เช่น chronic myelogenous leukemia (CML)
หรือ chronic lymphocytic leukemia (CLL)
อาการและอาการแสดงของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง จะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เช่นอาการเนื่องจากการแทรกซึมของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ม้าม ทําให้ม้ามโต จนคลําได้ก้อนบริเวณท้องด้านซ้ายบน ผู้ป่วยมักมีอาการอิ่มเร็ว อืดแน่นท้อง บางรายคลําพบก้อนได้เองจึงมาพบแพทย์
กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารเพื่อใช้ในการเพิ่มจํานวนของเซลล์มะเร็งทําให้อ่อนเพลีย น้ําหนักลด
กลุ่มอาการที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดขาวที่สูงขึ้นในกระแสเลือด อาการขึ้นกับตําแหน่งหลอดเลือดที่อุดตัน ได้แก่ตามัว จากหลอดเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน หรือปวดมึนศีรษะจากหลอดเลือดไหลเวียนไปสมองผิดปกติ
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ยังไม่แน่ชัดแต่จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ามีปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อว่ามี
บทบาทสําคัญต่อการเกิดโรคนี้ได้แก่ พันธุกรรม สารรังสี สารเคมี การได้รับสารเคมีบางอย่างเป็นเวลานาน
การวินิจฉัย
มักพบปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นในกระแสเลือด ร่วมกับการตรวจไขกระดูก หากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันจะพบปริมาณเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมากกว่าร้อยละ 20ของเซลล์ในไขกระดูกทั้งหมดหากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังจะพบปริมาณเม็ดเลือดขาวทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ปริมาณสูงขึ้นในไขกระดูก
การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การตรวจความผิดปกติของหน่วยพันธุกรรม
การตรวจลักษณะการแสดงออกบนผิวเซลล์
ของมะเร็งเม็ดเลือดขาว เช่น T11 protein, terminal deoxynucleotidyl transferase (TDT), หรือ CD33
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
การรักษา acute leukemia จะแบ่งเป็น 3ระยะ
1) การรักษาเพื่อชักนําให้โรคสงบ (induction phase)
2) การรักษาเพื่อให้ยาอย่างเต็มที่ (consolidation phase)
3) การรักษาต่อเนื่อง
หลังโรคสงบ (maintenance phase)
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก (hematopoietic stem cell transplantation) ได้ผลดีในผู้ป่วย CLL
การรักษา chronic myelocytic lymphoma
การรักษา chronic lymphocytic lymphoma เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาดแต่โรคไม่รุนแรง และมักไม่ทําให้
ผู้ป่วยเสียชีวิต หากไม่มีอาการไม่จําเป็นต้องให้การรักษา
นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47 รหัส62129301540